EF สำคัญกว่า IQ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาวิชาการ และเป็นผู้นำในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก สตรี ครอบครัว ผู้สูงวัย ชุมชนและสังคม ได้ประยุกต์องค์รู้เรื่อง “Executive Functions(EF)- “ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ” ซึ่งผู้เชียวชาญด้านพัฒนาการเด็กในต่างประเทศกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ในประเทศไทย รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและคณะจากศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ศึกษาวิจัยและรวบรวมงานวิจัยจากต่างประเทศ และสถาบันอาร์แอลจีได้จัดการความรู้และพัฒนาให้ทักษะ EFเป็นเรื่องที่เข้าใจง่าย โดยมุ่งหวังให้พ่อแม่และบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะปฐมวัยศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยหวังว่า ทักษะ EF จะเป็นองค์ความรู้ที่จะส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาของไทย
          นางสุภาวดี หาญเมธี ประธานสถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) เปิดเผยว่า EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่า IQ และ EQ มีงานวิจัยชี้ชัดว่าช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาสำคัญในการพัฒนาทักษะ EFให้กับเด็ก
          Executive Functions (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย1.Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน 2.Inhibitory Control การยั้งคิด 3.Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด 4.Focus /Attention การใส่ใจจดจ่อ 5.Emotional Control การควบคุม 6.Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ 7.Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง 8.Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิด 9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย
          การนำ EF ไปใช้ ไม่ได้เนื้อหาในบาท และไม่ได้เพิ่มภาระใหม่ให้กับพ่อแม่หรือครู ไม่ต้องมีอุปกรณ์แพงๆ แต่ต้องทำความเข้าใจหลักการพัฒนาทักษะEF ให้ชัดเจน แล้วสังเกตว่าลูกของเรามีจุดแข็ง EF ในด้านใด มีจุดอ่อนด้านใด แล้วฝึกฝนเสริมสร้างในด้านนั้น โดยพัฒนาผ่านประสบการณ์ในชีวิตจริง ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
          โลกในศตวรรษที่ 21 เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และซับซ้อนมาก เด็ก เยาวชน หรือผู้ใหญ่ หากทักษะ EF บกพร่อง ชีวิตอาจล้มเหลว ตกเป็นทาสของสิ่งเร้าทั้งหลาย อาทิ ยาเสพติด การพนัน แอลกอฮอล์ ฯลฯ แต่หากได้รับการฝึกฝนทักษะ EF มาดี บุคคลจะคิดวิเคราะห์ มีหลักการ มีการไตร่ตรอง ตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม ว่าสิ่งไหนถูกสิ่งไหนควร รู้จักวางแผนก่อนลงมือทำ หากทำไปแล้วเกิดอุปสรรค สามารถลุกขึ้นสู้ รู้จักแก้ไข คิดค้นหาทางออกใหม่ๆ ไม่ยึดติดอยู่กับกรอบความคิดเดิมๆ และรู้จักควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมตนเอง จนเป็นที่ยอมรับของสังคม เพื่อน คนในครอบครัว ดังนั้น EF จึงเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญของชีวิต
 

ข่าวสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล+นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุลวันนี้

งานสัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All "Solar Cell"

ศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (MICC) โดยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ม.มหิดล ขอเชิญชวนผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ เข้าร่วมงานสัมมนา Mahidol Sustainable and Modern Energy for All "Solar Cell" วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม 2566 (เวลา 09.00-12.00 น.)ณ MaSHARES Co-Working Space สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุลหรือทาง FB LIVE ของสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม Highlight Topic - นโยบายภาครัฐกับโซลาเซลล์- การพัฒนาเรือพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการท่องเที่ยวตามแนวปะการัง- นวัตกรรม 'เพอรอฟสไกต์'

สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพ... ม.มหิดลร่วมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีไทย-จีน เพื่อควบคุมป้องกันโรคธาลัสซีเมีย — สมรภูมิแห่งการควบคุมโรคธาลัสซีเมีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย ไม่เคยห่างหาย...

โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศ... ม.มหิดลเสริมทักษะคิดเชิงวิเคราะห์ขั้นสูงให้นศ.ทดลองออกแบบและผลิตวัคซีน — โปรตีนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเซลล์ การศึกษาเกี่ยวกับโปรตีน (Proteomics) มีความส...

เมื่อโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท... ม.มหิดล เร่งสร้างขุมพลังยุทธศาสตร์ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ — เมื่อโรคอุบัติใหม่ที่เกิดขึ้นถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยและงา...

คณะ ICT ม. มหิดลขอเชิญผู้สนใจ เข้าร่วมเสว... คณะ ICT ม. มหิดลขอเชิญคณาจารย์ นักวิจัย บุคลากร นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล และผู้สนใจ เข้าร่วมเสวนาเชิงวิชาการ Mahidol AI Talk#2 — คณะ ICT ม. มหิดลขอเชิญ...

กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้อ... ม.มหิดล ย่อโลกการแพทย์แม่นยำสร้างสรรค์ AI ช่วยออกแบบยา "MANORAA" — กว่าจะคิดค้นและผลิตยารักษาโรคแต่ละชนิดต้องใช้เวลากว่าหนึ่งทศวรรษ และต้องอาศัยการลงทุนด้...

ปัจจุบันอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้พบมากขึ้น... ม.มหิดล พัฒนานวัตกรรม "น้ำยาทำละลายโปรตีนโปรลามีนส์" ใช้ทดสอบเพื่อหาข้อบ่งชี้โรคภูมิแพ้กลูเตนในแป้งข้าวสาลี — ปัจจุบันอุบัติการณ์ของโรคภูมิแพ้พบมากขึ้นทั่...

ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์ม... ม.มหิดล - ไบโอเทค ค้นพบ "โพรไบโอติกส์ต้านโรคสัตว์น้ำ" จากการวิจัยในระดับ "ยีน" ครั้งแรก — ความหายนะทางเศรษฐกิจจากการที่เกษตรกรฟาร์มกุ้งไทยส่วนใหญ่ต้องประส...

ปัญหาการกลายพันธุ์ของเชื้อโรคต่าง ๆ ที่นำ... ม.มหิดล เผยกลยุทธ์เร่งสปีดวิจัยวัคซีนและชีวภัณฑ์แบบ "วิ่งนำเชื้อโรค" ผุดห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3 (BSL3) ติดสปริงบอร์ดพัฒนาวัคซีนและชีวภัณฑ์ขั้นสูงเพื่อมวลมนุษยชาติ — ปัญหาการกลา...