"องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชนเสนอรัฐบาลยุติกฎหมายดิจิทัล 10 ฉบับ"พร้อมทำใหม่แบบเพิ่มสิทธิผู้บริโภคและมีส่วนร่วมทุกฝ่าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          คณะกรรมการองค์การอิสระฯ ซึ่ง เป็นคณะกรรมการ ฯ นำร่อง ให้มีองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ทำหน้าที่สำคัญ เช่น การให้ความเห็น เสนอแนะต่อนโยบาย มาตรการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค รวมทั้งตรวจสอบการกระทำและละเลยการกระทำอันเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคของ หน่วยงาน มีความห่วงใย ต่อ ร่างกฎหมายดิจิทัล 10 ฉบับ ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎหมายใหม่ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไอทีและอิน เทอร์เน็ต ภายใต้แนวคิดการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทย ได้แก่ 
          1) ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ 
          2) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 
          3) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ 
          4) ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 
          5) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 
          6) ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
          7) ร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
          8) ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
          9) ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ 
          10) ร่าง พ.ร.บ.ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม เพื่อกำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 
          โดยขณะนี้ ร่างกฎหมายทั้งสิบฉบับดังกล่าวอยู่ระหว่งการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกานั้น คณะองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ภาคประชาชน เห็นว่ากฎหมายดิ จิทัลทั้งสิบฉบับ ละเมิดสิทธิผู้บริโภค ไม่แก้ปัญหาผู้บริโภคที่เป็นปัญหาสำคัญในปัจจุบัน ขาดมิติการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค ซึ่งเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว จึงมีข้อเสนอ ต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. ในฐานะผู้ทำหน้าที่พิจารณากฎหมายทั้งสิบฉบับ ดังนี้
          1. เนื่อง จากกฎหมายดิจิทัลดังกล่าวมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์จากข้อมูล ของผู้บริโภคทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ซึ่งการนำข้อมูลของผู้บริโภคไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต เป็นการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ดังนั้น ในกระบวนการออกกฎหมายดังกล่าว ขอให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชน เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภค
          2. คณะกรรมการองค์การอิสระฯเห็นว่า การพัฒนา และส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศไทยให้เข้มแข็ง ต้องให้ความสำคัญกับผู้บริโภคในฐานะผู้ที่ใช้บริการดิจิทัลต่างๆ ไม่ให้ถูกเอาเปรียบจากผู้ให้บริการดิจิทัลด้วย ซึ่งในกฎหมายหลายฉบับไม่มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของผู้ บริโภค
          3. ร่าง กฎหมายทั้งหมดขาดกลไกคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคที่ชัดเจน อีกทั้งสัดส่วนของคณะกรรมการชุดต่างๆ ก็ไม่มีการรับประกันสัดส่วนจากผู้แทนด้านที่เกี่ยวข้อง คือคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีการตัดกรรมการด้านสิทธิและผู้บริโภคออกไป 3ตำแหน่ง และเพิ่มกรรมการด้านความมั่นคงเข้ามา 2ตำแหน่ง ดังนั้น เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม จากภาคประชาชนและคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค จึงขอเสนอให้มีการเพิ่มตัวแทนของผู้บริโภคเป็นคณะกรรมการในร่างกฎหมายทุกฉบับด้วย
          4. ในกฎหมายหลายฉบับมีการให้อำนาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่รัฐมากเกินไป เช่น ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ใน มาตรา 35 ที่ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสาร โดยไม่มีการตรวจสอบ ซึ่งอาจทำให้ผู้บริโภคในฐานะผู้เป็นเจ้าของข้อมูลอาจถูกละเมิดสิทธิความเป็น ส่วนตัว ถูกดังฟัง ถูกดึงข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ โดยไม่มีการคุ้มครองหลักประกันความปลอดภัยใดๆ สุ่มเสี่ยงต่อการถูกนำข้อมูลไปใช้ในทางมิชอบ ดังนั้น คณะกรรมการจึง ขอเสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 35 ในกฎหมายดังกล่าวด้วย และให้มีตัวแทนของผู้บริโภคเป็นคณะกรรมการตรวจสอบ
          5. ในร่าง พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล มีเพียงการกำกับดูแล “ผู้ควบคุมข้อมูล” มิ ให้เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล (อาทิ ประวัติการศึกษา สถานะทางการเงิน ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ) หรือนำข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวไปใช้หรือเปิดเผย โดยมิได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล และยังมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวให้ปลอดภัย ซึ่งเป็นการช่วยคุ้มครองผู้บริโภคส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่ครอบคลุมถึงบรรดา ผู้ที่ส่งข้อความโฆษณารบกวน หรือ “SPAM” มาทาง SMS อีเมล์ หรือแม้กระทั่งสื่อสังคมออนไลน์อย่าง Facebook ซึ่งสร้างความรำคาญและเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค ดังนั้น คณะกรรมการจึงเสนอว่าควรมีการเพิ่มเติมเนื้อหาสาระของกฎหมายให้ครอบคลุม คุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคในเรื่องดังกล่าว ดังนี้
          5.1 ​การส่งข้อความโฆษณา ประชาสัมพันธ์ผ่านช่องทางสื่อสารใด ๆ ที่ผู้บริโภคมิได้ร้องขอ ไม่ว่าจะเป็นการส่ง โทรสาร, e-mail, SMS , MMS ระบบโทรศัพท์อัตโนมัติ หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่าง ๆ จะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากผู้บริโภคอย่างชัดแจ้ง
          5.2 ​กำหนดให้ผู้ส่งข้อความโฆษณา ประชาสัมพันธ์จะต้องแจ้งชื่อ ที่อยู่ ที่ติดต่อ ให้ชัดเจน และการแจ้งชื่อหรือที่อยู่ปลอมถือเป็นความผิด
          5.3 ​กำหนดให้ผู้ส่งข้อความต้องแจ้งให้ผู้รับทราบอย่างชัดเจนว่า ข้อความที่ได้รับนั้นเป็น การโฆษณาประชาสัมพันธ์
          5.4 ​กำหนด ให้ผู้ส่งข้อความต้องระบุวิธีการยกเลิก การบอกรับข้อความ ข้อมูล ข่าวสารเมื่อไม่ต้องการ ซึ่งต้องเป็นวิธีการที่ผู้บริโภคสามารถดำเนินการได้โดยสะดวก รวดเร็วและไม่เสียค่าใช้จ่าย 
          5.5 ​จำกัดจำนวนสูงสุดในการส่งข้อความ เช่น ไม่เกิน 2,500 ฉบับภายใน 24 ชั่วโมง
          5.6​ กำหนดโทษทางอาญาที่รุนแรง เช่น หากมีการกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ( เช่นเดียวกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ฝ่าฝืนมาตรา 26 ต้องรับโทษตามมาตรา 44 วรรคสอง )
​           6. ในส่วนของร่าง พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ที่มีการแก้ไขเรื่องอำนาจหน้าที่ของ กสทช. เห็นว่ากสทช.ซึ่ง มีบทบาทหน้าที่ในการกำกับกิจการควรคงความเป็นอิสระ การแก้ไขปัญหาต่างๆ ของกสทช.ไม่ควรเป็นการเอากลับเข้ามาอยู่ในกำกับของรัฐ แต่ควรแก้ไขด้วยการเพิ่มกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค กลไกการตรวจสอบ การประเมินประสิทธิภาพการทำงานของคณะกรรมการ กสทช.ทุกชุด รวมไปทั้งการแก้ไขการถอดถอนให้ทำได้ง่ายมากขึ้นหากพบว่าการทำงานไม่มี ประสิทธิภาพและมีปัญหาเรื่องความโปร่งใส

ข่าวองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้+ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลวันนี้

จับตาอธิบดีกรมวิชาการเกษตรปล่อยผี ขึ้นทะเบียนสารพิษร้ายแรงคาร์โบฟูรานและเมโทมิล

นางสาวปรกชล อู๋ทรัพย์ ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช (Thai-PAN) ได้เปิดเผยจากแหล่งข่าวในกระทรวงเกษตรและวงการสารเคมีการเกษตรว่า ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรกำลังดำเนินการอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่มีอันตรายร้ายแรง 2 ชนิด คือ “คาร์โบฟูราน” และ “เมโทมิล” ซึ่งเป็นสารพิษที่หลายประเทศทั่วโลกห้ามใช้และหลายหน่วยงาน เช่น สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งเครือข่ายองค์กรภาคประชาชน เช่น องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน

องค์กรผู้บริโภคขอให้ กสท. ตรวจสอบการถือหุ้น SLC หวั่น ประชาชนถูก ปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร

คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ได้แก่ นางสาวชลดา บุญเกษม นางมณี จิรโชติมงคลกุล พร้อมด้วยตัวแทนผู้บริโภค เข้ายื่นหนังสือต่อกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการ...

องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน ค้าน ชุด กม.เศรษฐกิจดิจิทัล เสนอ ครม.ทบทวน ชี้ขาดการคุ้มครองผู้บริโภค ปชช.ควรมีส่วนร่วมในการออกกฎหมาย

(มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค) /27 ม.ค.58) จากกรณีที่ครม.ได้เห็นชอบหลักการร่างกฎหมายเกี่ยวกับเศรษฐกิจดิจิทัล 10 ฉบับโดยมี...

ผู้บริโภค และชมรมผู้ผลิตและจำหน่ายกล่องดิ... ผู้ผลิตกล่องดิจิตอล และผู้บริโภค เสนอแนะแนวทางโครงการคูปอง กสทช. — ผู้บริโภค และชมรมผู้ผลิตและจำหน่ายกล่องดิจิตอลทีวี ยื่นข้อเสนอโครงการคูปอง รายละเอียด ด...

ปฏิทินข่าวกิจกรรมประจำวันนี้(28 เมษายน 2556)

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2556 13.30 น. สสส. จัดชมหนังสั้นเล่าเรื่องผู้บริโภค ๖+๑ พร้อมฟัง เสวนาเรื่อง“ สิทธิผู้บริโภคไทย เกี่ยวข้องอย่างไร กับ มาตรา ๖๑ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้ บริโภค” ณ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ 16.00 น. ...

ปฏิทินข่าวกิจกรรมประจำวันพรุ่งนี้(28 เมษายน 2556)

วันอาทิตย์ที่ 28 เมษายน 2556 13.30 น. สสส. จัดชมหนังสั้นเล่าเรื่องผู้บริโภค ๖+๑ พร้อมฟัง เสวนาเรื่อง“ สิทธิผู้บริโภคไทย เกี่ยวข้องอย่างไร กับ มาตรา ๖๑ องค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้ บริโภค” ณ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้า เซ็นทรัลเวิลด์ 16.00 น....

ปฏิทินข่าวกิจกรรมประจำวันนี้(27 เมษายน 2556)

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2556 11.00 น. 16.00 น. ธนาคารคารสงเคราะห์ จัดกิจกรรม “การประมูลขาย ทรัพย์สินธนาคาร ครั้งที่ 1/2556” ณ ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ 13.00 น. มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าว Mahidol Channel ณ สยามเซ็นเตอร์ 13.30 น. สสส....

ปฏิทินข่าวกิจกรรมประจำวันพรุ่งนี้(27 เมษายน 2556)

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน 2556 11.00 น. 16.00 น. ธนาคารคารสงเคราะห์ จัดกิจกรรม “การประมูลขาย ทรัพย์สินธนาคาร ครั้งที่ 1/2556” ณ ธนาคารอาคาร สงเคราะห์ สำนักงานใหญ่ 13.00 น. มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานแถลงข่าว Mahidol Channel ณ สยามเซ็นเตอร์ 13.30 น. สสส....

คปก.ยื่นนายกฯร่างพ.ร.บ.องค์การอิสระเพื่อผู้บริโภค ตั้งข้อสังเกตจัดสรรงบ - บทกำหนดโทษยังคลุมเครือ

นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ลงนามในบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ คปก. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ....เสนอต่อนายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร...