บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล มอง QE เปลี่ยนขั้ว ท้าทายการลงทุน ตลาดเงิน-ตลาดหุ้นผันผวนสูง ดอกเบี้ย-เงินเฟ้อต่ำ แนะนักลงทุนปรับพอร์ตการลงทุน กระจายลงทุนในสินทรัพย์เหมาะสม

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ส่องกล้องมองเกมการลงทุนปีแพะ แนะนักลงทุนปรับพอร์ตการลงทุนพร้อมรับมือมาตรการ QE เปลี่ยนขั้วจากสหรัฐฯ มาภูมิภาคยุโรปและญี่ปุ่น ชี้จับตากลางปีนี้ตลาดเงินและตลาดหุ้นทั่วโลกมีความผันผวนสูง พร้อมคาดการณ์ตลาดหุ้นไทยปีนี้ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 10-15% ชูหุ้นกลุ่มเกี่ยวข้องกับการลงทุนภาครัฐ การท่องเที่ยว และกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศมาแรง
          นายเจษฎา สุขทิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล จำกัด กล่าวว่า ภาพรวมการลงทุนในปี 2015 ถือเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างค่อนข้างมาก โดยจะมีการเปลี่ยนขั้วการอัดฉีดกระตุ้นเม็ดเงินทางเศรษฐกิจจากฝั่งสหรัฐฯ มาเป็นภูมิภาคยุโรปและญี่ปุ่นที่จะเป็นผู้ใช้มาตรการ QE เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่มีผลต่อตลาดทุนอย่างมีนัยสำคัญ หลังเศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องส่งผลต่อนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่คาดว่าจะทยอยปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยในช่วงกลางปีนี้จากปัจจุบัน 0.125% ต่อปี เพิ่มเป็น 1.125% ต่อปีในสิ้นปี 2015 
          ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าในปี 2015 ญี่ปุ่นจะอัดฉีดเงินเพิ่มปีละประมาณ 80 ล้านล้านเยน ส่วนยุโรปจะอัดฉีดเงินประมาณ 1 ล้านล้านยูโรหรือมากกว่าในระหว่างปี 2015-2016 มีผลให้ค่าเงินเยนและค่าเงินยูโรอ่อนตัวลงสวนทางกับค่าเงินดอลลาร์ที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น ดังนั้นเม็ดเงินการลงทุนมีโอกาสที่จะไหลกลับไปยังสหรัฐฯ อย่างต่อเนื่อง ขณะที่สภาพคล่องในตลาดการลงทุนโลกจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปจากการกระตุ้นของยุโรป และญี่ปุ่น
          “ยิ่งเข้าใกล้ช่วงกลางปี 2015 ความผันผวนในตลาดการลงทุนทั้งค่าเงินและตลาดหุ้นจะมีมากขึ้น เนื่องจากเข้าใกล้ช่วงเวลาที่นักลงทุนคาดการณ์ว่า FED จะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย หากตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาดีกว่าที่คาดการณ์หรือเงินเฟ้อมีการปรับเพิ่มสูงกว่าที่คาด ซึ่งจะยิ่งส่งผลให้ตลาดมีความผันผวนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2015 จึงเหมาะกับการจัดพอร์ตแบบสมดุลใน Balanced Fund หรือ Multi-Asset Strategy ที่ไม่ควรเน้นลงทุนที่เสี่ยงมากจนเกินไปจนกว่าจะเห็นความชัดเจนในประเด็นการขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐฯ ว่าจะช้าหรือเร็วเพียงใด” นายเจษฎา กล่าว 
          ขณะที่เศรษฐกิจในแถบเอเชีย ถือเป็นปีแห่งการปฏิรูป เนื่องจากทั้งจีน อินเดีย อินโดนีเซีย รวมถึงประเทศไทยมีการปฏิรูปเศรษฐกิจและโครงสร้างของประเทศ โดยประเทศจีนมีแนวทางหันมาพึ่งพากำลังซื้อของคนในประเทศแทนการพึ่งพาการลงทุนภาครัฐ รวมถึงการเปิดเสรีเงินหยวนเพื่อผลักดันให้เงินหยวนเป็นสกุลเงินหลักของโลก ส่วนประเทศอินเดีย และอินโดนีเซีย การที่รัฐบาลมีเสถียรภาพอย่างมาก พร้อมผลักดันมาตรการต่างๆ ที่เอื้อต่อการลงทุน รวมถึงการปฏิรูปพลังงาน ที่ดิน แรงงาน เพื่อดึงเม็ดเงินลงทุนการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น หรือประเทศเกาหลีใต้ที่มีความพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลดภาษีนิติบุคคล การปรับปรุงเรื่องธรรมาภิบาลของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่โดยให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้น ด้วยการเพิ่มเงินปันผล หรือปรับโครงสร้างผู้ถือหุ้น ซึ่งความคืบหน้าการปฏิรูปในเอเชียครั้งนี้เป็นอีกประเด็นที่นักลงทุนต้องจับตามองเพราะส่งผลต่อผลตอบแทนการลงทุนในหุ้นอย่างนัยสำคัญเช่นกัน
          ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล กล่าวต่อว่า มุมมองการลงทุนในปี 2015 เป็นปีที่สินทรัพย์เสี่ยงอย่างหุ้น โดยเฉพาะหุ้นสหรัฐฯและหุ้นเอเชีย จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีพอสมควร เนื่องจากเศรษฐกิจโลกในปีนี้มีการคาดการณ์การขยายตัวที่ระดับ 3.8% สูงกว่าปีก่อนที่ระดับ 3.3% ซึ่งการเติบโตของเศรษฐกิจโลกมากจากประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย อย่างจีน อินเดียและอาเซียนที่คาดว่าเศรษฐกิจจะเติบโตสูงถึง 6.6% (ที่มา: IMF)
          ทั้งนี้ มองว่าการลงทุนในครึ่งปีแรก การลงทุนประเภท Yield Play เช่น หุ้นที่ปันผลสูง กองทุน REITs และตราสารหนี้ High Yield จะกลับมาได้รับความสนใจจากนักลงทุนอีกครั้ง ขณะที่กลุ่มสินทรัพย์ที่ควรลดการลงทุนจะเป็นพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ที่มีผลตอบแทนในระดับต่ำและอาจได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
          ส่วนการลงทุนในประเทศไทยในปีนี้เรามองว่า ยังคงถือเป็นปีที่ดี เนื่องจากการเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น ประกอบกับนโยบายภาครัฐที่เดินหน้าลงทุนใช้จ่ายเม็ดเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น และมีผลเชิงบวกต่อตลาดเงินตลาดทุนไทยในปีนี้ โดยคาดว่าการลงทุนในหุ้นไทยจะให้ผลตอบแทนที่ดีประมาณ 10-15% ต่อปีซึ่งกลุ่มที่ได้รับประโยชน์คือกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนภาครัฐ กลุ่มท่องเที่ยว รวมถึงกลุ่มเทคโนโลยีสารสนเทศที่ได้รับประโยชน์จากนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล และแนะนำให้ลดการลงทุนในหุ้นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการปรับราคาลงของราคาโภคภัณฑ์ เช่น กลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมีและอาหาร 
          ในด้านตราสารหนี้ไทย คาดว่าในครึ่งปีแรกตราสารหนี้ระยะปานกลางถึงยาวจะยังคงทำผลงานได้ดีจากเม็ดเงินลงทุนจากต่างประเทศ รวมถึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่อยู่ในระดับต่ำ แต่ในช่วงครึ่งปีหลัง ควรเพิ่มความระมัดระวังในการลงทุนโดยปรับพอร์ตการลงทุนในตราสารหนี้ระยะสั้นเพื่อลดผลกระทบจากแนวโน้มการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ส่วนการลงทุนใน REITs หรือ Infrastructure Fund ก็นับเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจจากระดับเงินปันผลที่สูง 
          จากมุมมองและทิศทางการลงทุนในปี 2015 ทาง บลจ.ซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ขอแนะนำการลงทุน โดยสำหรับพอร์ตการลงทุนในประเทศ เรามองว่าตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่อาจได้ความผันผวนจากปัจจัยลบภายนอก เช่น ราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลง การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยของสหรัฐฯ เป็นต้น ดังนั้น เราแนะนำให้ลงทุนในกองทุนผสมที่มีการลงทุนทั้งในตราสารหนี้และหุ้น เหมาะกับการลงทุนในภาวะผันผวน เช่น “กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล บาลานซ์ อินคัม (CIMB-PRINCIPAL iBALANCED)” จุดเด่นของกองทุนคือ การบริหารการลงทุนแบบ Active Management และการ Rebalancing พอร์ตการลงทุน เพื่อปรับสัดส่วนการลงทุนระหว่างสองสินทรัพย์หลักคือหุ้นและตราสารหนี้อย่างสมดุลในกองทุนเดียวกัน โดยในปีที่ผ่านมา (26 ธันวาคม 2014) กองทุนสามารถสร้างผลตอบแทนได้ถึง 10.46% และมีการรับซื้อคืนหน่วยลงทุนโดยอัตโนมัติจำนวน 4 ครั้ง รวม 0.82 บาทต่อหน่วย หรือประมาณ 8.2% (คิดจากราคาพาร์ 10 บาท) โดยเราตัดจ่ายให้ทุกไตรมาสตลอดปีที่ผ่านมา
          สำหรับนักลงทุนที่ต้องการกระจายการลงทุนไปยังต่างประเทศ เราแบ่งการลงทุนเป็นสามกลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ลงทุนในตราสารหนี้ แนะนำ กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล ยูโร ไฮยิลด์ (CIMB-PRINCIPAL EUHY) จากอานิสงค์ของมาตรการ QE ของภูมิภาคยุโรป ซึ่งส่งผลบวกต่อการลงทุนในตราสารหนี้จากราคาตราสารที่จะปรับเพิ่มขึ้น และเรามองว่า QE นี้จะยังคงดำเนินนโยบายอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2015 
          สำหรับกลุ่มที่ 2 ลงทุนในตลาดหุ้น เราแนะนำลงทุนในภูมิภาคเอเชีย คือ “กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล เอเชีย แปซิฟิค ไดนามิค อินคัม อิควิตี้ (CIMB-PRINCIPAL APDI)” โดยได้รับอานิสงค์จากสภาพคล่องของเงินลงทุนจากมาตรการ QE ของทั้งยุโรปและญี่ปุ่น รวมอานิสงส์จากนโยบายปฏิรูปของหลายประเทศในเอเชีย ซึ่งจะมีเงินลงทุนบางส่วนที่มาลงทุนในตลาดหุ้นของภูมิภาคนี้ เราจึงมองเป็นโอกาสในการลงทุน ในขณะที่กองทุนนี้ในปี 2014 สามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ลงทุน คือ ผลตอบแทน ณ วันที่ 26 ธันวาคมกองทุนมีผลตอบแทนที่ 10.27% สูงกว่าดัชนี MSCI AC Asia Pacific ex-Japan ที่ -0.10% และนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุน (11 กันยายน 2012) การลงทุนเพียงประมาณสองปีกว่ากองทุนมีผลตอบแทนที่ 41.41% สูงกว่าดัชนีเปรียบเทียบที่ 15.94% 
          กลุ่มที่ 3 ลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือก คือ กองทุนเปิดซีไอเอ็มบี-พรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัม (CIMB-PRINCIPAL iPROP) เราคาดว่าอสังหาริมทรัพย์และ REITs จะกลับมามีความน่าสนใจอีกครั้งในปี 2015 สาเหตุหลักจากอัตราดอกเบี้ยทั่วโลกมีแนวโน้มต่ำโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2558 ทำให้มีนักลงทุนบางส่วนแสวงหาผลตอบแทนที่สูงกว่าดอกเบี้ยและมีความเสี่ยงต่ำกว่าหุ้น และหันกลับมาลงทุนใน REITs โดยคาดว่ากอง iPROP จะมีการปรับตัวดีขึ้น กองทุนนี้นับเป็นอีกหนึ่งกองทุนเด่นของเรา ในปีที่ผ่านมากองทุนสร้างผลตอบแทนได้สูงถึง 13.32% สูงกว่าดัชนีเปรียบเทียบที่ 2.28% และกองทุนมีผลการดำเนินงานดีอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่จัดตั้งกองทุนมา
          คุณเจษฎา กล่าวว่า “ถึงแม้เราเชื่อว่าเศรษฐกิจโลกจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2015 นี้ แต่ภายใต้ภาวะการลงทุนที่มีปัจจัยความไม่แน่นอนสูง สิ่งสำคัญที่นักลงทุนจะต้องนำมาประกอบการตัดสินใจเลือกลงทุนคือ การเน้นการลงทุนที่สามารถปรับเปลี่ยนและตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสถานการณ์การลงทุนในแต่ละช่วงเวลา ควบคู่ไปพร้อมกับการพิจารณากรอบการควบคุมความเสี่ยงที่เหมาะสม สามารถที่จะทำให้พอร์ตของนักลงทุนมีผลตอบแทนที่เหมาะสมสำหรับการลงทุนในปีนี้”
 

ข่าวบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน+หลักทรัพย์จัดการกองทุนวันนี้

"อเบอร์ดีน" เปิดตัวกองทุน ThaiESGX ชูปรับพอร์ตลงทุนเหมาะทุกสภาวะตลาด

บลจ.อเบอร์ดีน เปิดตัว "ABALL-TESGX" กองทุนลดหย่อนภาษีน้องใหม่ ลงทุนแบบผสมในหุ้นและตราสารหนี้กลุ่มความยั่งยืน ชูจุดเด่น "ปรับพอร์ตการลงทุน" ให้เหมาะสมทุกสภาวะตลาด ผสานมุมมองนักวิเคราะห์ระดับโลกและผู้จัดการกองทุนในประเทศ พร้อมความเชี่ยวชาญการลงทุนด้าน ESG กว่า 30 ปี เปิดขาย IPO ชนิดหน่วยลงทุน "ABALL-TESGX1" ตั้งแต่ 2-9 พ.ค.68 และ "ABALL-TESGX2" รองรับนักลงทุนที่สับเปลี่ยนมาจาก LTF เริ่ม 14 พ.ค.นี้ โอกาสลงทุนภายใน 30 มิ.ย.68 นายโรเบิร์ต เพนนาโลซา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน

บลจ.ทิสโก้เปิดกองทุนเปิด ทิสโก้ หุ้น 70 ไ... บลจ.ทิสโก้เปิดกองทุน TThai70ESGX และ TThaiESGX ช่วยลูกค้าบริหารภาษี - ลดหย่อนสูงสุด 800,000 บาท — บลจ.ทิสโก้เปิดกองทุนเปิด ทิสโก้ หุ้น 70 ไทยเพื่อความยั่ง...

นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริ... KTAM ร่วมส่งเสริมการลงทุนเพื่อสิทธิประโยชน์ทางภาษี ปล่อย 3 กองทุน "Thai ESGX" IPO 2 - 8 พ.ค.นี้ — นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จั...

บลจ.ไทยพาณิชย์ ขานรับภาครัฐ จัดเต็มเปิด 4... บลจ.ไทยพาณิชย์ ขานรับภาครัฐ จัดเต็มเปิด 4 กองทุนใหม่ Thai ESGX เปิดทางเลือกลงทุนแบบ Extra — บลจ.ไทยพาณิชย์ ขานรับภาครัฐ จัดเต็มเปิด 4 กองทุนใหม่ Thai ESGX...

บลจ.อีสท์สปริง เปิดตัวกองทุนใหม่ "อีสท์สป... บลจ.อีสท์สปริง เปิดตัวกองทุนใหม่ "ES-GQG-UH" ลงทุนหุ้นคุณภาพดีทั่วโลก IPO 24-30 เม.ย. 68 นี้ — บลจ.อีสท์สปริง เปิดตัวกองทุนใหม่ "อีสท์สปริง Global Quality...

บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำก... บลจ.กสิกรไทย คว้า 5 รางวัลยอดเยี่ยม Best of the Best Awards 2025 ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านกองทุนของไทย — บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด (บลจ.กส...

บลจ.กรุงศรี เปิดตัวกองทุนใหม่ KF-EMXCN ฝ่... กรุงศรีเปิดตัวกองทุน KF-EMXCN โอกาสเติบโตไปพร้อมกับ Emerging Market — บลจ.กรุงศรี เปิดตัวกองทุนใหม่ KF-EMXCN ฝ่าความผันผวนจากสงครามการค้า ด้วยโอกาสลงทุนใน...