เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ด้วยการสนับสนุนจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้จัดงานเปิดตัวโครงการ “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” (GoodWalk) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ รองนายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงานครั้งนี้
ภายในงานมีการแนะนำโครงการ “เมืองเดินได้-เมืองเดินดี” (GoodWalk) และค้นพบเกี่ยวกับลักษณะเฉพาะของกรุงเทพมหานครที่มีผลต่อการเดินเท้า โดย ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) และมีการจัดนิทรรศการที่บอกเล่าถึงข้อมูลของโครงการฯพร้อมการแนะนำเว็บไซต์ www.GoodWalk.orgซึ่งถูกพัฒนาให้สามารถแสดงค่าGoodWalk Score ของพื้นที่ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลที่ต้องการค้นหา จาก “แผนที่เมืองเดินได้”นอกจากนั้น ภายในงานยังมีการเสวนาในหัวข้อ “เมืองเดินดี ให้ใครเดินดี?”ซึ่งดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ไขศรี ภักดิ์สุขเจริญ หัวหน้าภาควิชาวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมด้วย ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.), ดร.คณิสร์ แสงโชติ อาจารย์ประจำภาควิชาการธนาคารและการเงินคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คุณโตมร ศุขปรีชาบรรณาธิการบริหารนิตยสาร GM และ คุณอดิศักดิ์ กันทะเมืองลี้ นักผังเมือง ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC)
โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) เป็นโครงการที่ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (UddC) ภายใต้การสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ดำเนินการศึกษาตั้งแต่กลางปี 2557 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมให้เกิดการเดินของผู้คนในพื้นที่เมืองในชีวิตประจำวัน ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการศึกษาในระยะที่ 1เสร็จสิ้นลงแล้ว โดยได้ผลลัพธ์เป็น “แผนที่เมืองเดินได้” ซึ่งเป็นฐานข้อมูลสำคัญที่สามารถบอกถึงพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการเดิน ซึ่งศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) มุ่งหวังจะดำเนินการค้นคว้าวิจัยและกำหนดแนวทางการออกแบบพื้นที่ต่อไป ภายใต้โครงการฯ ในระยะต่อไป เพื่อนำผลที่ได้ไปสู่การปรับใช้และปฏิบัติจริงในอนาคต
ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในระดับสูง (Hyper Tourism Dependency) วิกฤตโควิด-19 จึงไม่เพียงสร้างผลกระทบโดยตรงต่อภาคการท่องเที่ยวและบริการ หากภาวะความซบเซาทางเศรษฐกิจของประเทศที่เกิดขึ้นตลอดปี 2563 ยังสะท้อนให้เห็นจุดอ่อนและความเปราะบางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศทั้งระบบ ดังนั้น ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) จึงมีข้อเสนอด้านยุทธศาสตร์เสริมภูมิคุ้มกันเมืองท่องเที่ยวในวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษา
UDDC UPDATE: ผู้อำนวยการ UddC-CEUS ร่วมเวที BOT SYMPOSIUM 2020 เสนอพัฒนา “เมืองเดินได้” เชื่อมโยงระบบราง กระจายความมั่งคั่งทั่วประเทศ
—
ผู้ช่วยศาสตราจารย...
ยูดีดีซี เสนอ 3 ยุทธศาสตร์ 8 มาตรการ เสริมภูมิคุ้มกันเมืองท่องเที่ยว พลิกวิกฤตเป็นโอกาสอย่างยั่งยืน ในภาวะโรคระบาด
—
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) ...
กทม.บูรณาการความร่วมมือฟื้นฟูทางจักรยานเชื่อมสวนลุมพินี - สวนเบญจกิติ (สะพานเขียว)
—
นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. เปิดเผยกรณี ผศ....
มาแล้ว...ภาพสะพานเขียวโฉมใหม่ ก่อน กทม. เดินหน้าปรับปรุงต้นปี 63 เป็นของขวัญปีใหม่ให้คนกรุงฯ
—
คณะทำงานโครงการปรับปรุงทางเดินและทางจักรยานคลองไผ่สิงโต หรื...
ผอ. ยูดีดีซี เสนอพัฒนาทางเท้า – พื้นที่สาธารณะส่งเสริมสุขภาวะ เพื่อเป็น “ทุนสุขภาพ” ให้คนทุกวัยแก่ตัวอย่างมีคุณภาพ
—
ผู้อำนวยการ UddC ร่วมเวที TDRI Annual...
เปิดประสบการณ์ 'เดินดีที่กุฎีจีน’ กับ “วีรพร นิติประภา” และ 2 วิทยากร “ธีรนันต์ ช่วงพิชิต - บุญยนิธย์ สิมะเสถียร” รับปีหมู
—
ในช่วงที่ใครๆ ก็กำลังฉลองปีให...