UDDC UPDATE: ผู้อำนวยการ UddC-CEUS ร่วมเวที BOT SYMPOSIUM 2020 เสนอพัฒนา “เมืองเดินได้” เชื่อมโยงระบบราง กระจายความมั่งคั่งทั่วประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมสะท้อมมุมมองการการพัฒนาเศรษฐกิจในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2563 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (BOT Symposium 2020) หัวข้อ ในหัวข้อ “ปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทย ทำอย่างไรให้เกิดได้จริง” ณ ศูนย์การเรียนรู้ธนาคารแห่งประเทศไทย

UDDC UPDATE: ผู้อำนวยการ UddC-CEUS ร่วมเวที BOT SYMPOSIUM 2020 เสนอพัฒนา “เมืองเดินได้”  เชื่อมโยงระบบราง กระจายความมั่งคั่งทั่วประเทศ

ผู้อำนวยการ UddC-CEUS นำเสนอหัวข้อ “Walk to Wealth คุณค่าและมูลค่าของเมืองเดินได้” โดยกล่าวถึงประโยชน์ของการพัฒนาโครงสร้างส่งเสริมทางเดินเท้าของเมืองที่มีประโยชน์โดยตรงต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจ โดยยกกรณีศึกษาเมืองในประเทศญี่ปุ่นและฝรั่งเศส ที่มีการกระจุกของตัวและผู้คนอย่างหนาแน่น พร้อมกับมีการพัฒนาการพัฒนาโครงสร้างทางเดินเท้า ส่งผลให้ความมั่งคั่งถูกกระจายไปอย่างทั่วถึง เป็นการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจให้ผู้ประกอบการรายย่อยตามตรอกซอกซอย เนื่องจากผู้ซื้อสามารถเข้าถึงแหล่งจับจ่ายได้ด้วยการเดินเท้า ตรงข้ามกับเมืองซึ่งคนใช้รถยนต์เป็นหลัก โอกาสมักกระจุกที่ผู้ประกอบการรายใหญ่

“การเดินคือวิธีการเพิ่มมูลค่าและสร้างคุณค่าให้แก่เมือง ไปพร้อมๆ กับการลดต้นทุนในชีวิตประจำวัน ยูดีดีซีพบว่าวิธีที่จะทำให้การเดินส่งเสริมศักยภาพของเมือง คือการออกแบบเมืองให้มีบล็อกที่เล็ก มีโครงข่ายถนนที่เชื่อมโยงกัน มีทางเท้ามีคุณภาพ มีการผสมผสานของกิจกรรมการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย พานิชยกรรม สาธารณูปการที่หลากหลายรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของหลายกลุ่ม หลายกิจกรรม หลายเวลา” ผศ.ดร.นิรมล กล่าว

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ยังชี้ให้เห็นโอกาสและความจำเป็นของการพัฒนา “เมืองเดินได้” ที่จะส่งเสริมให้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของรัฐเกิดประโยชน์และความคุ้มค่าสูงสุด จากการศึกษาของโครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk) โดย UddC-CEUS ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) นิยามว่า “เมืองเดินได้” หมายถึงเมืองที่ผู้คนสามารถอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพารถยนต์และสามารถเดินเท้าถึงจุดหมายปลายทางในชีวิตประจำวัน 6 ประเภท ได้แก่ ที่เรียน ที่ทำงาน ที่จับจ่ายใช้สอย ที่พักผ่อน ที่ประกอบธุรรรม และที่เปลี่ยนถ่ายการสัญจร ในระยะเดินเท้า 800 เมตร ดังนั้น การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรางทั้งในกรุงเทพมหานครและเมืองรอง ถือเป็นโอกาสสำคัญของการส่งเสริมเศรษฐกิจของเมืองและประเทศ

“โอกาสมาถึงแล้ว รางเชื่อมประเทศให้เมืองและผู้คนได้แลกเปลี่ยนเกื้อหนุนกัน ความท้าทายคือการลงทุนต้องดำเนินการให้ถึงที่สุด นั่นคือ ต้องลงไปถึงระดับย่าน การลงทุนต้องไม่หยุดแค่การสร้างสถานี แต่ต้องลงมุนไปให้สุดถึงหน่วยย่อยคือทางเท้าที่นำพาผู้คนไปยังร้านค้า ที่ทำงาน ที่เรียน สวนสาธารณะ ห้องสมุด และบ้านของพวกเรา ความท้าทายจากนี้คือทำอย่างไรให้คนสะดวกและสบายที่จะเดิน ปัจจุบัน ยูดีดีซี ได้ทำการศึกษาศักยภาพเมืองเดินได้ไว้แล้ว 33 เมืองทั่วประเทศ มีประโยชน์ยิ่งต่อผู้กำหนดนโยบายที่จะใช้ประกอบการวางแผนเพื่อปลดล็อคศักยภาพของเมือง ย่าน และผู้คนให้สามารถรวมพลังพัฒนาเศรษฐกิจให้เข้มแข็ง ให้ประเทศก้าวไปข้างหน้าต่อไป ถึงตอนนั้นการลงทุนภาครัฐจะคุ้มค่าเพราะสามารถยังประโยชน์ในการสร้าง WEALTH (ความมั่งคั่ง) และ WELLNESS (คุณภาพชีวิต) ของผู้คนด้วยการ WALK (เดิน)” ผู้อำนวยการ UddC-CEUS กล่าว


ข่าวศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง+จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยวันนี้

ผู้อำนวยการ UddC-CEUS เสนอแผนสร้างภูมิคุ้มกันเมืองท่องเที่ยว ระยะสั้น-ระยะกลาง เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจเมืองท่องเที่ยวในวิกฤตโควิด-19 ชี้ ยิ่งประเทศพึ่งพารายได้การท่องเที่ยว ยิ่งต้องมีสภาพแวดล้อมเมืองคุณภาพ

ผศ.ดร.นิรมล เสรีสกุล ผู้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการท่องเที่ยวในระดับสูง (Hyper Tourism Dependency) วิกฤตโควิด-19 จึงไม่เพียงสร้างผลกระทบโดยตรงต่อภาคการท่องเที่ยวและบริการ หากภาวะความซบเซาทางเศรษฐกิจของประเทศที่เกิดขึ้นตลอดปี 2563 ยังสะท้อนให้เห็นจุดอ่อนและความเปราะบางของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศทั้งระบบ ดังนั้น ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC-CEUS) จึงมีข้อเสนอด้านยุทธศาสตร์เสริมภูมิคุ้มกันเมืองท่องเที่ยวในวิกฤตโควิด-19 กรณีศึกษา

นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา... กทม.บูรณาการความร่วมมือฟื้นฟูทางจักรยานเชื่อมสวนลุมพินี - สวนเบญจกิติ (สะพานเขียว) — นายไทวุฒิ ขันแก้ว ผู้อำนวยการสำนักการโยธา (สนย.) กทม. เปิดเผยกรณี ผศ....

คณะทำงานโครงการปรับปรุงทางเดินและทางจักรย... มาแล้ว...ภาพสะพานเขียวโฉมใหม่ ก่อน กทม. เดินหน้าปรับปรุงต้นปี 63 เป็นของขวัญปีใหม่ให้คนกรุงฯ — คณะทำงานโครงการปรับปรุงทางเดินและทางจักรยานคลองไผ่สิงโต หรื...

กรุงเทพ 250 : อนาคต โอกาส ความหลากหลายของทุกคน

ขอเชิญร่วมงานเปิดตัวโครงการฟื้นฟูเมืองกรุงเทพฯ ในวาระครบ 250 ปี ที่มีเป้าหมายจะพลิกฟื้นพื้นที่เมืองชั้นในให้น่าอยู่ และเป็นมหานครระดับโลก พบกับภาพกรุงเทพฯ ในปี 2575 ผ่านผลการศึกษาด้วยเทคนิคการคาดการณ์อนาคต (Foresight) ...

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 ศู... UddC เปิดตัวโครงการ “เมืองเดินได้ – เมืองเดินดี” — เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ 2558 ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UddC) ด้วยการสนับสนุนจาก สำนักงานก...