กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เตือนอันตรายจากการเล่นปืนอัดลม โดยลำแสงเลเซอร์ ความเร็วและความแรงของกระสุนปืน จะส่งผลต่อผิวหนัง ดวงตา ถึงขั้นตาบอดได้ พร้อมแนะผู้ปกครองควรเลือกของเล่นที่ช่วยส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ พัฒนาการและจินตนาการของเด็ก หลีกเลี่ยงการซื้อของเล่น ที่เลียนแบบอาวุธปืนให้เด็กเล่น เพราะหากเด็กนำอาวุธปืนจริงมาเล่น จะก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า จากสถิติ การบาดเจ็บจากปืนอัดลมในประเทศไทยพบว่า ในแต่ละปีมีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ได้รับบาดเจ็บจากปืนอัดลม ประมาณ 4,792 คนต่อปี โดยอันตรายจากการเล่นปืนอัดลมเกิดจากลำแสงเลเซอร์ ความเร็ว และความแรงของกระสุนปืน ส่งผลให้ได้รับบาดเจ็บบริเวณผิวหนัง ดวงตา อาจถึงขั้นทำให้ตาบอดได้ เพื่อความปลอดภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอเตือนผู้ปกครองให้เอาใจใส่ในการเลือกของเล่นให้บุตรหลาน โดยเฉพาะปืนอัดลมที่เลียนแบบอาวุธปืนจริงต้องมีเครื่องหมายมาตรฐานบังคับประเภทของเล่น ซึ่งเป็นเครื่องหมายที่ได้รับอนุญาตจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.) แสดงไว้บนฉลากสินค้า พร้อมมีฉลากระบุความเร็วและความแรงของวิถีกระสุน หากติดตั้งเลเซอร์ต้องระบุความยาวคลื่นและกำลังของแสงเลเซอร์ รวมถึงต้องมีข้อความระบุว่า “ห้ามจ้องแสงเลเซอร์” ขนาดตัวอักษร ไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิเมตร และคำเตือนระบุว่า “การเล็งหรือยิงเข้าหากัน อาจทำให้ตาบอดหรือร่างกายได้รับบาดเจ็บ” ขนาดตัวอักษรไม่ต่ำกว่า 3 มิลลิเมตร สีของข้อความต้องมองเห็นได้ชัดเจน ขณะที่ผู้ขายต้องไม่ขายปืนอัดลมให้เด็กที่มีอายุ ต่ำกว่า 15 ปี ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ.2490 ทั้งนี้ ผู้ปกครองควรให้คำแนะนำแก่บุตรหลานเกี่ยวกับวิธีการเล่น และอันตรายของปืนอัดลม พร้อมดูแลการเล่นปืนอัดลม ของเด็กอย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตาม ผู้ปกครองควรซื้อของเล่นที่เหมาะกับวัยและพัฒนาการของเด็ก เพื่อเสริมสร้างจินตนาการและส่งเสริมการเรียนรู้ หลีกเลี่ยงการซื้อของเล่นที่เลียนแบบอาวุธปืนให้เด็กเล่น เพราะเด็กไม่สามารถแยกแยะระหว่างของจริงและของเล่นได้ หากเด็กนำอาวุธปืนจริงมาเล่น จะก่อให้เกิดอันตรายทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
0-2243-0674
0-2243-2200
www.disaster.go.th
บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมกับ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทดสอบระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่านเทคโนโลยี Cell Broadcast เป็นครั้งแรกของประเทศในลักษณะเสมือนจริงในพื้นที่ระดับเล็ก ภายในอาคารและบริเวณโดยรอบ ประกอบด้วย ศาลากลางจังหวัดเชียงราย ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี ศาลากลางจังหวัดอุบลราชธานี ศาลากลางจังหวัดสงขลา และอาคารศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา กรุงเทพมหานคร โดยผลการทดสอบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถส่งข้อความแจ้งเตือนไปยัง
NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง
—
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้...
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์
—
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...
'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...
สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์
—
เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...
กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
—
นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...
กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด
—
นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...
มท.1 มอบโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชน ตามโครงการ "มอบโฉนดที่ดินทั่วไทย นำสุขคลายทุกข์ให้ประชาชน" ในพื้นจังหวัดกาญจนบุรี
—
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ...