ไก่ไทยปลอดภัยไม่มีสารเร่งโต

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

โดย รศ.ดร.ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์ ภาควิชาสัตวบาล คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
          ปัจจุบันกระแส “รักสุขภาพ” ได้รับความนิยมสูงมาก ผู้บริโภคคำนึงถึงอาหารปลอดภัยและเพื่อสุขภาพ (Safety and Healthy Food) กันอย่างจริงจังและสนใจศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารมากขึ้น โดยเฉพาะจากสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงได้ง่ายและกระจายได้เร็ว ขณะที่ข้อมูลก็มีทั้งดีและร้าย เช่น ข่าวเรื่องเด็กกินไก่แล้วโตเร็ว เป็นสาวเร็ว หรือหน้าอกใหญ่ จนทำให้บรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองสงสัยว่า “การเลี้ยงไก่ใช้ฮอร์โมนเร่งโตจนทำให้เด็กๆเป็นหนุ่ม-สาวเร็วหรือไม่?” และอีกหลายๆคนก็เชื่อไปแล้วว่าไก่ไทยถูกเลี้ยงด้วยฮอร์โมนเร่งโต ในฐานะที่เป็นอาจารย์และนักวิจัยที่เกี่ยวข้องกับวงการปศุสัตว์จึงอยากให้ข้อมูลของการผลิตไก่ไทยที่เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงสำหรับผู้บริโภค ดังนี้ครับ
          ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกเนื้อไก่อันดับ 4 ของโลก เราส่งออกเนื้อไก่ไปญี่ปุ่นและสหภาพยุโรป (อียู)เป็นส่วนใหญ่ ข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย ระบุว่าปี 2557 ไทยส่งออกไก่สดแช่เย็น แช่แข็งและแปรรูป ถึงปีละ 560,000 ตัน มีมูลค่าสูงถึง 78,000 ล้านบาท มีตลาดสำคัญ คือ อียู (นำเข้า 270,000 ตัน) และญี่ปุ่น (นำเข้า 240,000 ตัน) รวมทั้งตลาดอื่นๆ คือ สิงคโปร์ เกาหลี ตะวันออกกลาง และแคนาดา โดยมาตรฐานของอาหารที่จำหน่ายในกลุ่มประเทศเหล่านี้สูงมากซึ่งข้อกำหนดหรือมาตรฐานการเลี้ยงของประเทศผู้ผลิตต้องสูงเช่นกัน เช่น การห้ามให้สารเร่งการเจริญเติบโตในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นฮอร์โมน สารเคมีต่างๆ หรือแม้แต่ยาปฏิชีวนะ ยิ่งไปกว่านั้นบางประเทศยังห้ามใช้ปลาป่นเป็นส่วนประกอบของสูตรอาหารเพราะเกรงจะมีเชื้อโรคบางชนิดปะปน มีการตรวจสอบย้อนกลับในทุกๆขั้นตอนการผลิต ไม่ว่าจะเป็นอาหาร พันธุ์ และการเลี้ยง จึงสรุปได้ว่าเนื้อไก่ที่ผลิตและส่งออกมีมาตรฐานสูงมากจนเป็นไปไม่ได้เลยว่ามีการใช้สารเร่งการเจริญเติบโตต่างๆในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไทย 
          บางคนอาจตั้งคำถามอีกว่า “มาตรฐานการผลิตเพื่อการส่งออกและเพื่อบริโภคในประเทศต่างกันหรือไม่?” ในแง่การผลิตไม่ว่าจะเป็นอาหาร การจัดการ การชำแหละ หากจะแยกเป็น 2 มาตรฐานในการดำเนินการแล้วนับว่ายุ่งยากและไม่คุ้มค่า ที่สำคัญกรมปศุสัตว์เองก็มีข้อกำหนดที่มีมาตรฐานระดับเดียวกับต่างประเทศเพื่อควบคุมการผลิตให้ได้มาตรฐาน ดังนั้นในเชิงกฎหมาย วิชาการ และการผลิตแล้ว เนื้อไก่บริโภคในประเทศจึงมีมาตรฐานเดียวกับที่ส่งออกต่างประเทศ
          อย่างไรก็ตามบางคนก็อาจจะตั้งคำถามอีกว่า “ทำไมเดี๋ยวนี้ไก่ถึงโตเร็วนัก ?” คำตอบอยู่ที่การพัฒนาขององค์ความรู้ด้าน พันธุ์ อาหาร และการจัดการ หลายๆท่านอาจยังไม่ทราบถึงการพัฒนาองค์ความรู้วิทยาศาสตร์การเลี้ยงสัตว์ว่าไปไกลขนาดไหน ผมขอเล่าสั้นๆดังนี้ครับ 1) การพัฒนาสายพันธุ์ไก่เกิดขึ้นตลอดเวลา (ไม่ใช่ตัดต่อพันธุกรรม) โดยเฉลี่ยพันธุกรรมไก่เนื้อจะโตเร็วขึ้น 50 กรัมทุกๆปี แปลว่า ไก่ที่เลี้ยงปีนี้จะโตกว่าที่เลี้ยงเมื่อ 10 ก่อน 500 กรัม หากเลี้ยงด้วยอาหารและการจัดการเดียวกัน 2) อาหารไก่ถูกพัฒนาไประดับโมเลกุล กรดอะมิโนหรือพลังงานงานที่กินถูกให้ตรงตามพันธุกรรมมีการคำนวณโภชนะทุกชนิดให้กับไก่อย่างแม่นยำ โดยเฉพาะโรงงานอาหารสัตว์ที่ทันสมัยควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ทำการผสม อัดเม็ด หรือทำให้อาหารสุกอย่างมีประสิทธิภาพ และ 3) การจัดการที่เน้นความสะอาด ปลอดภัย ควบคุมอุณหภูมิ แสง และความชื้นตลอดเวลาโดยระบบอัตโนมัติเพื่อหลีกเลี่ยงการรบกวนสัตว์ และการแพร่ระบาดของเชื้อโรค การเลี้ยงที่มีสัดส่วนพื้นที่ต่อตัวให้เหมาะสมไม่หนาแน่นจนเกินไป (ยึดหลักสวัสดิภาพสัตว์) การพัฒนาองค์ความรู้ทั้ง 3 ทำให้จากที่เคยเลี้ยงไก่ 42 วัน ได้น้ำหนัก 2 กิโลกรัม เป็น 2.6 กิโลกรัม ใช้เวลาเพียง 37-38 วัน เท่านั้น 
          จากที่กล่าวมา ด้วยกฎระเบียบที่เข้มงวดของประเทศคู่ค้าหรือของไทยเอง และเทคโนโลยีการเลี้ยงไก่ที่ก้าวหน้ามาก จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่อุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ไทยจะใช้ฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโต ประกอบกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกประกาศห้ามใช้ยาเฮ็กโซเอสตรอล (Hexoestrol) ซึ่งเป็นยาที่ใช้สำหรับตอนสัตว์ปีกและเป็นฮอร์โมนสำหรับรักษาสัตว์ โดยมีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนตำรับยาที่มีเฮ็กโซเอสตรอลไม่ให้จำหน่ายในประเทศไทยมาตั้งแต่มิถุนายน 2529 หรือนานเกือบ 30 ปีมาแล้ว สอดคล้องกับ บทความเรื่อง “โรคเป็นสาวก่อนวัย...ภัยที่ไม่ควรมองข้าม” ของ ศ.นพ.พัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา หัวหน้าหน่วยต่อมไร้ท่อและเมตาโบลิซึม คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่ย้ำชัดว่า ในทางปฏิบัติยังไม่เคยพิสูจน์ตรวจพบอาหารที่มีการปนเปื้อนฮอร์โมน
          ที่สำคัญไปกว่านี้ ด้วยกฎระเบียบที่จะเข้มงวดมากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคตอาจห้ามใช้ยาปฏิชีวนะทุกชนิด (แม้แต่รักษา) หรือการห้ามทำวัคซีน (เพื่อป้องกันโรค) ก็ได้ ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์และนักสัตวบาลทั้งหลายกำลังพยายามหาวิธีเลี้ยงไก่ไม่ให้ป่วยเลย (ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะและวัคซีน ไม่ตัดต่อพันธุกรรม) โดยยืนบนพื้นฐานการพัฒนาด้าน พันธุ์ อาหาร และการจัดการ ดังนั้น ประเด็นการใช้ฮอร์โมนในการเลี้ยงไก่จึงเป็นเรื่องล้าสมัยมากในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่และวิชาการ 
          ขอให้ทุกท่านได้หายสงสัยในเรื่อง “ฮอร์โมน กับ การเลี้ยงไก่” ได้เลยครับ เพราะยังมีประเด็นอื่นๆที่ทันสมัยกว่าไว้คอยถกเถียงอีกต่อไป

ข่าวมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์+ชัยภูมิ บัญชาศักดิ์วันนี้

เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ชวนช้อปสินค้าเกษตรแปรรูปคุณภาพดี งาน ""ยกไร่สุวรรณ" มาไว้ที่เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ตั้งแต่ 8-13 พฤษภาคมนี้

เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ ศูนย์การค้าในเครือเอ็ม บี เค ร่วมกับ ไร่สุวรรณ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เอาใจคนรักสุขภาพ ชวน ช้อป ชิมสินค้าเกษตรแปรรูปในงาน "ยกไร่สุวรรณ" มาไว้ที่เดอะไนน์ เซ็นเตอร์ ติวานนท์ อาทิ น้ำนมข้าวโพดส่งตรงจากไร่สุวรรณกว่า 1,500 ขวด ข้าวโพดฝักสด ไอศครีมข้าวโพด ขนมไทย ขนมหวาน น้ำอ้อย น้ำตาดสด และสินค้าชุมชนอีกมากมาย พร้อมสนุกกับกิจกรรมป้อนอาหารสัตว์เลี้ยงน่ารัก ไม่ว่าจะเป็น ลามะ แพะแคระ และกระต่าย พิเศษสำหรับสมาชิก MBK PLUS เพียงแสดงใบเสร็จช้อปหรืออิ่มในศูนย์ฯ ครบ 300

การแข่งขัน Thailand Open ROS and Smart Ro... สุดยอดศึกหุ่นยนต์อัจฉริยะ Thailand Open ROS and Smart Robot Competition 2025 ปิดฉากสุดมันส์ เยาวชนไทยโชว์ศักยภาพก้าวสู่เวทีโลก — การแข่งขัน Thailand Open ...

มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผนึกกำลังมหาวิ... ราชภัฏรำไพฯ จับมือ ม.เกษตรฯ ยกระดับศักยภาพรอบด้าน สู่ความเป็นเลิศทางวิชาการและพัฒนาท้องถิ่น — มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ผนึกกำลังมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ส...

รศ.ดร.ยศวีร์ สายฟ้า คณบดีคณะครุศาสตร์ จุฬ... คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ - คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เตรียมจัดประชุมวิชาการนานาชาติ CU-KU International Symposium in Education 2025 ความร่วมมือ — รศ.ดร.ยศวีร...

ช่วงเช้าตรู่ของวันอาทิตย์ที่ 23 มีนาคมที่... ชมรมนิสิตเก่าม.เกษตรศาสตร์ จ.เพชรบุรี รวมพลังหัวใจรักษ์ทะเล! "Run for Ocean #4" วิ่งเพื่อโลก ฟื้นคืนชีวิตให้ทะเลไทย ณ บ้านแหลม จ.เพชรบุรี — ช่วงเช้าตรู่ขอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ ... สัมมนาครูผู้สอนภาษาอังกฤษ มาตรฐาน CEFR — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ร่วมกับ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ British Council Thailand ขอเรียน...

เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568 องค์การอุตสาหก... อ.อ.ป. - บ.พรีซีซั่น เวท และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพาะเลี้ยง 'สเต็มเซลล์ช้างจากรก' สำเร็จเป็นครั้งแรกในไทย เตรียมพร้อมสร้างนวัตกรรมการรักษาสุขภาพช้างด้วย 'สเต็มเซลล์' — เมื่อวันที่...

รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลั... มทร.กรุงเทพ จับมือ 4 มหาวิทยาลัยดัง และ วิทยุการบิน ยกระดับกำลังคนกลุ่มอุตสาหกรรมการบิน — รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร....

หลังจากร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งระหว่าง สหก... เนื้อโพนยางคำ GI สกลนคร บุกตลาดชาบู! เสิร์ฟคุณภาพระดับพรีเมียมในร้าน Shabushi ทั่วประเทศ — หลังจากร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งระหว่าง สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ ก...

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เจ... คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เจ้าภาพจัดงาน "กีฬา 3 วิภา" — คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เจ้าภาพจัดงาน "กีฬา 3 วิภา" โดยมีวัตถุประสงค์เ...