รวมพลพัฒนาไบโอเทคโนโลยีในงาน Thailand Lab 2015

27 Aug 2015
กูรูวงการชี้เส้นทางไบโอเทคโนโลยีไทยเร่งปิดจุดด้อย ผลักดันงานวิจัยใช้ได้จริงพร้อมก้าวสู่การเป็นฮับของอาเซียน นายกสมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชี้ผู้ประกอบการต้องเร่งปรับตัวแข่งขันรู้จักนำเครื่องมือวิทยาศาสตร์มาใช้ต่อยอดธุรกิจและลดต้นทุน ภาครัฐเร่งส่งเสริมให้เอกชนมีการลงทุนด้านการวิจัยแล้ว ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเองก็จะต้องเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ เชิญร่วมดูวิวัฒนาการใหม่ๆและหาองค์ความรู้ในงาน THAILAND LAB 2015 ที่ไบเทค บางนา 9-11 ก.ย. นี้
รวมพลพัฒนาไบโอเทคโนโลยีในงาน Thailand Lab 2015

ชีววิทยาศาสตร์ (Life Sciences )กับการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้คนในสังคม นับเป็นเรื่องสำคัญที่กำลังเป็นที่สนใจ เป็นเรื่องใหญ่ที่นำไปสู่ผลประโยชน์ทั้งทางการค้าระหว่างประเทศ สำหรับประเทศไทยก็คือการนำเอาองค์ความรู้ทางด้านนี้มาใช้ประโยชน์อย่างน้อยในสี่ด้านด้วยกัน คือ เวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ การให้บริการทางสาธารณะสุข การสร้างเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ และการใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติในการผลิตยาแผนโบราณ อาหารเสริม แม้กระทั่งเครื่องสำอาง

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ไบโอเทคโนโลยี ไลฟ์สไตล์ มีนิยามที่กว้าง และถูกนำมาใช้ประโยชน์ในหลายๆทาง แต่ในประเทศไทย นำมาใช้ 2 ด้านใหญ่คือ ด้านสุขภาพสาธารณะสุขและการแพทย์ ที่ช่วยให้ชีวิตดีขึ้น หากมองถึงตัวเลขทางธุรกิจไบโอเทคโนโลยี จะมีมูลค่ามหาศาล แต่ประเด็นผู้ประกอบการยังใช้เงินซื้อเทคโนโลยีเพื่อการวิจัยที่ ยังใช้นวัตกรรมอินโนเวชั่นน้อย ดังนั้นจะต้องมีการผลักดันเทคโนโลยีนำไปใช้ในเชิงอุตสาหกรรมรับการแข่งขันตลาด

รองศาสตราจารย์ ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีนักวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านไบโอแก๊ส, Transport Properties of Food Materials และ Algal Technology Research มองถึงทิศทางไบโอเทคโนโลยีประเทศไทย ว่ามีความพร้อมก้าวสู่ระดับผู้นำอาเซียนแล้ว มีความเข็มแข็งทางวิทยาการที่มีวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน โดยเฉพาะ 2 ด้านสำคัญคือด้านการแพทย์และสาธารณะสุขที่มีความเข้มแข็งยาวนานในภูมิภาคนี้ โดยไทยได้เริ่มตื่นตัวด้านไบโอเทคโนโลยียุคใหม่ตั้งแต่ปี 1997 โดยเริ่มต้นนำวิทยาการสมัยใหม่ ใช้จุลลินทรีย์เป็นประโยชน์ในการหมักดองใช้จุลลินทรีย์ที่มีคุณค่าทางยา

“ ไทยก็ยังมีส่วนที่ต้องแก้ปัญหา เพื่อพัฒนาอีกบางประการเพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำ คือ การหาแนวทางลดความเสี่ยงกว่าจะได้สินค้าผลิตภัณฑ์ งานวิจัยไทยจะพัฒนาต่อไปได้ต้องสร้างสิ่งที่ขาดคือ กองทุนรองรับความเสี่ยง เป็นเรื่องสำคัญมากที่เราจะนำงานวิจัยทะลุออกไปใช้งานเชิงพาณิชย์เป็นผลิตภัณฑ์ ยังต้องใช้ขบวนการวิจัย อาร์แอนด์ดี อีกนาน ต้อง ลงทุนยาวนาน หลายประเทศพัฒนางานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้จริงจะมีวิธีรองรับความเสี่ยง นั่นคือหน่วยงานภาครัฐจะต้องเข้ามาดูแลตรงนี้ ในต่างประเทศ จะใช้วิธี กองทุนรวม ส่งเสริมการงทุนด้านต่างๆ ซึ่งในประเทศไทยเองก็กำลังดำเนินการเช่นกัน อาทิการลดภาษีให้ผู้ประกอบการ 300 %

อย่างไรก็ตามนอกจากภาครัฐบาลมาเกื้อหนุนแล้ว ทางเอกชนก็มีส่วนที่จะช่วยผลักดัน โดยเฉพาะ บริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมใหญ่ที่มีเงินทุนสำรองมากพอ เข้ามาเกื้อหนุนงานวิจัยที่น่าสนใจผลักดันงานวิจัยจนไปถึงฝั่งออกเป็นเป็นผลงานที่ใช้ได้จริง เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ได้จริงนายพูศักดิ์ หิรัณยตระกูล นายกสมาคมการค้าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเทศไทย กล่าว การพัฒนาไบโอเทคโลยีไทยจะต้องใช้เวลาอีกระยะ “เป็นไปได้ยากมากเพราะบ้านเราขาดทั้งองค์ความรู้และเงินทุน ยกตัวอย่างเครื่องมือวิทยาศาสตร์บ้านเรา ปัจจุบันยังผลิตได้แค่เครื่องมือเล็กๆ น้อยๆ เพราะตลาดเครื่องมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ โดยเฉพาะเครื่องมือวิเคราะห์วิจัยขั้นสูงยังมีมูลค่าไม่สูงนัก เนื่องจากประเทศไทยยังมีการลงทุนทางด้านวิจัยและพัฒนา (R&D) ต่ำอยู่มาก (ประมาณ 0.28% ของ GDP) เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่เจริญแล้วซึ่งมีการลงทุนดังกล่าวประมาณ 2-3% ถึงแม้ว่า ทุกรัฐบาลจะมีนโยบายส่งเสริมให้ภาครัฐและภาคเอกชนให้มีการลงทุนทางด้านวิจัยและพัฒนาให้เพิ่มขึ้นเป็น 1% ของ GDP ในปัจจุบัน แต่ยังขาดการสนับสนุนงบประมาณสำหรับนโยบายดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจริงจัง”

อย่างไรก็ตามนอกจากภาครัฐเร่งส่งเสริมให้เอกชนมีการลงทุนด้านการวิจัยแล้ว ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเองก็จะต้องเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ เพื่อรับมือการแข่งขัน โดยเฉพาะการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและงานสัมมนาระดับชาติ ที่มีทุกปีอย่างงาน งาน Thailand Lab 2015 จะเป็นการแสดงนวัตกรรม เครื่องมือวิเคราะห์วิจัย เครื่องมือทดสอบและวัสดุอุปกรณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากผู้ผลิตที่มีชื่อเสียงระดับโลก พร้อมทั้งมีการจัดประชุมสัมมนาวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลในการศึกษาวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในสาขาต่างๆ จากนักวิชาการทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนเป็นเวทีแลกเปลี่ยนการค้าของผู้ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล

สนใจข้อมูลดีๆหลากหลาย เทคโนโลยี งานวิจัยห้องแล็บ พบกัน ที่งาน Thailand LAB 2015 และ LIFE Sciences Asia 2015 ที่จะจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 ในวันที่ 9-11กันยายน 2558 ที่ EH 105 และ EH 107 ณ ไบเทค บางนา โดยบริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิกฟิก จำกัด (VNU Exhibitions Asia Pacific) ได้ร่วมมือกับ สมาคมต่างๆ ทั้งในประเทศและในภูมิภาค จัดงานประชุมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านงานวิจัย งานวิเคราะห์และตรวจสอบ ตลอดจนด้านนวัตกรรมเครื่องมือแล็บ

สามารถลงทะเบียนเข้าชมงาน ได้ที่ www.thailandlab.com หรือ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :VNU Exhibitions Asia Pacific Co., Ltd. Tel: +662-670-0900 Ext. 201-209 Fax: +662-670-0908 Email:[email protected] Website: www.thailandlab.com Facebook Page:www.facebook.com/ThailandLab Twitter: twitter.com/ThailandLAB YoutubeChannel:www.youtube.com/ThailandLab