มารู้จักโรคโอเอบีกันเถอะ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นพ.วสันต์ เศรษฐวงศ์ โรงพยาบาลธนบุรี2
          โรคโอเอบีเป็นชื่อโรคที่ทับศัพท์มาจากภาษาอังกฤษ OAB ซึ่งย่อมาจากคำว่า OverActiveBladder ปัจจุบันยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่เป็นทางการสำหรับโรคนี้ เนื่องจากเป็นโรคที่บัญญัติขึ้นใหม่ได้ประมาณสิบกว่าปี แพทย์บางท่านอาจเรียกโรคนี้ว่า “กระเพาะปัสสาวะทำงานไวกว่าปกติ” หรือ “กระเพาะปัสสาวะทำงานไว้เกิน” หรือ “กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะทำงานไม่คงที่” เป็นต้น ซึ่งชื่อเหล่านี้ทั้งหมดสื่อความหมายถึงการบีบตัวที่เร็วผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะตามความหมายของ overactive bladder ในภาษาอังกฤษ
          ผู้ป่วยที่เป็นโรคโอเอบีมีอาการต้องไปปัสสาวะอย่างรีบด่วนทันทีที่รู้สึกปวดปัสสาวะโดยไม่สามารถผัดผ่อนได้(Urgency)เป็นหลัก บางคนอาจมีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่จนมีปัสสาวะเล็ดราดออกมาก่อนไปถึงห้องน้ำ(Urge incontinence)หรืออาการปัสสาวะบ่อย(Frequency) คือ ปัสสาวะมากกว่า 8 ครั้งต่อวัน หรือตื่นกลางดึกเพื่อถ่ายปัสสาวะ(Nocturia)ร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ อาการอาจแตกต่างกันในผุ้ป่วยแต่ละราย และสิ่งสำคัญคือผู้ป่วยต้องไม่มีอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะเป็นเลือด เป็นไข้ เป็นต้น
          โรคโอเอบีเป็นโรคที่พบบ่อยในประชากรทั่วไปของทุกประเทศทั่วโลก อาจพบได้ถึง 14% ของประชากรทั่วไป นั่นหมายความว่าในประเทศไทยอาจมีผู้ป่วยโรคนี้มากกว่า6,000,000 ราย โรคนี้พบได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชายเท่าๆกัน และเกิดได้ในคนมีอายุน้อยจนถึงผู้สูงอายุ แต่พบในผู้สูงอายุมากกว่า โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้น
          โรคโอเอบีไม่ใช่เป็นสภาวะปกติของผู้สูงอายุเสมอไป แม้ว่าโรคนี้พบมากขึ้นในผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป อาจพบได้มากถึง16% ของประชากรกลุ่มนี้ นั่นหมายความว่าผู้สูงอายุหลายคนก็ไม่มีโรคโอเอบี ดังนั้นโรคโอเอบีจึงไม่ใช่ภาวะปกติของผู้สูงอายุ สิ่งที่สำคัญโรคโอเอบีเป็นโรคที่สามารถรักษาได้ ดังนั้นเมื่อสงสัยว่าตัวเองอาจมีโรคโอเอบีหรือความผิดปกติเกี่ยวกับการขับถ่ายปัสสาวะ จึงควรรีบไปพบแพทย์
          ปัจจุบันวงการแพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคโอเอบี เชื่อว่าโรคโอเอบีอาจเกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะหรือระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของกระเพาะปัสสาวะผิดปกติทำให้ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อของกระเพาะปัสสาวะให้ทำงานตามปกติ กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะจึงเกิดการบีบตัวที่ไวผิดปกติ ซึ่งสาเหตุเหล่านี้ของโรคโอเอบีไม่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่เนื่องจากมีหลายโรคที่ร้ายแรงถึงชีวิต เช่น มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ นิ่ว หรือการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ก็มีอาการและอาการแสดงคล้ายๆกับโรคโอเอบี ดังนั้นถ้าสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคโอเอบี หรืออาการคล้ายๆกับโรคนี้ควรรีบไปปรึกษาแพทย์
          แม้ว่าโรคโอเอบีเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรงถึงชีวิต แต่ก็ส่งผลกระทบอย่างมากต่อคุณภาพชีวิตไม่น้อยไปกว่าโรคร้ายแรงหลายโรค อาการปัสสาวะบ่อยและกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการทำงานลดลงเนื่องจากต้องลุกไปปัสสาวะบ่อย การใช้ชีวิตประจำวันยากลำบากขึ้นโดยเฉพาะช่วงเวลาจราจรติดขัดหรือช่วงเดินทางไกลต้องแวะหาห้องน้ำตลอดการเดินทางทำให้หลายคนไม่อยากออกจากบ้าน เก็บตัวอยู่แต่ในบ้าน จนเกิดเป็นโรคซึมเศร้าตามมาภายหลัง อาการปัสสาวะเล็ดราดทำให้เกิดความอับอาย ขาดความมั่นใจในการเข้าสังคมและอาจเกิดปัญหาในครอบครัวขึ้นได้ ส่วนอาการลุกขึ้นปัสสาวะกลางดึกบ่อยๆนั้น ทำให้ผู้ป่วยพักผ่อนได้ไม่เต็มที่ ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งด้านร่างกายและจิตใจ สร้างความรำคาญและทุกข์ทรมานต่อผู้ป่วยเป็นอย่างมาก
          การวินิจฉัยโรคโอเอบีไม่ได้ยุ่งยากหรือซับซ้อนแต่อย่างไร เมื่อผู้ป่วยที่มีอาการชวนสงสัยว่าเป็นโรคโอเอบีมาพบแพทย์ แพทย์จะซักประวัติอย่างละเอียดเกี่ยวกับอาการต่างๆ ระยะเวลาที่มีอาการ โรคประจำตัว และอาการร่วมอื่น ฯลฯ ร่วมกับการตรวจร่างกายทุกระบบอย่างครบถ้วน ทั้งการตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจภายใน การตรวจทางทวารหนัก และการตรวจระบบประสาที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายปัสสาวะ รวมทั้งการส่งตรวจห้องปฏิบัติการเบื้อต้นที่จำเป็น เช่น การจดบันทึกการปัสสาวะ การตรวจปัสสาวะหรือระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแยกโรคอื่นๆ ที่มีอาการและอาการแสดงคล้ายกับโรคโอเอบีก่อน เพื่อให้แน่ใจว่าอาการของผู้ป่วยเกิดจากโรคโอเอบีจริงๆ จะเห็นได้ว่าการตรวจวินิจฉัยโรคโอเอบีไม่ได้น่ากลังแต่อย่างไร ดังนั้นเมื่อสงสัยว่าอาจเป็นโรคโอเอบีควรรีบไปพบแพทย์
          ปัจจุบันมีหลายวิธีในการรักษาโรคโอเอบีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
          1. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆ
          เช่น ลดการดื่มน้ำในกรณีที่ดื่มน้ำมากเกินไป งดการดื่มน้ำก่อนนอนและก่อนออกเดินทาง หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่กระตุ้นการขับปัสสาวะ เช่น แอลกอฮอลล์ ชาและกาแฟ ไม่อั้นปัสสาวะเวลานาน เป็นต้น
          2. การฝึกกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน
          การฝึกบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน เพื่อทำให้กล้ามเนื้อหูรูดของท่อปัสสาวะแข็งแรงขึ้น สามารถใช้รักษาโรคโอเอบีได้ แต่ต้องผ่านการฝึกอย่างถูกวิธีเท่านั้น ดังนั้นจึงควรซึ่งแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อแนะนำการฝึกที่ถูกต้อง
          3. การรักษาด้วยยา
          ยากลุ่ม Antimuscarinics เป็นยาหลักที่ใช้ในการรักษาโรคโอเอบี โดยการลดการบีบตัวที่ไวเกินของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ ทำให้อาการของโรคดีขึ้นอย่างชัดเจน แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น ปากแห้ง ตาแห้ง ท้องผูก บางรายอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ หรือง่วงซึมได้ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา
          4. การรักษาด้วยการกระตุ้นไฟฟ้า การฉีดสาร Botulinum toxinเข้าไปในกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ และการผ่าตัดต่างๆนั้นสงวนไว้เฉพาะในกรณีที่รักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้วไม่ประสพความสำเร็จเท่านั้น
          สุดท้ายนี้ขอเน้นอีกครั้งว่า โรคโอเอบีไม่ใช่โรคที่น่าอับอาย และไม่ได้เป็นแค่ตัวเราคนเดียว ยังมีอีกหลายล้านคนที่มีอาการเหมือนกับตัวเรา และโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยวิธีการต่างๆ ดังนั้นแค่กล้าที่ออกไปขอคำจากปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และรับการรักษาทีถูกต้อง ก็จะพบว่าได้คุณภาพชีวิตที่ดีกลับคืนมาอีกครั้ง สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร สายด่วน 1645 กด 2โรงพยาบาลธนบุรี 2 บริการด้วยน้ำใจ เอาใจใส่ดุจญาติมิตรพุทธมณฑลสาย 2 ถนนบรมราชชนนี Facebook.com/Thonburi2Hospital

มารู้จักโรคโอเอบีกันเถอะ

ข่าวโรงพยาบาลธนบุรี2+วสันต์ เศรษฐวงศ์วันนี้

วินิจฉัยแม่นยำ ปลอดภัย รักษาตรงจุด ด้วยเครื่อง MRI ที่โรงพยาบาลธนบุรี2

โรคที่สามารถวินิจฉัยด้วยเครื่อง MRI ได้มีอะไรบ้าง MRI สมอง เส้นเลือดในสมองตีบ สมองเสื่อม อัมพฤกษ์ MRI เส้นเลือด ตรวจดูเส้นเลือด การไหลเวียนของเลือด MRI กระดูกสันหลัง กระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกทับเส้น ปวดคอ MRI ช่องท้อง มะเร็งตับ เนื้องอกในช่องท้อง MRI กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ ข้อเข่าเสื่อม เนื้องอก โปรโมชั่นพิเศษลด 30% ตั้งแต่วันนี้จนถึง 31 ตุลาคม 2565 นี้เท่านั้น รายละเอียดเพิ่มเติม คลิก >> https://citly.me/sQ6lx หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์บริการ MRI โทร.02 487 2100 ต่อ 5510 Website: https:/

โรงพยาบาลธนบุรี2 บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดให... ห่วงใย ใส่ใจ ถึงบ้าน บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ นอกสถานที่ — โรงพยาบาลธนบุรี2 บริการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ 4 สายพันธุ์ นอกสถานที่ ราคาเริ่มต้น 6...

โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่มีอัตราการเสียช... หลอดเลือดสมองป้องกันได้ พบกับโปรแกรมคัดกรองโรคหลอดเลือดสมองที่โรงพยาบาลธนบุรี2 — โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตของคนไทยมากเป็นอันดับที่ 2 ส...

โรคอ้วน (Morbid obesity) คือภาวะที่ร่างกา... โรคอ้วน ผ่าตัดได้ ที่โรงพยาบาลธนบุรี2 — โรคอ้วน (Morbid obesity) คือภาวะที่ร่างกายมี BMI มากกว่า 30 kg/m2 เป็นภาวะที่พบมากในปัจจุบันผู้ป่วยที่เป็น...

ใครบ้างที่เสี่ยง โรคมะเร็งตับ ผู้ที่ดื่มแ... โรงพยาบาลธนบุรี2 ชวนมาเช็คความเสี่ยงโรคมะเร็งตับ พร้อมแพ็กเกจวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี — ใครบ้างที่เสี่ยง โรคมะเร็งตับ ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ผ...

หากสงสัยว่ามีอาการข้อเข่าเสื่อม เส้นเอ็นฉ... มีปัญหาข้อไหล่ ข้อเข่า ตรวจด้วยเครื่อง MRI พิเศษลด 15% ที่โรงพยาบาลธนบุรี2 — หากสงสัยว่ามีอาการข้อเข่าเสื่อม เส้นเอ็นฉีกขาด กระดูกหัก หรือกระดูกร้าว เครื่...

ขอแสดงความยินดีกับศูนย์สมองและระบบประสาท ... ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลธนบุรี2 เข้ารับรางวัล ANGELs Award 2021 — ขอแสดงความยินดีกับศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลธนบุรี2 นำทีมโดยนายแพทย์สมชาย ...

เมื่อวันที่ 12-14 ส.ค.65 โรงพยาบาลธนบุรี2... Kiss To Mom โรงพยาบาลธนบุรี 2 บริการตรวจสุขภาพฟรี พร้อมสิทธิพิเศษมากมายภายในงาน — เมื่อวันที่ 12-14 ส.ค.65 โรงพยาบาลธนบุรี2 ได้ออกบูธจัดกิจกรรมในงาน "Kiss...