เครือข่ายประชาสังคมเสนอรัฐใช้วิกฤตใบเหลืองอียูเพื่อฟื้นฟูทะเลไทยอย่างยั่งยืนโดยยกเลิกเครื่องมือประมงที่ทำลายล้างและหยุดนิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อน

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เครือข่ายภาคประชาสังคมที่ทำงานปกป้องทะเลไทย (1) ตั้งข้อสังเกตและเสนอทางออกกรณีคณะกรรมธิการยุโรป (EU) ขึ้นบัญชีประเทศไทยเป็นประเทศที่เข้าข่ายไม่ให้ความร่วมมือในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงานและไร้การควบคุม(IUU Fishing) โดยเครือข่ายภาคประชาสังคมระบุว่า การออกมาตรการแก้ไขของรัฐบาลนั้นเป็นเพียงมาตรการระยะสั้นที่ตอบสนองผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมประมงและอาหารทะเลขนาดใหญ่แต่เพียงอย่างเดียว และมิได้รับประกันว่าจะนำไปสู่การปลดใบเหลืองอียูได้อย่างถาวร ที่สำคัญ มาตราการเหล่านั้นได้ละเลยมิติของความยั่งยืนในการฟื้นฟูทะเลไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำประมงเกินขนาด การใช้เครื่องมือประมงที่ทำลายล้าง และการจัดการและเข้าถึงทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลอย่างเป็นธรรม
          ในวันที่ 21 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา คณะกรรมาธิการยุโรป(EU) แจ้งเตือนต่อรัฐบาลไทยอย่างเป็นทางการ (2) กรณีที่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการเพียงพอในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ไม่รายงานและไร้การควบคุม (IUU Fishing) โดยให้เวลา 6 เดือนในการดำเนินตามมาตรการในแผนปฏิบัติการ
          กรมประมงได้ออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย ไม่รายงาน และขาดการควบคุม (IUU) โดยตั้งทีมเฉพาะกิจควบคุมเรือประมงที่ออกจากท่าในพื้นที่ 22 จังหวัด และออกมาตรการ 6 ข้อในการจัดการปัญหาประมงไทยได้แก่ 1. การเร่งขึ้นทะเบียนเรือประมง และออกใบอนุญาตทำการประมง 2.การควบคุมและเฝ้าระวังการทำประมง 3.การจัดทำระบบติดตามตำแหน่งเรือ (VMS) 4.การปรับปรุงระบบการตรวจสอบย้อนกลับ 5.ปรับปรุงพระราชบัญญัติการประมงและกฎหมายลำดับรอง และ 6. จัดทำแผนระดับชาติในการป้องกันสินค้าไอยูยู
          ดร. สุภาภรณ์ อนุชิราชีวะ ผู้จัดการโครงการการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่ง มูลนิธิสายใยแผ่นดินได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวว่า "ด้วยเจตนารมณ์ของมาตรการการต่อต้าน IUU Fishing (combat IUU Fishing) และการที่ประเทศไทยได้ใบเหลืองจากสหภาพยุโรปในกรณีนี้ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาการจัดการประมงของประเทศไทยที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ทั้งในเรื่องการทำประมงผิดกฏหมาย การทำลายระบบนิเวศทางทะเล และความไม่โปร่งใสของแหล่งที่มาของสินค้าสัตว์น้ำ เป็นต้น ผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบควรใช้โอกาสนี้ในการสะสางปัญหาประมงไทยที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ยาวนานและนับวันจะรุนแรงมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเพื่อการแก้ปัญหาและให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างรับผิดชอบ เพื่อนำไปสู่ความอย่างยั่งยืนของระบบนิเวศและวิถีประมงไทยที่เปิดโอกาสการเข้าถึงทรัพยากรอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่แค่การตั้งเป้าหมายการแก้ปัญหาเพื่อการปลดล๊อคใบเหลืองเท่านั้น"
          เครือข่ายภาคประชาสังคมยังได้แสดงข้อกังวลถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะมีขึ้น เนื่องจากมาตรการแก้ไขของหน่วยงานรัฐบาลยังคงมองข้ามการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลของไทย
          “ประสบการณ์การทำงานอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งร่วมกับพี่น้องชุมชนประมงชายฝั่งมา 30 กว่าปี ผมพบว่าทะเลไทยเป็นแหล่งอาหารโปรตีนในธรรมชาติที่สำคัญสำหรับสังคมไทย ทั้งยังเป็นอาชีพและแหล่งรายได้ของผู้คนจำนวนมาก การเร่งการจดทะเบียนเรือหรือนิรโทษกรรมเรือประมงทำลายล้างเป็นการทำร้ายและทำลายทะเลไทย และเป็นการการทำลายวิถีชุมชน ทำลายอาชีพและความเป็นอยู่ของพี่น้องร่วมชาติอย่างเลือดเย็นที่สุด ทางออกต่อเรื่องนี้คือต้องลดจำนวนเรืออวนลากลงครึ่งหนึ่งตามที่กรมประมงทำวิจัยร่วมกับ FAO และเสนอรัฐบาลไว้เมื่อปี2547(3)” นายบรรจง นะแส นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทยกล่าว
          “เราควรดูแบบอย่างจากประเทศที่รอดพ้นจากใบเหลืองกรณีการประมงผิดกฎหมาย เช่น ฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย ที่ได้ปรับปรุงและพัฒนาการจัดการด้านการประมงโดยยึดหลักการทำงานร่วมกันระหว่างประชาสังคมและภาครัฐ กำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาภายใต้แนวคิดการจัดการอย่างมีส่วนร่วมโดยให้ความสำคัญกับประมงพื้นบ้านเท่ากับตัวเลขการส่งออกของประมงพาณิชย์ การแก้ไขปัญหาจำเป็นต้องทำทั้งระบบไม่ใช่เพียงแค่ส่วนใดส่วนหนึ่ง” อัญชลี พิพัฒนวัฒนากุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร
กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าว

เครือข่ายภาคประชาสังคมที่ทำงานปกป้องทะเลไทยมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้
1) ยกเลิกการใช้เครื่องมือประมงทำลายล้างรวมถึงอวนลาก อวนรุน ซึ่งทำลายแหล่งปลาและระบบนิเวศของทะเลไทย
2) ยุติการนิรโทษกรรมเรืออวนลากเถือนที่ล้างผลาญทะเลไทยและลดจำนวนเรืออวนลากลงครึ่งหนึ่งตามที่กรมประมงทำวิจัยร่วมกับ FAO และเสนอรัฐบาลไว้เมื่อปี 2547
3) ดำเนินการบังคับใช้กฎหมายประมงและกฎหมายที่เกี่ยวข้องทั้งระบบให้มีประสิทธิภาพ และยกระดับธรรมาภิบาลด้านการประมงเพื่อต่อกรกับการทำประมงเกินขนาดที่นำไปสู่ความเสื่อมโทรมของทะเลและมหาสมุทร
4) ใช้มาตรการทางกฎหมายอย่างจริงจังกับระบบการควบคุม ติดตามตรวจสอบรวมถึงมีการประสานงานเชิงนโยบายและการจัดการประมงในระดับภูมิภาคอย่างจริงจังเพื่อที่จะอุดช่องโหว่ของการทำประมงผิดกฎหมาย เช่น การขนถ่ายสินค้าจากการประมงนอกน่านน้ำกลางมหาสมุทร เป็นต้น

หมายเหตุ
(1) เครือข่ายภาคประชาสังคมประกอบด้วย 1. สมาคมรักษ์ทะเลไทย 2. มูลนิธิสายใยแผ่นดิน 3. สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย 4. องค์การอ็อกแฟมแห่งประเทศไทย 5.กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(2) http://europa.eu/rapid/press-release_IP-15-4806_en.htm
(3) http://www.rebyc-cti.org/downloads/doc_download/183-strengthening-the-capacity-in-fisheries-information-gathering-for-management-analysis-of-employment-opportunities-and-mobility-in-supporting-fishing-capacity-reduction

          ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างการเปลี่ยนแปลง ร่วมปกป้องและฟื้นฟูทะเลไทยได้ที่ www.greenpeace.or.th/s/call-for-Ocean-protection


ข่าวเครือข่ายภาคประชาสังคม+เรืออวนลากเถื่อนวันนี้

เครือข่ายประมงพื้นบ้านดักทางรัฐบาล ย้ำนิรโทษกรรมเรืออวนลากเถื่อนไม่ได้ช่วยปลดล็อกใบเหลืองอียู แต่กลับซ้ำเติมวิกฤตทะเลไทย

สมาคมสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านแห่งประเทศไทย ชาวประมงพื้นบ้านจากจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ระยอง สมุทรสงคราม สงขลาและเครือข่ายภาคประชาสังคมรวมกว่า 80 คน ร่วมยื่นจดหมายต่อนายกรัฐมนตรี พร้อมเรียกร้องมาตรการการจัดการปัญหาใบเหลืองประมง เนื่องจากมีข้อกังวลหลายประการในแผนการจัดการปัญหาประมงระดับชาติซึ่งยังไม่นำไปสู่การจัดการปัญหาอย่างยั่งยืนและเป็นธรรม ในวันที่ 21 เมษายน 2558 ที่ผ่านมา คณะกรรมธิการยุโรป (European Commission) แจ้งเตือนต่อรัฐบาลไทยอย่างเป็นทางการ กรณีที่ประเทศไทยยังไม่มีมาตรการเพียงพอ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจ... มจธ. จับมือ สำนักงานเขตทุ่งครุ จัดโครงการเปิดบ้าน เปิดคลอง เปิดวิถีบางมด ตอนที่ 5 — มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ร่วมกับ สำนักเขตทุ่งครุ ก...

สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (ส... สสส.ชื่นชมภาคีเครือข่าย ดึงเยาวชน ชุมชน สร้างพื้นที่ปลอดภัยป้องปรามยาเสพติด — สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก (สำนัก1) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้...

“รมช.วิวัฒน์” เยือนถิ่น จ.มหาสารคาม ปลุกภาคีเครือข่ายภาคประชาสังคม ผนึกกำลังประกาศเจตนารมณ์หนุนมหาสารคามสู่เมืองหลวงแห่งเกษตรกรรมยั่งยืนเพื่อลูกหลาน พร้อมตั้งเป้า 250,000 ไร่ ในปี '64

นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดงานประกาศเจตนารมณ์ "ขับ...

นศ. มรภ.สงขลา ทำเพจ 'สื่อสารออนไลน์เชิงบวก’ ปลุกพลังเยาวชนชายแดนใต้สร้างมิติแห่งสันติภาพ

นักศึกษา มรภ.สงขลา สร้างเพจสื่อสารออนไลน์เชิงบวก ชวนเพื่อนเยาวชนชายแดนภาคใต้แสดงพลังเพื่อสันติภาพผ่านเฟซบุ๊ก บอกเล่าเรื่องราวการอยู่ร่วมกันด้วยสันติ ดร.อาชารินทร์ แป้นสุข ผู้จัดการองค์กรพิเศษ...

ป.ป.ช. จัดอบรมผู้นำเครือข่ายภาคประชาสังคม กรุงเทพมหานคร ขยายแนวร่วมสร้างสังคมไม่ทนต่อการทุจริต

สำนักงาน ป.ป.ช. โดยสำนักป้องกันการทุจริตภาคประชาสังคมและการพัฒนาเครือข่าย กำหนดจัด โครงการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมในการป้องกันการทุจริต รุ่นที่ 2 กิจกรรมอบรมผู้นำเครือข่าย ป.ป.ช. ภาคประชาสังคม กรุงเทพมหานคร...