เมื่อเร็วๆ นี้ มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย องค์กรการกุศล ซึ่งเป็นผู้นำในการให้ความช่วยเหลือการจัดสวัสดิภาพสุนัขและแมวในประเทศไทย ได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจกับคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อร่วมกันพัฒนาหลักสูตร shelter medicine หรือ อายุรศาสตร์สัตว์เลี้ยงในสถานพักพิง ซึ่งจัดในหมวดวิชาทางเลือกสำหรับนักศึกษาสัตวแพทย์ชั้นปีสุดท้าย ซึ่งการเรียนการสอนจะจัดให้มีขึ้นที่ศูนย์พักพิงฯ ของมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย ในจังหวัดภูเก็ต โดยจะเป็นการเรียนรู้ทั้งทางภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ
วิชา Shelter Medicine หรือ อายุรศาสตร์สัตว์เลี้ยงในสถานพักพิงนั้น มีการเรียนการสอนกันอย่างแพร่หลายในโรงเรียนสัตวแพทย์ในประเทศแถบตะวันตก และนับเป็นหลักสูตรเฉพาะทางอีกแขนงหนึ่งเช่นกัน นี่ถือเป็นครั้งแรกที่จะมีการเรียนการสอนเกี่ยวกับหลักสูตรเฉพาะทางแขนงนี้ในประเทศไทย ดร.แคทเธอรีน พอลัค ผู้อำนวยการด้านสวัสดิภาพสัตว์ และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอายุรศาสตร์สัตว์เลี้ยงในสถานพักพิง จากมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย จะดำเนินการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับฝ่ายการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล
ดร.แคทเธอรีน กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อการพัฒนาในโครงการใหม่นี้ อายุรศาสตร์สัตว์เลี้ยงในสถานพักพิงนั้นแตกต่างจากเวชปฏิบัติในสาขาทางการสัตวแพทย์อื่นๆ ทั้งนี้ยังไม่มีการเรียนการสอนกันในโรงเรียนสัตวแพทย์ในแถบภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราจึงมีความประสงค์ที่จะแบ่งปันประสบการณ์และทักษะต่างๆ แก่นักศึกษา เพื่อพัฒนาความเข้าใจและความสามารถเกี่ยวกับศาสตร์แขนงนี้”
หมวดวิชาเลือกสำหรับนักศึกษาสัตวแพทย์ชั้นปีสุดท้ายจะใช้เวลาสามสัปดาห์ซึ่งจะต้องมีการหมุนเวียนกัน โดยทางมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยสามารถรองรับนักศึกษาได้คราวละ 10 คน โดยจะเริ่มหลักสูตรในช่วงปิดภาคการศึกษาในปี 2559 ที่ศูนย์พักพิงฯของมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยในจังหวัดภูเก็ต
ความร่วมมือในครั้งนี้ยังครอบคลุมถึงการพัฒนาโครงการฝึกอบรมสำหรับคณะสัตวแพทย์ ที่จะทำการคัดเลือกอาจารย์เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับอายุรศาสตร์สัตว์เลี้ยงในสถานพักพิง เพื่อให้สามารถจัดตั้งหลักสูตรของคณะฯได้ในอนาคต
ในที่สุด โครงการอายุรศาสตร์สัตว์เลี้ยงในสถานพักพิง จะเริ่มด้วยโครงการสัมนาเชิงปฏิบัติการเป็นเวลาสองวัน ซึ่งจะจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล ในระหว่างวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2558 นี้ ซึ่งจะสอดคล้องกับการประชุมของสมาคมสัตวแพทย์สัตว์เล็กโลก (World Small Animal Veterinary Association หรือ WSAVA) ซึ่งจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อสัตวแพทย์ชาวไทยซึ่งทำงานในศูนย์พักพิงสัตว์เลี้ยง อาจารย์จากมหาวิทยาลัย และตัวแทนจากสมาคม WSAVA
จอห์น ดัลลี่ ผู้ร่วมก่อตั้งและรองประธานกรรมการของมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอยกล่าวเสริมว่า: "นี่คือการพัฒนาในเชิงบวกและเกิดขึ้นหลังจากที่มีการประกาศใช้กฎหมายสวัสดิภาพสัตว์ฉบับแรกของประเทศไทย เรามีความยินดีอย่างมากที่ประเทศไทยจะเป็นผู้นำในด้านการจัดสวัสดิภาพสัตว์ในภูมิภาคนี้ และเราหวังว่าจะมีความร่วมมืออย่างดีกับมหาวิทยาลัยมหิดลในอนาคต "
นางภาวิณี รุ่งทนต์กิจ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม. กล่าวถึงความคืบหน้าการแก้ปัญหาสัตว์จรจัดบริเวณซอยช่างอากาศอุทิศ 5 แยก 2 ถนนช่างอากาศอุทิศว่า สนอ. ร่วมกับสำนักงานเขตดอนเมือง และตัวแทนคณะกรรมการแก้ไขปัญหาสุนัขและแมวในพื้นที่กรุงเทพฯ ได้ลงพื้นที่ร่วมกันแก้ไขปัญหา พร้อมประสาน มูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย ซึ่งเป็นเครือข่ายของ กทม. ตามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือด้านการจัดการประชากรสุนัขและแมวที่เป็นพาหะนำโรคพิษสุนัขบ้า โดยนำสุนัขจรจัดมาผ่าตัดทำหมันควบคุมจำนวนและส่งคืนพื้นที่เดิม ทำให้สุนัขจรจัด
ไปรษณีย์ไทยสานสัมพันธภาพคนและสัตว์เลี้ยงผ่านแสตมป์ที่ระลึก "วันรักสัตว์เลี้ยงโลก 2568"
—
ไปรษณีย์ไทยสานสัมพันธภาพคนและสัตว์เลี้ยงผ่านแสตมป์ที่ระลึก "วันรั...
กทม.แก้ปัญหาสุนัขจรจัดในหมู่บ้านทวีสุข-แจงแนวทางพิจารณานำสุนัขและแมวจรจัดเข้าศูนย์ควบคุมฯ
—
นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวกรณี...
กทม.บูรณาการความร่วมมือแก้ปัญหาสุนัขจรจัด-ออกหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่เชิงรุกครอบคลุม 50 เขต
—
นายสุนทร สุนทรชาติ ผู้อำนวยการสำนักอนามัย (สนอ.) กทม.กล่าวถึ...
อิมแพ็ค ปันน้ำใจมอบรักสู่สังคม
—
นางสาวจินตนา พงษ์ภักดี ผู้อำนวยการ สำนักงานฝ่ายสื่อสารองค์กร พร้อมด้วย นางสาวสุภาพร บุญขาว ผู้จัดการประชาสัมพันธ์ ...
ครั้งแรก! ซอยด๊อก จับมือกองทัพคุมหมาจรด้วย CNVR
—
กองพลพัฒนาที่ ๓ ร่วมกับมูลนิธิเพื่อสุนัขในซอย (มูลนิธิซอยด๊อก) จัดโครงการความร่วมมือในการควบคุมจำนว...
ฮานอย เมืองหลวงของประเทศเวียตนามประกาศยกเลิกการรับประทานเนื้อสุนัข ภายในปี 2564
—
หลังจากขั้นตอนทางกฎหมายที่ยาวนาน เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเลิกรับประทานเนื้...