“เยาวชนสงขลา” ผู้นำการเปลี่ยนแปลง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          มูลนิธิสยามกัมมาจล

          "เยาวชนสงขลา" พร้อมใจลุกขึ้นมาทำประโยชน์เพื่อบ้านเพื่อเมืองตัวเองโดยมีจิตสำนึกความเป็นพลเมืองอย่างเต็มเปี่ยม เหตุเพราะมีผู้ใหญ่ใจดีเปิด "โอกาส" และ "พื้นที่" ให้เยาวชนได้ออกมาอาสาทำโครงการเพื่อคลี่คลายปัญหาของชุมชน ภายใต้ โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา โดยสงขลาฟอรั่ม ที่ดำเนินการมาถึงปีที่ 3 โครงงานเยาวชนเข้มข้นสะท้อนผลสำเร็จเป็นพลังขับเคลื่อนสังคมได้จริง. โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา ดำเนินงานโดยสงขลาฟอรั่ม มีระยะเวลา 3 ปี (ตั้งแต่ปี 2555-2558) สนับสนุนโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มีเยาวชนเข้าร่วมโครงการแล้ว จำนวน 65 โครงการ สร้างพลังเยาวชนพลเมืองจำนวน 65 กลุ่ม เกิดแกนนำเยาวชน 384 คน กระจายใน 10 อำเภอ สำหรับโครงการในปีที่ 3 อยู่ในระหว่างดำเนินโครงการ

          นางพรรณิภา โสตถิพันธุ์ ผู้อำนวยการสงขลาฟอรั่ม กล่าวว่า "สำหรับภาพรวมโครงการเยาวชน 20 โครงการในปีนี้ เด็กมีความเข้มข้นขึ้น ชัดเจนขึ้น เด็กๆ เขาฟังกิตติศัพท์การทำงานโครงการของสยามกัมมาจลกับสงขลาฟอรั่มของเราและรู้ว่าเราทำจริงจัง เป็นที่ยอมรับมากขึ้น และรู้ว่าเราเปิดประเด็นกับชุมชน สังคม และได้ประโยชน์จริงๆ เขาเริ่มเข้ามาสมัครกับโครงการเรามากขึ้น เช่นเด็กกลุ่มที่ทำเรื่องผึ้ง เรื่องนายพรานโนราห์ที่มาจากพื้นที่ใกล้ทะเลสาป ส่วนประเด็นที่เยาวชนสนใจในปีนี้มีความหลากหลาย แต่เราจะระมัดระวัง 2-3 ประเด็น เช่นประเด็นขยะ ถ้ามารูปแบบเดิมๆ เช่น ธนาคารขยะ เก็บขยะเป็นขวดมาขายแบบนี้ เราจะไม่ให้ทำแบบนั้น ซึ่งกิตติศัพท์เรื่องขยะที่เราคิดมากนี้ ทำให้นักวิชาการ อาจารย์ ในม.สงขลา จากคณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มาเสนอตัวมาช่วยเรา 4-5 คน เราได้เปิดประเด็นขยะกับหาดทราย เพราะฉะนั้นเด็กเราจะถูกใช้แค่ไปเก็บขยะและมันไม่ลุ่มลึกเรื่องของความเป็นพลเมืองไม่ได้...
          ...สิ่งที่สำคัญเน้นงานเชิงเกิดคุณค่า อิมแพ็ค สังคม ชุมชนนั้นอย่างไร ในสองปีที่ผ่านมา เช่นกรณี ชุมชนบ่อนวัว เราจะหาอะไรที่ไปเสริมกับเช่นจิตวิทยากับเด็ก เราอาจจะมองเป็นเคสๆ ไป แต่ว่ามองจากผลงานในเชิงหนุนเราจะลึกขึ้นตลอดสามปีที่ผ่านมาหากเจาะลงไปดูประเด็นปัญหาที่เยาวชนแต่ละกลุ่มเลือกมาเป็นโจทย์โครงการ จะพบว่าล้วนเป็นปัญหาหลักๆ ของจังหวัดสงขลา และสังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ทั้งสิ้น ด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม หลายกลุ่ม เลือกโจทย์ปัญหาการบุกรุกทำลายป่าต้นน้ำ การกัดเซาะ และความเสื่อมโทรมของระบบนิเวศน์ชายหาด ปัญหาขยะ คูคลองเน่าเสีย ด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม หลายกลุ่มหาวิธีคลี่คลายปัญหาความยากจน และความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา รวมทั้งการอนุรักษ์สืบสานประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นมิให้สูญหาย เป็นต้น ด้านสุขภาวะหลายกลุ่มเลือกโจทย์ปัญหาด้านสุขภาพ และการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ เป็นต้น
          สิ่งที่น่าสนใจ คือ ด้วยความตั้งใจ และความพยายาม โครงการเล็กๆ ของเยาวชนหลายกลุ่มเกิดผลสำเร็จมากกว่าความคาดหมาย มีการขยายผลสู่การจัดการปัญหาในระดับที่กว้างขึ้น อาทิ โครงการหาดเพื่อชีวิต โดยกลุ่ม Beach For Life ทำโครงการศึกษาและเรียนรู้สภาพปัญหาการกัดเซาะหาดทรายและรักษาระบบนิเวศน์หาดทรายโดยนำไปสู่การลงนามในข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) เพื่อใช้ในการขับเคลื่อนธรรมนูญหาดระหว่าง เครือข่ายเยาวชนกับเทศบาลนครสงขลา และประกาศใช้ธรรมนูญฯ ท่ามกลางเยาวชน 9 สถาบันและประชาชนเป็นพยาน โครงการครูดิลิเวอรี่ โดยกลุ่มนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ม.ทักษิณ ทำให้โรงเรียนพังเภา โรงเรียนขนาดเล็กที่เข้าเกณฑ์ถูกยุบ กลายเป็นพื้นที่ต้นแบบในการจัดการเรียนรู้ให้โรงเรียนขนาดเล็ก และได้รับการ "ต่อยอด" สู่การจัดการหลักสูตร "ฝึกหัดครู" นอกห้องเรียนของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ โครงการ Smile by CD. โดยกลุ่ม CD.Share ม.ราชภัฎสงขลาสร้างพื้นที่ในชุมชนบ่อนเก่าที่เด็กๆเสี่ยงต่อภัยยาเสพติดโดยใช้พื้นที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กของชุมชนที่ถูกทิ้งร้าง เป็นพื้นที่จัดกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวตและปลูกฝังจิตสำนึกดีให้กับเด็กเพื่อสร้างเกราะป้องกันให้เด็กๆ ห่างไกลยาเสพติดทำให้เกิดการยอมรับของพ่อแม่ผู้ปกครอง โครงการห้องเรียนประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านบ่อทรัพย์ โดยกลุ่มจิตใสอาสา โรงเรียนบ่อทรัพย์ ศึกษาและพัฒนาพื้นที่ประวัติศาสตร์ในชุมชนบริเวณหลังโรงเรียนบ่อทรัพย์ ร่วมกับโรงเรียนและวัดเป็นห้องเรียนประวัติศาสตร์ชุมชนบ้านบ่อทรัพย์เพื่อสร้างจิตสำนึกรักและหวนแหนบ้านเกิด การดำเนินงานของกลุ่มทำให้เกิดการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับวัดต่างๆจนเป็นที่ยอมรับรวมทั้งเป็นมัคคุเทศก์นำเที่ยวตามเส้นทางประวัติศาสต์ชุมชนบ่อทรัพย์ เป็นต้น
          สิ่งที่สงขลาฟอรั่มพยายามปลูกฝังวิธีคิดให้เยาวชนโดยผ่านกระบวนการต่างๆ ตั้งแต่เริ่มสมัครเข้าร่วมโครงการจนถึงสิ้นสุดโครงการในระยะเวลา 6 เดือนให้มีทักษะชีวิต 5 ด้าน 1.ด้านการคิด วิเคราะห์วิจารณ์ คิดสร้างสรรค์ตัดสินใจและเชื่อมโยง 2.ด้านตระหนักรู้ในตน ความเห็นใจผู้อื่น ความภูมิใจในตน 3.ด้านการจัดการอารมณ์และความเครียด 4.ด้านการสื่อสารสาธารณะอย่างมีพลัง 5.ด้านการมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบต่อสังคมและจิตสำนึกพลเมือง สงขลาฟอรั่ม และมูลนิธิสยามกัมมาจล ตั้งเป้าหมายว่าเยาวชนจิตอาสาที่เข้ามาร่วมเรียนรู้และพัฒนาทักษะชีวิตและบ่มเพาะสำนึกความเป็นพลเมือง เยาวชนแกนนำกว่า 300 คนนี้ จะเติบโตเป็น "ผู้นำการเปลี่ยนแปลง" ริเริ่มทำงานสร้างสรรค์ชุมชนท้องถิ่นและสังคมอย่างต่อเนื่อง และสานพลังเป็น "เครือข่ายพลเมืองเยาวชนสงขลา" ที่เข้มแข็งของเมืองต่อไป ให้สมกับ"พลเมืองเยาวชนที่มีทักษะชีวิตในการส่งเสริมการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง" ตามวิสัยทัศน์พลเมืองเยาวชนสงขลาที่เราตั้งเป้าไว้#ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ www.scbfoundation.com
 

ข่าวมูลนิธิสยามกัมมาจล+มูลนิธิสยามกัมมาจวันนี้

เนคเทค สวทช. จับมือพันธมิตร ชูผลงานเยาวชน สร้างนวัตกรรม Project Based Learning ในโครงการ"ต่อกล้าอาชีวะ" ประจำปี 2564 (Agritronics @ R-Cheewa)

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (เนคเทค สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) พร้อมหน่วยงานพันธมิตร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมปิดโครงการ "ต่อกล้าอาชีวะ" ประจำปี 2564 (Agritronics @ R-Cheewa) โดยคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดพร้อมมอบโล่และเกียรติบัตรให้แก่ 15 ผลงาน ที่เข้าร่วมโครงการฯ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนค

5 เมษายน 2565 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขต... ติดอาวุธเด็ก Gen R ด้วยทักษะโรงงานอัจฉริยะ ในเวที IoT Hackathon 2022 พร้อมส่งต่ออุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC — 5 เมษายน 2565 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิ...

ก้าวผ่านโควิด-19 ร่วมสร้างการเรียนรู้วิถี... เสวนาออนไลน์ : ล็อกดาวน์ ไม่ล็อกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 บทเรียน "ครูสามเส้า" กรณีศึกษา เครือข่ายโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดสตูล — ก้าวผ่านโควิด-19...

เสวนาออนไลน์ การศึกษา ที่ ผู้บริหารโรงเรี... เสวนาออนไลน์ "ล็อกดาวน์ ไม่ล็อกการเรียนรู้" EP#2 : "สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างทุกคนให้เป็นครูกล้าเรียนรู้ด้วยตัวเอง"`- Inclusive Education — เสวนาออนไลน...

ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่เอ่ยถึงการศ... ชุมชนการเรียนรู้ "ครูเพื่อศิษย์" PLC-Coaching ครูและศิษย์ต้องไม่ตกหลุมการเรียนรู้แบบผิวเผิน — ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่เอ่ยถึงการศึกษาไทยซึ่งว่ากันว...

เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม หรือ ... สสส. หนุนพลังนิสิตนักศึกษาด้านการออกแบบสู่นักสื่อสารสุขภาวะรุ่นใหม่ ปักธงดึงสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศบูรณาการสหวิชาชีพพัฒนาสื่อเพื่อประเทศไทยน่าอยู่ — เครือข่ายมห...

“UNC The Exhibition” 26-28 ต.ค. ดิ เอ็มควอเทียร์

เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network For Change : UNC) ร่วมกับ สสส.สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย องค์กรภาคี ภาคประชาสังคม มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จัดนิทรรศการ "UNC...

จากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่จากการชำรุดขอ... ภาพข่าว: ไทยพาณิชย์ร่วมส่งความห่วงใยและความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยสปป.ลาว ส่งมอบเงินบริจาคจากประชาชน 4.4 ล้านบาทและธนาคารร่วมบริจาคอีก 1 ล้านบาท — จากเหตุการณ...

หากขณะนี้ประเทศไทยได้วางอนาคตให้กับเด็กรุ... “ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย 4.0 โดยผ่านเรื่องราวชุมชนท้องถิ่น” — หากขณะนี้ประเทศไทยได้วางอนาคตให้กับเด็กรุ่นใหม่ คือ อยากเห็นเด็กและเยาวชนเป็นต้นแ...

UNC ปี 5 เดินเครื่อง 12 มหาวิทยาลัยผนึกกำ... UNC ปี 5 สะท้อน“นักศึกษา” ยังสนใจปัญหาสังคมใกล้ตัว มูลนิธิสยามกัมมาจล — UNC ปี 5 เดินเครื่อง 12 มหาวิทยาลัยผนึกกำลัง จัดกระบวนพานักศึกษาร่วมเรียนรู้โจทย์จ...