33 อปท.นำร่อง “ชุมชนและท้องถิ่นจัดการตนเอง” ชูยุทธศาสตร์ “การมีส่วนร่วม-ใจติดชุมชน”

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          บทความมูลนิธิสยามกัมมาจล
          สารพัดปัญหาที่ถาโถมลงสู่ชุมชน ตำบล หมู่บ้าน โดยเฉพาะปัญหาเด็ก เยาวชน ที่ได้กลายเป็นปัญหาใหญ่ระดับชาติ ทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในพื้นที่โดยตรงเร่งหาวิธีแก้ไขปัญหานี้อย่างเร่งรีบ วันนี้มีตัวอย่างความสำเร็จของอปท.ที่ผ่าน "หลักสูตรนักถักทอชุมชน" มี HOW TO ที่นำมาแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด
          ในเวทีตลาดนัดความรู้ อปท : เชื่อมร้อย ถักทอ พลังท้องถิ่น เสริมสร้างพลังเยาวชน ภายใต้โครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น (4ภาค) หลักสูตรนักถักทอชุมชน เพื่อพัฒนาเด็ก เยาวชนและครอบครัว ดำเนินงานโดยสถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) มูลนิธิชุมชนท้องถิ่นพัฒนา สนับสนับโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มูลนิธิสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น (สพบ.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย ได้รวมอปท. 33 แห่ง 8 จังหวัด (จ.สุรินทร์,จ.สุพรรณบุรี,,จ.สมุทรสงคราม,อุทัยธานี,สิงห์บุรี,อ่างทอง,จ.นครศรีธรรมราช,จ.กระบี่) จำนวน 250 คน ที่เข้าร่วมหลักสูตรนักถักทอชุมชนทั้งปี 1 และ ปี 2 หลังดำเนินโครงการฯ มาเป็นระยะเวลา 2 ปี 8 เดือน เพื่อนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จในการขับเคลื่อนกลไกด้านการพัฒนาเด็ก เยาวชน ครอบครัวและชุมชน ระหว่างวันที่ 19-20 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ณ โรงแรมวาสิฏฐี ซิตี้ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี โดยมี ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประมูลนิธิสยามกัมมาจลให้เกียรติเป็นประธานในพิธี ภายในงานมีการมอบใบประกาศนียบัตรและโล่ประกาศเกียรติคุณให้แก่อปท.ที่เข้าร่วมอบรมอีกด้วย
          ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช กล่าวว่า "นักถักทอชุมชน ไม่ใช่แค่เป็นพี่เลี้ยงเยาวชนเพื่อพัฒนาเยาวชนในท้องถิ่นเท่านั้น แต่ทำหน้าที่ถักทอพลังในชุมชน เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่มาก การที่ในชุมชนท้องถิ่นสามารถมองเห็นสิ่งดีๆ ในชุมชนแล้วนำมาต่อเติมจนเกิดพลังเสริม เพราะถ้าเราไม่ระวัง เราจะมองเห็นแต่ปัญหาในชุมชน แล้วบ่นกันไปบ่นกันมาจนไม่เห็นทางออก แล้วท้อถอยจิตตก แต่นักถักทอชุมชนได้เข้าไปทำกระบวนการแล้วทำให้เห็นว่าพลังยังมีอยู่...เยาวชนไม่ใช่ที่อยู่ของ "ปัญหา" แต่เป็นที่อยู่ของ "พลัง" พวกเขาต้องการกระบวนการบางอย่างเข้าไปปลุกและเข้าไปเปลี่ยน หัวใจคือกลไกสำคัญที่สุดในท้องถิ่นต้องเป็นเจ้าของเรื่อง อปท.ต้องลุกขึ้นมาทำ จากการทำงานของนักถักทอที่ผ่านมาได้เห็นความเปลี่ยนแปลงแล้วว่า เด็กบางคน จากที่เคยเป็นเด็กเกเร เป็นตัวปัญหา เขาได้เปลี่ยนเป็นพลัง เป็นผู้สร้างสรรค์ ทำให้ประโยชน์ให้ชุมชนอย่างไร หัวใจสำคัญของการทำงานในโครงการคือ การเรียนรู้จากการลงมือทำ และต้องคิดแบบไตร่ตรองสะท้อนคิด ดังนั้น เวทีนี้ จึงเป็นการยกระดับการพัฒนาเด็กและเยาวชน และสรุปขยายผลเพื่อเสริมสิ่งที่ชุมชนทำให้มีพลังยิ่งๆ ขึ้นไป เป็นการร่วมกันแลกเปลี่ยนและคิดหาทางว่ายังมีอีกหลายหน่วยงานในชุมชนที่จะรวมพลังเข้ามาเพิ่มได้อีกอย่างไร ผ่าน 3 ส่วนคือ 1.เรียนรู้การพัฒนาเด็กและเยาวชน 2.เรียนรู้วิธีพัฒนานักถักทอชุมชน 3.เรียนรู้วิธีการเรียนรู้จากการลงมือทำร่วมกัน.."
          ภายในงานได้มีการเสวนาหัวข้อเรื่อง "บทบาทใหม่ของอปท.ด้านการพัฒนาเด็ก เยาวชน ครอบครัวและชุมชน" โดยมีผู้ร่วมเสวนาได้แก่ 1.คุณสุรพล เจริญภูมิ ผู้อำนวยการส่วนวิชาการ สถาบันพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย 2.ดร.รังสรรค์ มณีเล็ก รองเลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ 3. คุณเทพวัลย์ ภรณวลัย ผอ.กองส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 4.ผศ.ดร.บัญชร แก้วส่อง ผอ.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) 5.คุณทรงพล เจตนาวณิชย์ ผอ.สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.) จากการแลกเปลี่ยนในเวทีสรุปได้ใจความว่า "1.การขาดความร่วมมือของฝ่ายต่างๆ ในชุมชน 2.การทำงานในแนวดิ่งจากการสังงานของผู้บริหารไม่เหมาะกับการทำงานในปัจจุบันเนื่องจากสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น 3.การรับรู้เดิมแบบแยกส่วนเป็นอุปสรรคในการทำงาน
ซึ่งมีนักถักทอชุมชนร่วมสะท้อนบทบาทในครั้งนี้ด้วย ได้แก่ คุณพีระศักดิ์ มาตรศรี นายกองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย จ.สุพรรณบุรี "โจทย์สำคัญของอบต.คือทำอย่างไรให้คนในชุมชนมความสุข มีความรักและมีความสามัคคี สิ่งที่ตอบโจทย์ตรงนี้ได้คือการพัฒนาคน หลังจากส่งเจ้าหน้าที่ 5 คนเข้าร่วมหลักสูตร จึงได้หลักในการทำงานว่า "ต้องขยายเครือข่ายในองค์กรก่อน ด้วยการสร้างความเข้าใจให้บุคลากร เข้าใจวัตถุประสงค์ในการทำงานร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้งานพัฒนาขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน แบบเดินตาม คือ รู้ว่าเด็กต้องการอะไร เดินเคียงข้าง คือการนั่งคุยวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันกับเด็ก เยาวชนเพื่อให้รู้ปัญหาที่แท้จริง และเดินออกหน้า คือ การทำการบ้าน หาข้อมูลใหม่ๆ ไปเติมเต็มความรู้ ความเข้าใจและส่งเสริมให้เด็กลงมือทำ"
          คุณกานต์พิชญา ทำสวน อดีตนักถักทอชุมชน อบต.ไผ่กองดินที่นำวิชาติดตัวไปขยายผลที่อบต.เขากวางทอง จ.อุทัยธานี สะท้อนบทบาทนักถักทอว่า " การทำหน้าที่เป็นผู้เชื่อมร้อยคนอื่นให้มาทำงานพัฒนาชุมชนร่วมกัน สิ่งสำคัญต้องไม่ทำให้เขารู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นภาระ จากเดิมจะทำงานแบบบนลงล่าง คืออบต. กำหนดโครงการให้ชุมชนทำ โดยไม่เคยลงไปสอบถามความคิดเห็นหรือสอบถามว่าชุมชนมีปัญหาอะไรบ้าง เรียกได้ว่าเป็นการบังคับให้ทำ ในทางกลับกันหลักสูตรฯ นี้เปลี่ยนมุมคิดให้ทำงานโดยรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ ก่อนว่าเขาต้องการอะไร หากมีโครงการในลักษณะนี้เข้ามาในชุมชน ชุมชนมีความคิดเห็นอย่างไร อยากร่วมมือกันทำหรือไม่ เพราะอะไร โดยเปิดโอกาสให้ผู้นำชุมชนและชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจได้ด้วยตัวเอง"
          น้องมีน - สุภาวิดา แสงทอง แกนนำเยาวชนจากอบต.เมืองลีง จ.สุรินทร์ เผยถึงผลลัทธ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองว่า เมื่อผ่านกระบวนการอบรมและทำกิจกรรมกับหลักสูตร สิ่งที่ได้คือการพัฒนาตัวเอง เรื่องความกล้าแสดงออกและภาวะความเป็นผู้นำ "รุ่นพี่สามารถทำหน้าที่เป็นยุวกระบวนการนำน้องๆ ในชุมชนทำสันทนาการและเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาชุมชนได้ ทั้งนี้ การทำงานแต่ละครั้งกลุ่มเยาวชนจะมีการวางแผนงาน เข้าปรึกษาหารือกับพี่ๆ นักถักทอชุมชน ประชาสัมพันธ์ชักชวนน้องๆ ในชุมชนมาร่วมกิจกรรมและทำความเข้าใจกับผู้ปกครองของเด็กแต่ละคน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและสร้างความไว้วางใจกัน ทุกอย่างเริ่มจากเด็กคิดเองก่อน พึ่งพาตัวเองแล้วไปนำเสนอผู้ใหญ่ ไม่ต้องรอให้ผู้ใหญ่คิ เพราะเด็กเข้าใจเด็กกันเองมากที่สุด"
          อ.ทรงพล เจตนาวณิชย์ ผอ.สรส. กล่าวสรุปภาพรวมว่า "โครงการนี้ ช่วยส่งเสริมทั้งในแง่ของการปฏิรูปการศึกษาและการปฏิรูปการปกครองจากท้องถิ่น สนับสนุนให้ท้องถิ่นจัดการตัวเอง บทบาทของนักถักทอชุมชน คือ การทำหน้าที่ประสานงานให้ภาคส่วนต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกชุมชน เข้ามามีขับเคลื่อนกลไกการพัฒนาเด็กและเยาวชนร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นบ้าน วัด โรงเรียน ชุมชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคีเครือข่ายอื่น เพื่อสร้างจิตสำนึกและคุณธรรมจริยธรรม สร้างความรักความหวงแหนในชุมชนท้องถิ่น เสริมสร้างทักษะชีวิตและความรู้เชิงวิชาการให้เด็กและเยาวชนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในสังคม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ พึ่งพาตัวเองและดูแลครอบครัวได้ ผู้บริหารและนักถักทอชุมชน (1 พื้นที่ ประกอบด้วย นายกฯ ปลัด เจ้าหน้าที่ในอบต. จำนวน 5 คน) มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมาก มากกว่าที่เข้าใจกันอยู่ในปัจจุบัน อยากให้ทุกท่านเห็นความสำคัญของบทบาทตัวเอง เพื่อทำงานที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ"
          นอกจากนี้ ระหว่างการอบรมในหลักสูตรฯ "นักถักทอชุมชน"และ "สรส."ได้ร่วมกันวิเคราะห์ถึงตัวแปรที่แท้จริงที่ทำให้เด็กและเยาวชนกลายเป็นปัญหาในสังคมในปัจจุบันนี้ เพราะมีปัจจัยการเลี้ยงดูตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดาจนถึงช่วงวัยรุ่นและพบว่าสิ่งที่หล่อหลอมให้เด็กโตขึ้นเป็นเยาวชนคนดี คนเก่งที่ผู้ใหญ่ของประเทศนั้นมีปัจจัยที่สำคัญคือต้องเริ่มดูแลพัฒนาการเด็กตั้งแต่อยู่ในท้องแม่จนถึงช่วงวัยรุ่น โดยมี ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ที่ต้องร่วมกันสร้างสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเติบโต และอปท.ที่ได้ค้นพบ HOW TO ในการพัฒนาเด็ก และเยาวชน โดยการทำโครงงานที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กและเยาวชนโดยตรงนั้น ได้นำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในเป็น 4 ห้องย่อยตามช่วงวัย ดังนี้
          ห้องย่อยที่ 1 ห้องคุณแม่วัยใสและเด็กปฐมวัย นำเสนอตัวอย่างความสำเร็จ "ห้องเรียนพ่อแม่" โดย รพ.สต.มหาดไทย ต.ป่างิ้ว จ.อ่างทอง ,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ต.เมืองแก จ.สุรินทร์ ,อบต.หนองสาหร่าย จ.สุพรรณบุรี และเชิญนอกหลักสูตรมาเรียนรู้ด้วยได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.นาทอน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล (สกว.วิจัยเพื่อท้องถิ่น) และ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลหนองควาย จ.เชียงใหม่ สรุปประเด็นการขับเคลื่อนดังนี้ "...ครูต้องปรับวิธีคิด เปิดใจเรียนรู้และมีวิธีการทำงานแบบใหม่ ด้วยความเชื่อว่าทุกคนสามารถเป็นครูได้ ทุกภาคส่วนต้องเข้าไปมีบทบาทพัฒนาศักยภาพของครูในศูนย์การเรียนรู้ร่วมถึงพ่อแม่ด้วย โดยเฉพาะครูซึ่งใกล้ชิดกับผู้ปกครองเด็ก หลังจากพัฒนาตนเองแล้ว อาจต้องสวมบทบาทเป็นพี่เลี้ยงพาผู้ปกครองเรียนรู้และทำกิจกรรม ตามความถนัดและความสามารถของผู้ปกครองแต่ละคน ส่วนอปท.ต้องดูแลสนับสนุน การเชื่อมร้อยภาคีให้เข้ามามีส่วนร่วมในการทำงาน ทั้งในระดับชุมชนพื้นที่และส่วนกลาง"
          ห้องย่อยที่ 2 ประถมศึกษา นำเสนอตัวอย่างความสำเร็จ โดย โรงเรียนครอบครัว ทต.เมืองแก จ.สุรินทร์ ,โครงการพัฒนาเยาวชน ต.พลับพลาไชย อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี,โครงการพัฒนาเยาวชน ต.นิคมกระเสียว จ.สุพรรณบุรี และผู้ร่วมแลกเปลี่ยน ได้แก่ โรงเรียนบ้านกุดเสถียร (สกว.วิจัยเพื่อท้องถิ่น) ผลที่ได้จากการทำโครงการกับเยาวชนสรุปได้ดังนี้ "... เด็กเปลี่ยนพฤติกรรม เชื่อฟังนักถักทอชุมชน มีสัมมาคารวะและว่านอนสอนง่าย นักถักทอชุมชนเองก็มีความอดทนต่อพฤติกรรมที่ไม่น่ารักของเด็กในบางครั้งมากขึ้น..เด็กจากที่ไม่รู้จักกัน กลับมีความรักความสามัคคีมากขึ้น ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน เด็กสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ชุมชน เพราะเมื่อเด็กทำกิจกรรม ผู้ใหญ่ที่วางเฉยก็เริ่มหันมาให้ความสนใจและเริ่มเข้ามาให้ความร่วมมือมากขึ้นในกิจกรรมที่เด็กๆทำ จากเดิมผู้ใหญ่ต่างคนต่างอยู่ก็หันหน้าเข้าหากัน ยอมเสียสละเวลาร่วมประชุมหารือกับทีมแกนนำหรือมาให้กำลังใจขณะเด็กทำกิจกรรม"
          ห้องย่อยที่ 3 มัธยมศึกษา นำเสนอตัวอย่างความสำเร็จ โดยโครงการพัฒนาแกนนำเยาวชนต.หนองอียอ อ.สนม จ.สุรินทร์,โครงการพัฒนาเด็กและเยาวชน ต.เมืองแก อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ ,โครงการกีฬาตำบลเมืองลีง (เด็กกลุ่มเสี่ยงและเด็กนอกระบบ) อ.จอมพระ จ.สุรินทร์ และโรงเรียนครอบครัวในระดับมัธยม (โครงงานใบตอง-ขนมพื้นบ้าน) สรุปจุดรวมของการถอดบทเรียนจากการทำกิจกรรมดังนี้1.กิจกรรมที่จัดทำขึ้นต้องเป็นกิจกรรมที่เด็กอยากทำจริงๆ 2.การทำกิจกรรมเพื่อสังคมไม่ได้ทำให้เสียการเรียน 3.เมื่อผู้ใหญ่ในชุมชนเห็นความตั้งใจจริงของเด็กจึงเกิดความเชื่อมั่นและหันมาสนับสนุน 4.มีการถ่ายทอดความรู้จากรุ่นพี่สู่รุ่นน้อง และ 5.ให้ความสำคัญของการถอดบทเรียน
ผลที่เกิดขึ้น ทต.เมืองแก เด็กและเยาวชนมีความรู้ด้านอาชีพ (การทำขนมพื้นเมืองและการทำสปาใบตอง) ทำให้เด็กสามารถพึ่งพาตัวเองได้ เด็กมีรายได้เล็กๆ สะสมจากการทำกิจกรรม อบต.หนองอียอ สามารถลดจำนวนเด็กแว๊นกวนเมือง การทะเลาะวิวาทของเด็กต่างหมู่บ้านได้และการเพาะกล้าอ่อนทานตะวันได้สร้างอาชีพให้เด็กๆ และอบต.เมืองลีง ได้ชวนเด็กแว้นมาทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน "ถ้าเด็กเห็นคุณค่าในตัวเองและสิ่งที่ตัวเองทำได้ นั่นคือความสำเร็จอย่างหนึ่งของนักถักทอชุมชน"
          และห้องย่อยที่ 4 โมเดลประเทศ นำเสนอตัวอย่างความสำเร็จ โดย คุณสุรศักดิ์ สิงห์หาร ปลัดเทศบาลต.เมืองแก อ.ท่าตูฒ จ.สุรินทร์ ได้ขยายเนื้อหาของโมเดลประเทศที่กำลังขับเคลื่อนอยู่ในพื้นที่ว่า...ต้องให้มีเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปประจำในชุมชนนั้นก่อน โดยคัดเลือกคนในชุมชนเพราะรู้ปัญหาในพื้นที่ ขั้นตอนต่อไปคือการตั้งคำถามเพื่อวัดทัศนคติและวิธีคิดต่อการทำงานของท้องถิ่นว่า คาดวหวังอะไรกับการทำงานท้องถิ่น และทำไมประเทศต้องมีอบต.หรืออปท.เพื่อให้เขาสำรวจตัวเอง ปัจจุบันเมืองแกสนับสนุนโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนมาปีกว่าแล้วแผนงานต่อไปจึงวางเป้าขยายขอบเขตงานออไปสู่ชุมชน โดยใช้ฐานข้อมูลจากการทำงานร่วมกับชุมช ดำเนินงาน 10 หมู่บ้าน จาก 19 หมู่บ้าน "เปลี่ยนแผนปฏิบัติการในสำนักงาน ย้ายไปทำในหมู่บ้าน กลายเป็นแผนปฏิบิตการหมู่บ้านด้วยการนำแผนงานเข้าไปคุยกับผู้ใหญ่บ้าน โมเดลประเทศเข้ามาช่วยแก้ปัญหา เสมือนเป็นสนามทดลองงานในชีวิตจริงที่ทำให้คนในชุมชนแต่ละบทบาทหน้าที่ได้ใช้ศักยภาพของตัวเองเข้ามาช่วยเสริมงานชุมชน ด้วยการทำงานร่วมกัน แผนการทำงานที่ต้องวางอย่างชัดเจนต่อเนื่อง จะเป็นแรงกระตุ้นคนทำงานได้ ดังนั้น โมเดลประเทศช่วยให้ท้องถิ่นได้ฝึกคนของตัวเอง"
          นี่คือส่วนหนึ่งของตัวอย่างความสำเร็จ ที่หลักสูตรนักถักทอชุมชนได้มอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.) เพื่อให้อปท.ได้มี "เครื่องมือ" ในการสร้างการมีส่วนร่วมและบริหารจัดการให้"ชุมชนและท้องถิ่นสามารถจัดการตนเอง"ได้นั่นเองสำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของหลักสูตรนักถักทอชุมชนได้ที่ www.scbfoundation.com
 
 

ข่าวบทความมูลนิธิสยามกัมมาจล+องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นวันนี้

กรมอนามัย สุ่มตรวจคุณภาพน้ำประปาพื้นที่แม่อาย เชียงใหม่ ไม่พบการปนเปื้อนสารหนู และตะกั่วเกินมาตรฐาน

จากกรณีลำน้ำกกมีสีขุ่น และได้เก็บตัวอย่างน้ำผิวดินจากลำน้ำกก ส่งตรวจทางห้องปฎิบัติการโดยสำนักงานควบคุมมลพิษและสิ่งแวดล้อมที่ 1 เชียงใหม่ พบผลการตรวจน้ำผิวดินในลำน้ำกกปนเปื้อนสารหนูและตะกั่วเกินค่ามาตรฐาน นั้น แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมอนามัย ได้มอบหมายให้ ศูนย์อนามัยที่1 เชียงใหม่ ตรวจคุณน้ำประปาหมู่บ้าน โดยประสานความร่วมมือสำนักงานสาธารณสุขอำเภอแม่อาย และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ เก็บตัวอย่างน้ำประปาหมู่บ้าน 9 แห่ง พื้นที่อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ส่งตรวจทางห้องปฎิบัติการ

กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล... เปิดอบรมฟรี!! DCCE ผสาน TEI ส่งเสริมการจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ — กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม (DCCE) ผสานกำลั...

ปัญหาเด็ก เยาวชนที่องค์การบริหารส่วนตำบล(... เหตุผลที่ “เด็กเกเร” กลับใจ บทความมูลนิธิสยามกัมมาจล — ปัญหาเด็ก เยาวชนที่องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ทั่วประเทศกำลังเผชิญอยู่คือปัญหาพฤติกรรมเด็กเกเรเพิ่...

เหล่าเยาวชนบีบอยร่วมกันวอนผู้ใหญ่ ให้เห็น... วอนผู้ใหญ่หนุน“บีบอย” มองเป็นกีฬาสร้างวินัยให้กับเด็ก บทความมูลนิธิสยามกัมมาจล — เหล่าเยาวชนบีบอยร่วมกันวอนผู้ใหญ่ ให้เห็นความสำคัญของการเต้นบีบอย อยากให้...

บทความมูลนิธิสยามกัมมาจล BBOY ประเทศไทย ใ... เต้นเพื่อสานต่อ “บีบอย ป้อมพระสุเมรุ” หวั่นจะเหลือแค่เพียงตำนาน บทความมูลนิธิสยามกัมมาจล — บทความมูลนิธิสยามกัมมาจล BBOY ประเทศไทย ในนาม "ทีมพระสุเมรุ" ขอ...

“อบต.เมืองลีง” ไม่ทิ้งเด็กกลุ่มเสี่ยง ดึง“เด็กแว๊นกลับใจ” คืนความสุขให้ชุมชน

บทบาทหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบล หรืออบต. ที่เป็นการบริหารการปกครองส่วนท้องถิ่นที่เล็กที่สุด และมีความสำคัญต่อการพัฒนาเยาวชนเป็นอย่างยิ่ง จะทำอย่างไรให้เยาวชนในท้องที่ท้องถิ่นที่ตนเองดูแลอยู่เป็นเยาวชนที่ดี ...

จุดกระแสรักป่า“เยาวชนเมืองน่าน”

บทความมูลนิธิสยามกัมมาจล จ.น่าน ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงอันดับ 2 ของประเทศ ปลูกข้าวโพดในพื้นที่ลาดชั้นสูง (ที่มา : ผศ.ดร.เขมรัฐ เถลิงศรี งานวิจัยปี 2557) จากข้อมูลข้างต้นนี้ ทำให้คนเมืองน่านเกิดความตื่นตัวในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้ จึง...

ค่อนข้างหลงตัวเอง มีความเพ้อฝัน มีความเป็... ฝึกทักษะ“จิตวิทยาวัยรุ่นและการให้คำปรึกษา”ทำให้”คนทำงานกับเยาวชน”เข้าใจแบบง่ายๆ — ค่อนข้างหลงตัวเอง มีความเพ้อฝัน มีความเป็นอิสระ แต่ยังต้องพึ่งพาพ่อแม่ ย...

บทความมูลนิธิสยามกัมมาจล “ห้วยม้าลอย” ใช้กิจกรรม“ดำนา”สร้างความผูกพันในครอบครัว ผล “คนสามวัย” เกิดความรักและเข้าใจกันมากขึ้น

ครอบครัวไทยในยุค 2014 ความผูกพันสั่นคลอน กลายเป็นปัญหาใหญ่ทางโครงสร้างสังคมไทย พ่อ แม่ ลูก ปู่ ย่า ตา ยาย หันหลังให้กันคุยกันไม่รู้เรื่อง กลับกลายมาเป็นภาระของสังคมไม่ว่าเด็ก...