JACOB JENSEN ร่วมกับ มจธ. เปิดประสบการณ์ใหม่ เรียนดีไซน์ระดับ world class

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          สตูดิโอออกแบบผลิตระดับโลกสัญชาติเดนมาร์ก "JACOB JENSEN" ร่วมกับ คณะสถาปัตย์ มจธ. เปิดสตูดิโอดีไซน์แห่งแรกในอาเซียนจัดตั้งหลักสูตรแนวใหม่ Real life learning ยกระดับทักษะ Young Designer ในอาเซียนสู่ระดับโลกเปิดรับสมัคร ม.ค. 2559 นี้ 

          คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (KMUTT) ได้ร่วมมือกับ JACOB JENSEN DESIGN STUDIO (JJD) สตูดิโอออกแบบผลิตภัณฑ์ที่คว้ารางวัลระดับโลกสัญชาติเดนมาร์กที่โลดแล่นอยู่ในวงการดีไซน์เกือบ 60 ปี ปัจจุบันมีสตูดิโอออกแบบแล้ว 3 แห่งทั่วโลก โดยสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศเดนมาร์ก สำหรับอีก 2 แห่งในเอเชียมีจุดประสงค์เพื่อเปิดมุมมองให้กับวงการดีไซน์เนอร์ในเอเชีย คือ ประเทศจีน และล่าสุดเดินทางมาถึงประเทศไทยแล้วซึ่งยังถือเป็นแห่งแรกและ HUB ของอาเซียนอีกด้วย โดยได้ร่วมกับคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มจธ.จัดทำโครงการ International Professional Program (JACOB JENSEN Design | KMUTT Academy Program) พร้อมกับจัดตั้งสตูดิโอขึ้น ณ ชั้น 15 อาคารศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้เพื่อออกแบบและเทคโนโลยี (Knowledge exchange for Innovation Center) หรือศูนย์ KX ของ มจธ.บนถนนกรุงธนบุรี และเตรียมเปิดให้ผู้สนใจเข้าเรียนในโครงการฯ ราวต้นปี 2559 
          แต่หากกล่าวถึงในระดับเอเชียแล้ว JACOB JENSEN DESIGN STUDIO (JJD) จีน ถือเป็นรุ่นพี่ที่ได้รับโอกาสที่ดี ก่อนคนไทย Miss Danny Lee นักศึกษาชาวจีนที่ได้มีโอกาสเข้าเรียนกับ JACOB JENSEN DESIGN STUDIO ที่เซี่ยงไฮ้ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา เล่าให้ฟังว่า การเรียนที่สตูดิโอ JJD ต่างจากโรงเรียนสอนออกแบบที่เคยเรียนมา โรงเรียนในเอเชียครูมักจะสั่งให้ทำงานปริมาณมากๆ ทำงานหนักแต่งานไม่ดี แต่การเรียนที่ JJD สตูดิโอนั้นเปิดกว้างให้พยายามลองทำด้วยตัวเอง เป็นรูปแบบการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดความเชื่อมั่นในตัวเอง
          "รูปแบบการเรียนการสอนที่ JJD แตกต่างออกไปไม่เหมือนการเรียน แต่เหมือนเราเป็นนักเรียนที่มีหน้าที่เหมือนพนักงานฝึกหัดทุกประการจึงได้คิด ได้แสดงความเห็น และได้ลงมือทำทุกอย่างเหมือนเราเป็นส่วนหนึ่งของทีม ทำให้เรามีความเชื่อมั่นในตัวเอง JJD สร้างบรรยากาศให้เราสนุกกับงาน สนุกกับการใช้ชีวิต เชื่อมั่นว่าตัวเองมีคุณค่าและสามารถทำได้ดีพอ ความเชื่อมั่นเหล่านี้ มันจะส่งผลไปที่งานของเราเอง นอกจากนั้นสิ่งที่ได้อีกอย่างคือการสื่อสารภาษาอังกฤษ ช่วงแรกก็พูดได้แค่ yes, no, ok, thank you แต่ทุกคนในสตูดิโอให้โอกาส JJD มอง skill การออกแบบมากกว่าข้อจำกัดทางภาษา และพยายามช่วยเหลือให้เราได้ฝึกพูดบ่อยๆ เพราะงานดีไซน์เป็นงานที่ต้องมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันตลอดเวลาเพื่อสื่อสารสิ่งที่เราคิดให้คนในทีมรับรู้ ยอมรับว่าตอนที่เราพูดแต่ภาษาจีนเราก็จะเห็นแต่โลกของตัวเอง แต่การได้สื่อสารภาษาอังกฤษมันทำให้เราได้เห็นโลกที่กว้างขึ้นและเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศอื่นได้มากขึ้น ซึ่งก็ส่งผลมายังงานของเราอีกเช่นกัน"
          ทางด้าน Mr. Marijn Beije ในฐานะ Studio Managing Director ของ JACOB JENSEN DESIGN | KMUTT BANGKOK กล่าวเพิ่มเติมว่า การมาตั้งสตูดิโอที่ไทยนั้นแน่นอนว่าเหตุผลส่วนหนึ่งคือการขยายตลาด แต่จุดประสงค์หลักที่ควบคู่ไปด้วยคือการเข้ามาเป็นส่วนที่ช่วยในการพัฒนา Young Designer ของเอเชีย เป็นการเปิดมุมมองใหม่ พร้อมกับสร้างความมั่นใจให้ดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ได้มีโอกาสที่จะไปอยู่ในจุดต่างๆ ของสังคมและวงการดีไซน์มากขึ้นกว่าการที่จะทำงานอยู่แค่ในสตูดิโอเท่านั้น
"ดีไซน์เนอร์รุ่นใหม่ทั้งในไทยและเอเชียส่วนมากยังไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง ทำให้ไม่รู้ว่างานของตัวเองควรจะหยุดที่สเต็ปไหนจึงจะเรียกว่าสมบูรณ์แบบ สเต็ปไหนที่มันมากไป ฉะนั้นจะเห็นว่าดีไซเนอร์รุ่นใหม่ยังคิดแบบเดิมๆ ก็เพราะเขาถูกสอนด้วยระบบเดิมๆ งานจึงไม่พอดี ซึ่งนับเป็นปัญหาของระบบการศึกษาในเอเชียเหมือนกัน แต่คนที่มาอยู่กับเรา เราจะไม่ได้ตัดสินความสามารถหรือความเป็นตัวตนของคนๆ นั้นจากรูปที่เขาวาด แต่เราจะพิจารณาจากมุมมองหรือสิ่งที่เขาสื่อสารออกมาว่ามีความต่างและน่าสนใจอย่างไร Danny เองเป็นตัวอย่างของคนที่มีมุมมองที่น่าสนใจมาก พรสวรรค์ของ Danny คือการมองทุกอย่างรอบตัวในมุมที่ต่างออกไปจากคนอื่น ตอนนี้ Danny ได้เข้าทำงานเป็นส่วนหนึ่งของ JACOB JENSEN DESIGN STUDIO ที่เซี่ยงไฮ้แล้วถึงแม้ภาษาอังกฤษจะยังไม่ดีมากแต่ Danny มีมุมมองที่ชัดเจนและต่างจากคนอื่น แต่บางทีถ้า Danny ไปเป็น intern ที่เดนมาร์กอาจจะไม่ได้ร่วมงานกับ JJD เหมือนตอนนี้ก็ได้ เพราะ จุดประสงค์ของการตั้งสตูดิโอที่จีนกับไทยนั้นเน้นเพื่อเปิดโอกาสและพัฒนาดีไซน์เนอร์เอเชียมากกว่าการหาคนที่สมบูรณ์แบบอยู่แล้วเข้ามาทำงาน" 
          นอกจากนั้น Marijn ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ความแตกต่างของ JJD จากสตูดิโออื่นๆ คือไม่ว่าคุณจะเป็น Intern หรือ designer in house ถ้าสามารถสร้างผลงานที่มีมูลค่าให้กับสตูดิโอได้ JJD ก็จะให้เครดิตชื่อของคุณกับผลงานนั้นเสมอ และเมื่อใดที่สินค้าได้ออกจำหน่ายผู้เข้าร่วมโครงการมีโอกาสได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์จากค่าสิทธิทางปัญญา (Royalty Fee) จากการมีส่วนร่วมในการออกแบบ อย่าง Danny เองตอนนี้สินค้าทุกๆ ชิ้นที่ขาย Danny ก็จะได้ทั้งเครดิตและส่วนแบ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ต่างจากสตูดิโออื่นๆ อย่างมากที่เป็นที่ทราบกันดีว่า Royalty Fee ทั้งหมดต้องส่งคืนสู่สำนักงานใหญ่ในต่างประเทศ จึงเป็นเรื่องที่ดีหากสตูดิโอจะเข้าไปอยู่ในประเทศหนึ่งเพื่อที่จะเปิดมุมมองใหม่ๆ และยังสามารถแบ่งปันทั้งรายได้ ทั้งประสบการณ์และความรู้ให้กับคนในประเทศนั้นๆ ได้ 
          สุดท้าย Danny ได้ฝากถึงคนที่อยู่ในวงการดีไซน์เอเชียว่า "การเรียนกับ JJD ไม่ใช่แค่การเรียนการสอน แต่คือการร่วมทีมไปด้วยกัน พัฒนาตัวเองไปพร้อมกัน อยู่ที่นี่ไม่ว่าจะเป็นผู้บริหารหรือเด็กฝึกงานถ้ามีแนวคิดที่ดีพอ ทุกคนในทีมก็พร้อมที่จะยอมรับ นอกจากนั้นที่นี่สอนให้สนุกกับปัญหาที่เกิด รักในสิ่งที่ทำ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่ใช่การทำงานแต่เป็นการแสดงออกถึงความรักที่มีต่อดีไซน์"
          สำหรับนักศึกษาและผู้ที่สนใจเข้าร่วมกับ JACOB JENSEN DESIGN | KMUTT BANGKOK สามารถติดตามข่าวสารการรับสมัครได้ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2559 ที่จะถึงนี้หรือติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ [email protected]
JACOB JENSEN ร่วมกับ มจธ. เปิดประสบการณ์ใหม่ เรียนดีไซน์ระดับ world class
 
JACOB JENSEN ร่วมกับ มจธ. เปิดประสบการณ์ใหม่ เรียนดีไซน์ระดับ world class
 

ข่าวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี+มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวันนี้

คณบดี GMI เข้าร่วมประชุม UIIN 2025 ณ เยอรมนี แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระดับโลก ขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่บทบาทใหม่

รองศาสตราจารย์ ดร.ทวีศักดิ์ กฤษเจริญ คณบดีบัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม (GMI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เข้าร่วมการประชุมระดับนานาชาติ University Industry Innovation Network (UIIN 2025) ภายใต้หัวข้อ "Reimagining Universities for Talent, Innovation, and Impact" ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 มิถุนายน 2568 ณ ประเทศเยอรมนี โดยการประชุมครั้งนี้ถือเป็นเวทีสำคัญระดับโลกที่รวบรวมผู้นำด้านการศึกษาและอุตสาหกรรม เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิดการสร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยกับภาคส่วนต่าง ๆ

"ไข่ปลาคาเวียร์จากพืช" นวัตกรรมอาหารแห่งอนาคต ฝีมือนักศึกษา มจธ. คว้าเหรียญทองระดับชาติ พร้อมลุยต่อตลาดโลก

ท่ามกลางกระแสความต้องการอาหารแห่งอนาคตที่ใส่ใจทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อม กลุ่มนักศึกษาไทยจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) ได้สร้างนวัตกรรมโปรตีนทางเลือกใหม่ที่น่าจับตามองอย่าง "ส...

ภายใต้หัวข้อ "Unlock Your Next Level: ทาง... GMI จัดงาน Open House 2025 ครั้งที่ 3 — ภายใต้หัวข้อ "Unlock Your Next Level: ทางลัดสู่การเติบโต เริ่มต้นที่ ป.โท บริหารธุรกิจ" บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการ...

ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลว... มจธ.ขอเชิญส่งบทความเข้าร่วมงานประชุมวิชาการความรู้และการวิจัยเพื่อสังคมที่เท่าเทียม : KRIS2025 — ศูนย์ส่งเสริมและสนับสนุนมูลนิธิโครงการหลวงและโครงการตามพร...

นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธาน อินฟอร์มา มาร์... อินฟอร์มาร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือจัดการประชุมนานาชาติ "Future Move Forum" — นายมนู เลียวไพโรจน์ ประธาน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ ประเทศไทย ร่วมลงนามบั...

บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิท... GMI จัดอบรม ESG Data Analytics & Emerging Technology Leverage Data to Sustainable Growth — บัณฑิตวิทยาลัยการจัดการและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจ...