มาตรการกระทรวงการคลังสู่ปีทองแห่งการลงทุน 2559

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง มั่นใจว่าการลงทุนภาคเอกชนจะเข้ามาช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2559 เพิ่มเติมจากการใช้จ่ายภาครัฐและการท่องเที่ยว นอกจากนี้ ยังเป็นการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศผ่านการดึงดูดอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็นอนาคตของไทยและส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนของภูมิภาคโดยเฉพาะหลังจากการรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา กระทรวงการคลังได้ออกมาตรการเพื่อสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีรายละเอียด ดังนี้
          1. สิทธิประโยชน์เร่งรัดการลงทุนในปี 2559
          1.1 การหักค่าเสื่อมราคาได้ 2 เท่า ในปี 2559 สำหรับการใช้จ่ายเพื่อการลงทุนในทรัพย์สินใหม่ภายใน 31 ธันวาคม 2559 ได้แก่ เครื่องจักร ส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ยานพาหนะ และอาคารถาวร (ไม่รวมที่ดินและอาคารถาวรที่ใช้เพื่อการอยู่อาศัย)
          1.2 มาตรการเร่งรัดโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ ซึ่งเป็นการปรับปรุงกระบวนการขั้นตอนในการจัดเตรียมและพิจารณาโครงการ PPP จากเดิมที่ใช้เวลา 25 เดือน ให้เหลือ 9 เดือน
          2. สิทธิประโยชน์สำหรับการลงทุนในอุตสาหกรรมอนาคตของไทย (New Growth Engine) 
          2.1 สิทธิประโยชน์สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย
          - ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10-15 ปี
          - ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
          - เงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการลงทุน การทำวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม การพัฒนาบุคลากรเฉพาะด้าน และดอกเบี้ยเงินกู้ ผ่านกองทุน Competitiveness Enhancement Fund ขนาด 10,000 ล้านบาท
          2.2 การส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยยกเว้นภาษีสรรพสามิต อากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่ม และให้นำมูลค่ารถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ต้นแบบทั้งจำนวนมาหักค่าเสื่อมราคาได้ สำหรับการนำเข้ายานพาหนะต้นแบบเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา
          2.3 การหักค่าใช้จ่ายจากการวิจัยและพัฒนาได้ 3 เท่า ในช่วงปี 2558-2562
          2.4 Thailand Future Fund ซึ่งเป็นกลไกให้เอกชนได้ร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของรัฐ มูลค่าการระดมทุน 100,000 ล้านบาท
          3. สิทธิประโยชน์พิเศษสำหรับการใช้ประเทศไทยเป็นฐานการลงทุนในอาเซียน
          3.1 สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการจัดตั้งสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (IHQ) และบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (ITC) อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายได้จากการให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 10 สำหรับรายได้จากการให้บริการและค่าสิทธิที่ได้รับจากวิสาหกิจในเครือในไทย และการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้ผู้เชี่ยวชาญต่างชาติเหลือร้อยละ 15
          3.2 สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ) อาทิ การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือร้อยละ 10 สำหรับรายได้จากสินค้าและบริการที่เกิดขึ้นในพื้นที่พิเศษเป็นเวลา 10 ปี และการยกเว้นค่าธรรมเนียมการค้ำประกันสินเชื่อผ่านบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม

          ชุดมาตรการนี้ นอกจากจะเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจไทยในปี 2559 สามารถขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง ผ่านการลงทุนภาคเอกชนที่จะมาเป็นอีกหนึ่งเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เสริมเพิ่มขึ้นจากเครื่องยนต์การใช้จ่ายภาครัฐและการท่องเที่ยวที่เป็นกำลังหลักในปี 2558 และการบริโภคภาคเอกชนที่จะได้รับผลบวกจากความเชื่อมั่นที่ปรับดีขึ้นตามลำดับแล้ว การลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายและการดึงดูดการลงทุนโดยตรงที่มีคุณภาพจากต่างประเทศจะช่วยเพิ่มระดับการลงทุนของประเทศไทยที่ปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนรวมอยู่ที่เพียงร้อยละ 24 ต่อ GDP และอยู่ในระดับต่ำมาตั้งแต่วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ให้ก้าวขึ้นมาอยู่ในระดับที่ทัดเทียมกับการลงทุนของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค และยิ่งไปกว่านั้นจะเป็นการยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทยในอนาคต


ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง+ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนวันนี้

ม.ศรีปทุม ผนึกกำลังผู้เชี่ยวชาญ เรียนรู้ "การวางแผนบริหารจัดการทางการเงินและการคุ้มครองเงินฝาก" พัฒนานักศึกษาบัญชีให้เป็นมืออาชีพ

ผศ.ดร.ฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ คณบดีคณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม จัดกิจรรมส่งเสริมการเรียนรู้ ตามโครงการ เรียนกับตัวจริง ประสบการณ์จริง ในหัวข้อ "การวางแผนบริหารจัดการทางการเงินและการคุ้มครองเงินฝาก" โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ คุณบรรพชัย พุฑฒิบัณฑิต ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการคุ้มครอนงผลประโยชน์ทางการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง ,คุณปภินวิช ไหวดี เศรษฐกรชำนาญการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง และ คุณผกามาศ สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายส่ง

มาตรการช่วยเหลือลูกหนี้โดยบริษัทร่วมทุนระหว่าง SFIs และ บบส. (JV AMC) และมาตรการลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระให้แก่ลูกหนี้ตามนโยบายรัฐบาล

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2566...

ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภั... สมาคมประกันวินาศภัยไทย แสดงความยินดี ครบรอบ 62 ปี สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง — ดร.สมพร สืบถวิลกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ร่วมเป็นเกียรติและแสดงความยินดีเ...

ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนา... EXIM BANK เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการสมาคมสถาบันการเงินของรัฐ ครั้งที่ 4/2566 — ดร.รักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแ...

ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่... SME D Bank เข้าพบผู้บริหารกระทรวงการคลัง เนื่องในเทศกาลปีใหม่ 66 — ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ SME D Bank โดยนางสาวนาร...

ผลการจัดมหกรรมร่วมใจแก้หนี้"มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน" ครั้งที่ 3 จังหวัดเชียงใหม่

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การจัด "มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน" ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 16 18 ธันวาคม 2565 ณ...