บีโอไอเผยคลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วนเนื้อหอม กลุ่มยานยนต์ระดับโลกขยายการผลิตชิ้นส่วนขั้นสูงในไทย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          บีโอไอเผยนักลงทุนสนใจนโยบายซูเปอร์คลัสเตอร์อุตฯยานยนต์และชิ้นส่วน มั่นใจช่วยกระตุ้นให้ค่ายรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วนชั้นนำของโลกในไทยขยายการผลิต และช่วยดึงผู้ผลิตรายใหม่เข้าไทยมากขึ้น
          นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีนักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แสดงความสนใจและสอบถามถึงนโยบายส่งเสริมคลัสเตอร์จำนวนมาก โดยเฉพาะในกลุ่มซูเปอร์คลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน ซึ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ที่รัฐบาลและบีโอไอมุ่งเน้นส่งเสริมให้เกิดการผลิตโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยี ขั้นสูง เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้ทันกับโอกาสทางธุรกิจที่เพิ่มขึ้น
          ทั้งนี้ตามนโยบายส่งเสริมคลัสเตอร์ยานยนต์และชิ้นส่วน บีโอไอได้กำหนดกิจการ 15 ประเภทสำหรับกลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ที่เป็นกิจการที่มีผู้ผลิตน้อยรายและใช้เทคโนโลยีขั้นสูงอาทิ กิจการผลิตชิ้นส่วนระบบส่งกำลัง หรือเกียร์ กิจการผลิตชิ้นส่วนระบบความปลอดภัย หรือ ชิ้นส่วนถุงลมนิรภัย และกิจการผลิตชิ้นส่วนระบบเครื่องยนต์ เช่น Turbocharger เป็นต้น โดยผู้ผลิตต้องมีแผนการพัฒนาบุคลากรและเทคโนโลยีระหว่างภาคเอกชนและสถาบันการศึกษาของไทย
          "ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนในอาเซียน และเมื่อรัฐบาลมุ่งเน้นส่งเสริมคลัสเตอร์ที่มีความชัดเจนก็จะช่วยผลักดันให้การผลิตของอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนของไทยก้าวไปสู่ระดับแนวหน้าของโลกมากขึ้น และจะกระตุ้นให้นักลงทุนกลุ่มผู้ผลิตชิ้นส่วนชั้นนำของโลกเข้ามาลงทุนผลิตชิ้นส่วนใหม่ ๆ เพิ่ม จากปัจจุบันที่มีผู้ผลิต 100 อันดับแรกของโลกเข้ามาลงทุนตั้งฐานการผลิตในไทยแล้ว 57 ราย" นางสาวอัจฉรินทร์ กล่าว
          สำหรับโครงการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในช่วงปี 2557 – 2558 พบว่ามีหลายโครงการเป็นการผลิตชิ้นส่วนที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการผลิตรถยนต์ เช่น โครงการผลิตไส้กรองอากาศที่ทำจากเซรามิกส์ที่มีความละเอียดสูงมาก ของบริษัท NGK Ceramics ผู้ผลิตอันดับหนึ่งของโลกจากประเทศญี่ปุ่น โครงการผลิตอุปกรณ์กำเนิดก๊าซสำหรับถุงลมนิรภัยในรถยนต์ (Airbag Inflator) ของบริษัท DAICEL SAFETY SYSTEMS ซึ่งถือเป็นผู้ผลิต Airbag Inflator รายแรกในไทย และใช้ไทยเป็น 1 ใน 6 ประเทศที่เป็นฐานการผลิตทั่วโลก
          นอกจากนี้ยังมีโครงการผลิตเทอร์โบชาร์จเจอร์ ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผลิตชั้นนำของโลก 3 ใน 4 รายตั้งฐานการผลิตในไทย ได้แก่ IHI Turbo และMitsubishi Turbocharger Asia จากประเทศญี่ปุ่น และ Borgwarner จากสหรัฐอเมริกา
          โครงการผลิตเครื่องปรับอากาศสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ของบริษัท MSI Automotive ซึ่งจะเป็นการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ ช่วยลดการใช้พลังงานในระบบแอร์รถยนต์และช่วยให้รถวิ่งได้ระยะทางไกลมากขึ้น
          โครงการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับระบบความปลอดภัยในรถยนต์ อาทิ ระบบเบรก ABS ป้องกันไม่ให้ล้อล็อคเมื่อมีการเบรคฉุกเฉิน และระบบ ESC ซึ่งเป็นระบบควบคุมการทรงตัวของรถไม่ให้เสียหลักขณะเข้าโค้งหรือพื้นถนนลื่น ของบริษัท ROBERT BOSCH AUTOMOTIVE TECHNOLOGIES
          สำหรับการผลิตเครื่องยนต์ก็มี โครงการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลรุ่นใหม่ขนาด 1,900 ซีซี ของบริษัท อีซูซุ ที่มีแรงบิดเท่ากับเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2,500 ซีซี ทำให้ประหยัดน้ำมันได้มากกว่า และมีน้ำหนักเบา ซึ่งถือเป็นการผลิตแห่งแรกของโลกในประเทศไทย
ในด้านผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับยาง มีโครงการผลิตยางสำหรับอากาศยานของบริษัท มิชลิน และโครงการผลิตชิ้นส่วนยางสำหรับรถยนต์ และยางสายพานสำหรับรถยนต์ ของบริษัท บริดจสโตน ซึ่งโครงการของทั้งมิชลินและบริดจสโตนที่มีการลงทุนในไทยมานานและได้ขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งช่วยดึงกลุ่มบริษัทในเครือเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นด้วย
          ในส่วนยานยนต์ประเภทอื่นๆ ที่ใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก ได้แก่ โครงการผลิตรถแทรกเตอร์แบบ TRACK-TYPE TRACTOR สำหรับงานก่อสร้าง งานเหมือง ของบริษัท แคทเธอร์พิลลาร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ CATERPILLAR ประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้ผลิตเครื่องจักรอุปกรณ์สำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การก่อสร้าง การทำเหมือง ป่าไม้ เรือ อันดับต้นๆ ของโลก โครงการนี้จะผลิตรถแทรกเตอร์ ขนาด 150-400 แรงม้า รายแรกในประเทศไทย และใช้ไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก
          สำหรับการผลิตรถจักรยานยนต์นั้น ปัจจุบันผู้ผลิตรายใหญ่ชั้นนำของโลกต่างใช้ไทยเป็นฐานการผลิตรถจักรยานยนต์ขนาดใหญ่ตั้งแต่ 248 ซีซี ขึ้นไป ได้แก่ บริษัท ไทรอัมพ์ บริษัท คาวาซากิ บริษัท ดูคาติ
          ขณะนี้ บีโอไออยู่ระหว่างชักชวนกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ระดับโลกอีกหลายรายให้เข้ามาลงทุนในไทยภายใต้นโยบายส่งเสริมคลัสเตอร์ยานยนต์ ซึ่งคาดว่าในช่วงต้นปี 2559 น่าจะมีโครงการสำคัญๆ ยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนเพิ่มเติมอีก


ข่าวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย+ซูเปอร์คลัสเตอร์วันนี้

ชาวจุฬาฯ ต้องห้ามพลาด! งาน 106 ปี คืนเหย้า ฟังเพลงเพลิน เดินจุฬาฯ

ชาวจุฬาฯ ต้องห้ามพลาด! งาน 106 ปี คืนเหย้า ฟังเพลงเพลิน เดินจุฬาฯ สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดงาน แถลงข่าว CHULA 106 คืนเหย้า ฟังเพลงเพลิน เดินจุฬาฯ เนื่องในโอกาสครบรอบ 106 ปีแห่งการสถาปนา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปมทอง มาลากุล ณ อยุธยา รองอธิการบดีจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย คุณอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย นายกสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคุณยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยว

สมาคมนิสิตเก่าจุฬาฯ จัดยิ่งใหญ่ "ปิยมหาราชานุสรณ์ 2565" ระดมทุนช่วยนิสิตขาดแคลนเฉียด 20 ล้านบาท

ทุกปีในวันที่ 23 ตุลาคมจะมีการจัดกิจกรรมสำคัญ ปีนี้ก็เช่นกันสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (สนจ.) นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานปิยมหา ราชานุสรณ์ 2565 พร้อมด้วย...

นางสาว อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย (ที่ 9 จาก... มรภ.สวนสุนันทาส่งมอบหุ่นยนต์สวัสดีพยาบาล ให้โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข — นางสาว อัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย (ที่ 9 จากซ้าย) ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐก...

นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระ... กระทรวงดิจิทัลฯ จัดงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงฯ ครบรอบ 6 ปี — นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานในพิธีจุ...

เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 นางสาวอัจฉริน... ดีอีเอส ปลื้มรับโล่รางวัลองค์กรส่งเสริมคนดี คนเก่ง คนกล้าในชุมชน สังคม และประเทศ — เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 นางสาวอัจฉรินทร์ พัฒนพันธ์ชัย ปลัดกระทรวงดิ...