กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้วิพากษ์มติคณะรัฐมนตรีในวันที่ 15 ธันวาคม 2558 (1) ที่เห็นชอบส่งร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพฯ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับไปพิจารณาปรับปรุงกฎหมายว่าเป็นการแก้ปัญหาแบบขอไปที พร้อมเสนอให้รัฐบาลยืนยันมติ ครม. เดิมที่ห้ามการปลูกพืชจีเอ็มโอในแปลงเปิดที่จะนำไปสู่การค้าเชิงพาณิชย์ของพืชจีเอ็มโอในประเทศไทย รวมถึงพิจารณายกระดับการคุ้มครองผู้บริโภคเรื่องอาหารจีเอ็มโอในทันที (2) ทั้งนี้ เพื่อรับประกันสิทธิในการกำหนดวิถีการทำเกษตรกรรม การบริโภค การผลิตและการจำหน่ายอาหารและสิทธิในการปกป้องสิ่งแวดล้อม ภูมิทัศน์ทางธรรมชาติ มรดกทางวัฒนธรรม เมล็ดพันธุ์ การพัฒนาชุมชน และอนาคตทางเศรษฐกิจของชุมชนในประเทศไทย
การส่งร่างพ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพฯ ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกลับไปพิจารณาปรับปรุงกฎหมายเป็นผลมาจากการขับเคลื่อนครั้งใหญ่ของภาคประชาชน องค์กรภาคประชาสังคม ภาคการเกษตร ภาคธุรกิจและอาหารกว่า 125 องค์กร เพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัติความปลอดภัยทางชีวภาพพร้อมกันกว่า 46 จังหวัดทั่วประเทศในวันที่ 9 ธันวาคมที่ผ่านมา รวมถึงการแสดงพลังบนสื่อสังคมและการร่วมลงชื่อคัดค้านออนไลน์
นายวัชรพล แดงสุภา ผู้ประสานงานด้านอาหารและเกษตรกรรมเชิงนิเวศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวว่า
"ตราบใดที่การร่าง พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพยังตกอยู่ในมือของกลุ่มผลประโยชน์เพียงหยิบมือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการครอบงำของบริษัทเมล็ดพันธุ์และบริษัทข้ามชาติ ร่าง พ.ร.บ.ที่จะมีการทบทวนใหม่ก็ไร้ประโยชน์และไม่จำเป็น
กรีนพีซยืนยันตามข้อเรียกร้องร่วมของเครือข่ายภาคประชาชน ผู้ประกอบการภาคเกษตรและอาหารที่ให้แต่งตั้งตัวแทนของกลุ่มผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากจีเอ็มโอ ตัวแทนจากเกษตรกรและผู้ประกอบการด้านเกษตรอินทรีย์ องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรสาธารณประโยชน์ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและเกษตรอินทรีย์ และนักวิชาการด้านกฎหมายที่ได้ติดตามประเด็นความปลอดภัยทางชีวภาพ เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการปรับปรุงร่างกฎหมายอย่างน้อยกึ่งหนึ่งในคณะกรรมการปรับปรุงร่างฯ โดยนำหลักการป้องกันไว้ก่อน การคำนึงถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตามพิธีสารว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพและพิธีสารเสริมนาโงยา-กัวลาลัมเปอร์ว่าด้วยการรับผิดและชดเชยความเสียหายมาเป็นหลักการสำคัญในการปรับปรุงร่างกฎหมาย และให้นำความเห็นของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และกระทรวงพาณิชย์ รวมทั้งปรับปรุงเนื้อหาที่บกพร่องให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น"
ในวันที่ 11 ธันวาคมที่ผ่านมา ศาลสูงของฟิลิปปินส์มีคำสั่งห้ามการทดลองภาคสนามมะเขือยาวสีม่วงจีเอ็มโออย่างถาวร และให้ยุติการอนุมัติแผนงานต่างๆ ในการใช้ นำเข้า จำหน่าย และ แพร่กระจายของพืชจีเอ็มโอรวมทั้งนำเข้าผลิตภัณฑ์จีเอ็มโอทุกชนิดเป็นการชั่วคราว (3)"ผู้นำรัฐบาลและผู้กำหนดนโยบายต้องมีความกล้าหาญและเจตจำนงทางการเมืองที่ในการปกป้องอธิปไตยทางอาหารและสิทธิขั้นพื้นฐานในการจัดการทรัพยากรทางชีวภาพของชุมชน รวมถึงการคุ้มครองผู้บริโภค ขณะนี้ ฟิลิปปินส์ได้เรียนรู้จากความผิดพลาดในอดีต และหลายประเทศทั่วโลกมีนโยบายปลอดจีเอ็มโอที่ชัดเจน (4)" นายวัชรพล กล่าวเสริม
กรีนพีซ ทำงานรณรงค์เพื่อเกษตรกรรมเชิงนิเวศซึ่งให้ความสำคัญกับอธิปไตยทางอาหาร ผลประโยชน์ต่อเกษตรกรและชุมชนในชนบท การเลือกปลูกพืชอย่างชาญฉลาด ความหลากหลายทางชีวภาพ ความยั่งยืนของคุณภาพดินและน้ำ การกำจัดศัตรูพืชด้วยกลไกทางนิเวศ และระบบอาหารที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (5) เราเชื่อมั่นว่านี่คือทางออกของปัญหาเกษตรกรรมและสิ่งแวดล้อมที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่
หมายเหตุ
(1) http://www.thaigov.go.th/index.php/th/government-th1/item/98407-98407.html
(2) ฉลากจีเอ็มโอในประเทศไทย มีมานานตั้งแต่ปีพ.ศ. 2545 ครอบคลุมอาหาร ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีจีเอ็มโอ เพียง 2 ชนิดคือถั่วเหลืองและข้าวโพดใน 22 รายการ และยอมรับให้มีการตกค้างของวัตถุดิบที่มีจีเอ็มโอ ร้อยละ 5 เนื่องจากในสมัยนั้นห้องทดลองของประเทศไทย สามารถตรวจสอบการตกค้างจีเอ็มโอได้เพียงร้อยละ 3 ทำให้เรายอมรับการตกค้างมากถึงร้อยละ 5 แต่ปัจจุบันอาหารและสินค้าที่มีในจีเอ็มโอ มีมากขึ้น นอกเหนือจากถั่วเหลืองและข้าวโพดแล้ว ยังมีมะละกอ มันฝรั่ง และปลาแซลมอน
http://www.consumerthai.org/2015/index.php/news/ffc-news/530-ถึงเวลาปรับปรุงฉลากจีเอ็มโอ. html
(3) http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/releases/Philippines-Supreme-Court-bans-development-of-genetically-engineered-products/
(4) http://www.gmo-free-regions.org/fileadmin/files/gmo-free-regions/full_list/List_GMO-free_regions_Europe_update_September_2010.pdf
(5) http://www.greenpeace.org/seasia/th/press/reports/Food-and-Farming-Vision/
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นำโดย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปกท.ทส.) พร้อมด้วย นายสุรชัย อจลบุญ อธิบดีกรมป่าไม้ และผู้แทนจากกรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการต่างประเทศ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รวมถึง นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้
อบก. จับมือ กกท. ลงนาม MOU ร่วมรณรงค์ลดก๊าซเรือนกระจก ดันกิจกรรมด้านกีฬาสู่รูปแบบ Carbon Neutral Event ผ่าน 4 องค์กรกีฬา
—
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระ...
"Electronic Nose" นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน ยกระดับจัดการปัญหากลิ่นเหม็น
—
นายแพทย์ธิต...
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งบริหารจัดการน้ำถึงมือประชาชน มุ่งฟื้นฟูวิกฤตภัยแล้ง จ.ร้อยเอ็ด
—
ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพย...
29 พันธมิตร รัฐ-เอกชน-การศึกษา หนุนใช้ประโยชน์ขยะอาหาร ชูเว็บไซต์ "ฟู้ดเวสต์ฮับ" เสิร์ฟไอเดียธุรกิจใหม่จากงานวิจัยคนไทย
—
สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ก...
รอยัล คลิฟ พัทยา ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านสิ่งแวดล้อม กับการคว้ารางวัล G-Green ระดับดีเยี่ยม
—
รอยัล คลิฟ โฮเต็ล กรุ๊ปได้รับตราสัญลักษณ์ G-Green โรงแรมที่เป...
อ.อ.ป. รับเกียรติบัตร "องค์กรพัฒนาคุณธรรม ประจำปี 2567"
—
นายประสิทธิ์ เกิดโต รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (รษก.ผอ.อ.อ.ป.) เป็นผู้แทนปลัด...