ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวว่า การผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ ซึ่งมีมูลค่าหนี้สูงที่สุดตั้งแต่หลังวิกฤติการณ์เศรษฐกิจปี 2540 จะส่งผลให้สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นและสะท้อนถึงความเสี่ยงในด้านผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์จากสภาวะแวดล้อมการดำเนินงานที่อ่อนแอ
อย่างไรก็ตามผลกระทบจากการผิดนัดชำระหนี้ของกลุ่มบริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) หรือ SSI ต่อคุณภาพสินทรัพย์ของระบบธนาคารพาณิชย์ยังคงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ และอาจจะยังไม่ได้เป็นสัญญาณที่บ่งชี้ชัดว่าคุณภาพสินทรัพย์อาจปรับตัวแย่ลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 2 -3 ไตรมาสข้างหน้า
เมื่อปลายเดือนกันยายน 2558 SSI ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของประเทศไทย ได้ประกาศว่าบริษัทจะหยุดการผลิตในโรงงานของบริษัทลูกที่ประเทศอังกฤษและจะเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้สินกับเจ้าหนี้ เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ธนาคารเจ้าหนี้ต้องจัดชั้นสินเชื่อของกลุ่ม SSI เป็นสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ โดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ('BBB+'/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) และธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB ('BBB'/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) เป็นธนาคารที่ได้รับผลกระทบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทั้ง 2 ธนาคารมียอดสินเชื่อคงค้างของกลุ่ม SSI รายละประมาณ 2.2 หมื่นล้านบาท
แม้ว่าสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ดังกล่าวจะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ แต่ทั้ง 2 ธนาคาร ยังคงมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงในด้านอัตราส่วนเงินกองทุนและอัตราสำรองหนี้สูญที่ยังคงอยู่ในระดับที่สมเหตุสมผล เมื่อเทียบกับอันดับเครดิตปัจจุบันของธนาคารทั้ง 2 แห่ง นอกจากนี้ในกรณีของ SCB ธนาคารจะขายเงินลงทุนเพื่อทำกำไรในไตรมาสที่ 3 ปี 2558 (ซึ่งรวมการขายเงินลงทุนในบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)) มูลค่าประมาณ 7-8 พันล้านบาท ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากค่าใช้จ่ายในการสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญที่เกี่ยวข้องกับกลุ่ม SSI ที่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1 – 1.1 หมื่นล้านบาท สำหรับในกรณีของ KTB อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทสของ KTB มีปัจจัยสนับสนุนมาจากการสนับสนุนจากภาครัฐ เนื่องจาก KTB มีสถานะเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐแห่งเดียวในประเทศไทย ซึ่งปัจจัยดังกล่าวไม่ได้รับผลกระทบจากการผิดนัดชำระหนี้ของกลุ่ม SSI
บริษัทขนาดใหญ่ของไทยได้มีการขยายการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้กลุ่มบริษัทดังกล่าวและธนาคารพาณิชย์ที่ให้การสนับสนุนทางด้านสินเชื่อมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในส่วนของการดำเนินธุรกิจที่บริษัทอาจจะยังไม่คุ้นเคย อย่างไรก็ตามฟิทช์เชื่อว่ากรณีของ SSI น่าจะเป็นกรณีที่มีแตกต่างจากกรณีทั่วไปในระดับหนึ่ง ในเชิงของภาคอุตสาหกรรม ภูมิศาสตร์ และโครงสร้างทางการเงินของกลุ่มลูกหนี้ และเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อคุณภาพสินทรัพย์ของลูกหนี้สินเชื่อธุรกิจรายใหญ่ของไทยโดยรวม
ฟิทช์ได้พิจาณาถึงความเสี่ยงจากการปรับตัวแย่ลงของคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ไทยในปี 2558 ไว้ในอันดับเครดิตของธนาคารพาณิชย์ไทยแล้วในระดับหนึ่ง เนื่องจากสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่อ่อนแอ ทั้งนี้ฟิทช์ยังคงคาดว่าคุณภาพสินทรัพย์โดยรวมอาจปรับตัวแย่ลงอีกอย่างค่อยเป็นค่อยไป และสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของระบบธนาคารพาณิชย์จะปรับตัวเพิ่มขึ้นอีกในช่วง 6 -12 เดือนข้างหน้า กลุ่มลูกหนี้ที่จะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นมากที่สุดคือกลุ่มลูกหนิ้สินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) เนื่องจากเป็นกลุ่มที่จะมีความเปราะบางต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจและบรรยากาศการดำเนินธุรกิจที่ซบเซา
ธนาคารพาณิชย์ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตโดยฟิทช์ โดยรวมยังคงมีผลประกอบการที่ดีในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยในช่วงเวลาดังกล่าวธนาคารเหล่านี้มีระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่งขึ้นและได้มีการสะสมสำรองส่วนเกินเพื่อรองรับความเสี่ยงจากวัฏจักรเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวได้สะท้อนในแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพของธนาคาร
คอลเลคเชียสซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ไม่มีหลักประกัน จำนวน 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากบริษัทสินเชื่อผู้บริโภคในประเทศไทย การเข้าซื้อครั้งนี้ทำให้คอลเลคเชียสมีสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในประเทศไทยเพิ่มเป็น 581 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นส่งผลให้สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ขยายตัวเพิ่มขึ้น คอลเลคเชียส (Collectius) พันธมิตรชั้นนำด้านการปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงินในเอเชีย ทำข้อตกลงเข้าซื้อสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ (NPL) ในประเทศไทยเพิ่มอีก 42 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (1.48 พันล้านบาท) ซึ่งประกอบด้วยสิน
กรุงศรี รายงานกำไรสุทธิของปี 2563 จำนวน 23,040 ล้านบาท พร้อมเงินสำรองที่แข็งแกร่ง
—
กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) และบริษัทในเครือ) รายงานผล...
ธอส. เดินหน้าพัฒนาคุณภาพสินทรัพย์ ขาย NPL มูลหนี้ 1,012 ล้านบาท ให้ BAM รับบริหาร
—
วันนี้ (14 ธันวาคม 2561) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ บริษัทบริหารส...
ธอส. เทขาย NPL มูลหนี้ 6,971 ล้านบาท BAM รับบริหารต่อพร้อมเร่งเจรจาลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้
—
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเท...
BAM รับบริหารต่อพร้อมเร่งเจรจาลูกค้าปรับโครงสร้างหนี้
—
วันนี้ (17 ตุลาคม 2560) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) และ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด...