เมื่อลูกน้อยเป็นโรคเท้าปุก...ต้องรีบปรึกษาแพทย์ก่อนสายเกินแก้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          "โรคเท้าปุก" เป็นการผิดรูปของเท้าในเด็กแรกเกิดที่พบบ่อยที่สุดชนิดหนึ่ง โดยมีโอกาสพบได้ประมาณ 1 ใน 1,000 ของเด็กแรกคลอดอาจแตกต่างกันไปเล็กน้อยตามเชื้อชาติ โดยรูปร่างเท้าจะมีลักษณะผิดรูปหลายอย่างร่วมกันแต่อาจสังเกตได้โดยมีลักษณะฝ่าเท้าบิดเข้าด้านใน ปลายเท้าโค้งเข้าและส้นเท้าจิกลง
          โรคเท้าปุกนี้เป็นที่รู้จักและสนใจกันมาเป็นเวลานานแล้วโดยเราอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ โรคเท้าปุกแท้และโรคเท้าปุกเทียม ซึ่งอาจแยกคร่าวๆ ได้โดยดูจากความรุนแรงของความผิดปกติที่พบ 
          
โดยโรคเท้าปุกเทียม จะพบว่าความผิดรูปของเท้ามีลักษณะนิ่ม เพียงการดัดเบา ๆ ก็จะเห็นเท้าคืนรูปได้ เท้าปุกชนิดนี้เท้าไม่ได้มีความผิดปกติที่เกิดกับโครงสร้างของเท้าที่แท้จริง สาเหตุเชื่อว่าอาจเกิดจากการที่เด็กขดตัวอยู่ในท้องแม่เป็นเวลานานหรืออาจหาสาเหตุไม่พบเลย เท้าปุกแบบนี้สามารถหายเองได้หรืออาจใช้เพียงการเขี่ยเท้าเพื่อกระตุ้นให้เด็กขยับเท้าก็เพียงพอ 
          ส่วนโรคเท้าปุกแท้นั้น ความผิดปกติของรูปร่างเท้าจะรุนแรงกว่า เห็นได้ชัดเจนและแข็งไม่สามารถดัดให้เท้าคืนกลับมาอยู่ในรูปร่างปกติได้ เท้าปุกแบบนี้ไม่สามารถหายเองได้จำเป็นต้องได้รับการรักษา เพราะหากทิ้งไว้จะก่อให้เกิดความผิดปกติหรือความพิการถาวรเกิดขึ้นได้ การแยกเท้าปุกทั้งสองแบบออกจากกันจึงมีความสำคัญหากไม่แน่ใจควรปรึกษาศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อในเด็ก
          วิธีการรักษาโรคเท้าปุก
          การรักษาโรคเท้าปุกมีการพัฒนามายาวนาน มีทั้งการรักษาแบบผ่าตัดและไม่ผ่าตัด ในปัจจุบันวิธีการรักษาที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดคือคือการรักษาโดยวิธีแบบ Ponseti หลักของการรักษาแบบนี้คือการดัดแก้ไขความผิดรูปของเท้าทีละน้อยร่วมกับการใส่เฝือก โดยต้องเปลี่ยนเฝือกทุก 1-2 สัปดาห์และทำการดัดเท้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอาจจะประมาณ 6-8 ครั้งขึ้นกับความรุนแรง จนได้รูปเท้ากลับมาใกล้เคียงปกติ และมักจะต้องร่วมกับการเจาะยืดเอ็นร้อยหวายในการใส่เฝือกครั้งสุดท้าย หลังจากเท้าได้รูปที่ดีแล้วยังคงต้องใส่อุปกรณ์ช่วยดัดเท้าในเวลาที่เด็กนอนหลับต่ออีก 3-4 ปีเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ การรักษาโดยวิธีนี้ควรเริ่มรักษาให้เร็วที่สุดจะได้ผลดีกว่า
          แม้อาจฟังดูแล้วยุ่งยากและใช้เวลาแต่ก็เป็นวิธีที่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีและมีผลเสียน้อยที่สุดโดยเฉพาะถ้าเทียบกับการผ่าตัดที่อาจทำให้เกิดผลข้างเคียงเช่นแผลเป็นที่แข็งและเจ็บหรือความเสื่อมของข้อต่อในเท้าก่อนเวลา การผ่าตัดจึงจะทำในรายที่จำเป็นเท่านั้น 

          นพ. ปวริศร สุขวนิช

          ศัลยแพทย์กระดูกและข้อในเด็ก 
          โรงพยาบาลเวชธานี ลาดพร้าว 111
เมื่อลูกน้อยเป็นโรคเท้าปุก...ต้องรีบปรึกษาแพทย์ก่อนสายเกินแก้

ข่าวโรงพยาบาลเวชธานี+โรคเท้าปุกวันนี้

รพ.เวชธานี รับคณะผู้บริหาร DJS#2 ดูงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์

ดร.นพ.ตุลวรรธน์ พัชราภา (ที่4จากซ้าย)ผู้อำนวยการปฏิบัติการ โรงพยาบาลเวชธานี ให้การต้อนรับ พร้อมบรรยายพิเศษ หัวข้อ "Vejthani Digital Transformation" ให้กับคณะผู้บริหารที่เข้าร่วมอบรมหลักสูตร ดิจิทัลจั๊มสตาร์ท (Digital Jumpstart) รุ่นที่ 2 จำนวน58 คนนำโดย ดร.ปรีสาร รักวาทิน (ที่5จากซ้าย) ผู้ช่วยผู้อำนวยการ (กลุ่มงานส่งเสริมการประยุกต์ใช้ดิจิทัล)สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล อาทิ พ.อ.ไท ชาญกล , ผศ.ดร.สุธาทิพย์ มณีวงศ์วัฒนา ,แพทย์หญิงวีริศา วิมลเฉลา เป็นต้น เพื่อศึกษาดูงานการใช้ประยุกต์ใช้เทคโน

ดร.นพ.ตุลวรรธน์ พัชราภา (ที่5จากซ้าย)ผู้อ... รพ.เวชธานี รับคณะผู้บริหาร CEO#6 ดูงานการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ — ดร.นพ.ตุลวรรธน์ พัชราภา (ที่5จากซ้าย)ผู้อำนวยการปฏิบัติการ โรงพยาบาลเวชธานี ให้...

"OneDee.ai สุดยอดนวัตกรรม HR Chatbot เจ้า... OneDee.ai ผู้นำด้าน HR Chatbot สำหรับองค์กร Enterprise — "OneDee.ai สุดยอดนวัตกรรม HR Chatbot เจ้าเดียวในไทย" ด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชันบนมือถือ ที่ลงเวลาเข้...

ดร.ชาคริต ศึกษากิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหา... คณะผู้บริหารดิจิทัล ซีอีโอ รุ่นที่ 3 ศึกษาดูงาน รพ.เวชธานี — ดร.ชาคริต ศึกษากิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ ดร.นพ.ตุลวรรธน์ พัชราภา ผู้อำนวยการปฏิบัติการ ...

เมื่อกลางดึก วันที่ 20 พฤศจิกายน นักร้องล... “จ๊ะ อาร์สยาม” ทรุด ! หามส่ง รพ. หมอชี้ “ลำไส้อักเสบ” เจ้าตัวหวั่นกระทบงาน — เมื่อกลางดึก วันที่ 20 พฤศจิกายน นักร้องลูกทุ่งสาวสุดเซ็กซี่ "จ๊ะ อาร์สยาม" ห...