กลุ่มศรัทธาต่างๆ ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้มีการปลดอาวุธนิวเคลียร์อย่างเร่งด่วน ณ กรุงเจนีวา

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม องค์กรต่างๆที่มีความศรัทธาหลากหลาย ได้ออกแถลงการณ์ร่วมอันทรงพลัง ว่าด้วยความจำเป็นทางศีลธรรมและจริยธรรมในการล้มล้างอาวุธนิวเคลียร์ ในขณะที่การประชุม 2016 UN Open-ended Working Group (OEWG) รอบที่สอง ซึ่งเป็นการเจรจาระดับพหุภาคีเพื่อปลดอาวุธนิวเคลียร์ ที่กำลังจัดขึ้นที่กรุงเจนีวาในระหว่างวันที่ 2-13 พฤษภาคม

          แถลงการณ์ดังกล่าวมีใจความว่า "อาวุธนิวเคลียร์นั้นขัดต่อค่านิยมต่างๆตามหลักความเชื่อของเรา นั่นคือ สิทธิในการมีชีวิตอยู่อย่างปลอดภัยและสมศักดิ์ศรี ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีและความเป็นธรรม หน้าที่ในการปกป้องผู้ที่อ่อนแอกว่า และการปกปักรักษาโลกใบนี้ไว้ให้แก่ลูกหลานรุ่นต่อๆไป" 

          แถลงการณ์ดังกล่าวได้มีการยื่นให้แก่นายธานี ทองภักดี เอกอัครราชทูตไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ผู้ดำรงตำแหน่งประธาน OEWG เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม เพื่อเรียกร้องให้ทาง OEWG ให้ความสำคัญกับผลกระทบด้านมนุษยธรรมของอาวุธนิวเคลียร์ และให้ทุกประเทศมีส่วนร่วมในการปลดอาวุธนิวเคลียร์ รวมถึงผลักดันให้มีการบังคับใช้กฎหมายตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อยับยั้งและกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดของนานาชาติ

          ทั้งนี้ PAX, โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล (SGI) และสภาคริสตจักรโลก (WCC) คือสามองค์กรหลักที่ดำเนินการจัดทำร่างแถลงการณ์ในชื่อ "กลุ่มศรัทธาต่างๆวิตกกังวลเกี่ยวกับผลกระทบด้านมนุษยธรรมอันเกิดจากอาวุธนิวเคลียร์"

          ฮิโรซึกุ เทราซากิ กรรมการบริหารฝ่ายสร้างสันติภาพและกิจการทั่วโลกของ SGI แสดงความเห็นว่า "เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การหารือในที่ประชุม OEWG จะปูทางไปสู่จุดเริ่มต้นแห่งการสิ้นสุดยุคอาวุธนิวเคลียร์"

          ซูซี่ ชไนเดอร์ ผู้จัดการโครงการปลดอาวุธนิวเคลียร์ของ PAX กล่าวเสริมว่า "เราสนับสนุนให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเริ่มต้นจากการวางรากฐานด้านคุณธรรม จริยธรรม และมนุษยธรรม จุดยืนของเราในการต่อต้านอาวุธนิวเคลียร์จำเป็นต้องชัดเจนมากกว่าแค่คำพูด และต้องมีการบังคับใช้กฎหมายเพื่อกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ให้หมดไป"

          ดร.เอมิลี่ เวลตี้ รักษาการผู้ประสานงานคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศของ WCC อธิบายถึงจุดยืนขององค์กรว่า "ความเชื่อและศรัทธาจากก้นบึ้งของหัวใจบอกให้เราปฏิเสธข้ออ้างที่ว่าโลกของเราจะมั่นคงปลอดภัยถ้ามีอาวุธนิวเคลียร์ แท้จริงแล้วอาวุธนิวเคลียร์เป็นการใช้ทรัพยากรของโลกในทางที่ผิดและเป็นบาปเป็นกรรม"

          ขณะนี้ มีบุคคลและกลุ่มบุคคล 33 รายที่ได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ดังกล่าว สามารถอ่านแถลงการณ์ฉบับเต็มได้ที่ http://www.sgi.org/content/files/resources/ngo-resources/OEWG-Joint-Statement.pdf 

          แถลงการณ์นี้มีเนื้อหาต่อเนื่องจากแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยผลกระทบด้านมนุษยธรรมอันเกิดจากอาวุธนิวเคลียร์ฉบับก่อนๆ ซึ่งแถลงที่กรุงวอชิงตันดีซี (เมษายน 2014) กรุงเวียนนา (ธันวาคม 2014) และนิวยอร์ก (พฤษภาคม 2015)

          บุคคลและกลุ่มศรัทธาต่างๆ ที่ประสงค์จะร่วมลงนามสนับสนุนแถลงการณ์นี้ กรุณาส่งอีเมลมาที่ y-matsuoka [at] soka.jp

          Open-ended Working Group (OEWG) จัดตั้งโดยสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ตามมติเมื่อเดือนธันวาคม 2015 ว่าด้วยการผลักดันกฎหมาย บทบัญญัติ และบรรทัดฐานที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างและปกป้องโลกที่ปราศจากอาวุธนิวเคลียร์ การประชุมนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2016

          ที่มา: โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล

          ติดต่อ: ยูโกะ โอชิมะ
          ผู้ประสานงานโครงการ
          ฝ่ายสันติภาพและสิทธิมนุษยชน
          โซคา งักไก อินเตอร์เนชั่นแนล
          โทร. +81-80-5957-4710
          อีเมล: y-matsuoka [at] soka.jp

          AsiaNet 64288


ข่าวนิวเคลียร์+กรุงเจนีวาวันนี้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ทรงเป็นองค์ประธานลงนามความร่วมมือระหว่าง ซินโครตรอนไทย กับ เซิร์น หวังสานต่อความร่วมมือด้านวิชาการให้เป็นรูปธรรม

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นองค์ประธานในการลงนามกรอบความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ศาสตราจารย์ นาวาอากาศโท ดร.สราวุฒิ สุจิตจร ผู้อำนวยการสถาบันฯ กับองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป หรือ เซิร์น (The European Organization for Nuclear Research- CERN) สมาพันธรัฐสวิส โดย ศาสตราจารย์ รอฟ ไดเอเตอร์ ฮอยเออร์ ผู้อำนวยการใหญ่องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (เซิร์น) ณ กรุงเจนีวา ประเทศสมาพันธรัฐสวิส เมื่อวันที่ 17

จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แมกนิจูด เ... รู้เท่าทันก๊าซเรดอน ภายหลังเหตุแผ่นดินไหว อาจารย์วิศวฯ นิวเคลียร์ จุฬาฯ แนะตรวจปริมาณเรดอนที่อาจแทรกผ่านรอยแยกอาคารได้ — จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 8.2 แม...

กว่าจะมาถึงจุดนี้ไม่ง่ายเลย .... สำหรับคว... โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก SMR ก้าวหน้าไปถึงไหนกันแล้ว — กว่าจะมาถึงจุดนี้ไม่ง่ายเลย .... สำหรับความ "กล้า" ของประเทศที่ต้องการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าที่ต้องการ...

"เล็กพริกขี้หนู" หรือ "จิ๋วแต่แจ๋ว" คงเป็... SMR โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กที่ทรงพลัง — "เล็กพริกขี้หนู" หรือ "จิ๋วแต่แจ๋ว" คงเป็นนิยามของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ SMR (Small...

"ภาวะโลกร้อน...ถึงเวลาที่พลังงานฟอสซิลต้อ... นิวเคลียร์ พลังงานที่เหมือนจะเลือนหายไป แต่ทำไมเริ่มกลับมาชัดเจนในปัจจุบันและอนาคต ? — "ภาวะโลกร้อน...ถึงเวลาที่พลังงานฟอสซิลต้องเริ่มนับถอยหลังแล้วจริงหร...

คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสถาบันเทคโ... คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ จัดโครงการ "พุทธศิลป์ พุทธศึกษา จากพระพุทธปฏิมาสู่การอนุรักษ์" — คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ ...

นางปริญดา มาอิ่มใจ รองกรรมการผู้จัดการใหญ... GPSC ร่วมแสดงความยินดีในโอกาสสนับสนุนเยาวชนไทย คว้าเหรียญรางวัลวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์โอลิมปิกวิชาการ ครั้งแรกของโลก — นางปริญดา มาอิ่มใจ รองกรรมการผู้จัดกา...

อดีตประธานาธิบดีคาซัคสถานกล่าวปราศรัยที่อัสตานา คลับ เผยความต้องการเร่งด่วนในการผ่อนคลายความตึงเครียดทางนิวเคลียร์

เมื่อวันที่ 11-12 ธันวาคม เมืองหลวงของคาซัคสถานได้จัดการประชุมครั้งที่ 7 ของอัสตานา คลับ (Astana Club) ซึ่งนำผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกมารวมตัวกัน เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นเร่งด่วนระดับโลก ...

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดก... สจล. ลงนาม MOU ร่วมกับ Ultra Safe Nuclear Corporation (USNC) มุ่งศึกษาวิจัยนวัตกรรมด้านพลังงานนิวเคลียร์ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รองรับอนาคต — สถาบันเทคโน...