SMR โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กที่ทรงพลัง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

"เล็กพริกขี้หนู" หรือ "จิ๋วแต่แจ๋ว" คงเป็นนิยามของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ SMR (Small Modular Reactor) สำหรับคนที่รู้จัก SMR แล้ว

SMR โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กที่ทรงพลัง

แต่สำหรับคนที่ไม่รู้จัก SMR มาก่อนอาจจะสงสัยและกังวลขึ้นมา เพราะชื่อโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ "ภาพจำที่ชัดเจน" ของประสบการณ์ในอดีตคงย้อนกลับมาอย่างรวดเร็วว่าเกิดเหตุการณ์อะไรกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์กันบ้าง ซึ่งการเกิดเหตุการณ์ในอดีตเป็นยุคของการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีมาตั้งแต่ 3 ยุคแล้ว ยุคที่ 1 โปโตไทป ยุคที่ 2 ประมาณปี 1970 ยุคที่ 3 ประมาณปี 2000 และยุค SMR คือยุค 3 + ที่ได้พัฒนาเทคโนโลยีให้มีความปลอดภัย และมีความทันสมัยมากขึ้น โดยลืมภาพจำโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ต้องมีขนาดใหญ่เท่านั้นไปได้เลย SMR โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ขนาดเล็กที่ทรงพลัง

สำหรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็ก หรือ SMR คือ เตาปฏิกรณ์ที่มีกำลังการผลิตที่น้อยกว่า 300 เมกะวัตต์ โดยออกแบบให้เป็นโมดูลที่ผลิตมาจากโรงงาน และนำไปประกอบติดตั้งในพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ได้เปรียบคือต้นทุนการผลิตต่อชิ้นต่ำ ใช้เวลาในการก่อสร้างชิ้นงานสั้นลง ความซับซ้อนของระบบน้อยกว่า จึงใช้เวลาในการก่อสร้างและติดตั้งเครื่องจักรน้อยกว่า เงินลงทุนต่ำกว่า ความปลอดภัยในการดำเนินงานดีกว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่ สามารถนำไปประยุกต์ในภาคอุตสาหกรรมได้ง่าย เช่น การผลิตน้ำจืดขนาดใหญ่ และการผลิตก๊าซไฮโดรเจนได้ เป็นที่ทราบกันดีว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดใหญ่มักมีข้อจำกัดอยู่มาก นักฟิสิกส์และวิศวกรนิวเคลียร์จึง "ตัดมุมกลับ" โดยออกแบบเตาปฏิกรณ์ให้เล็กลงจนมีขนาดไม่เกิน 300 เมกกะวัตต์

สำหรับ SMR ที่ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ แต่ SMR ได้เกิดขึ้นมานานแล้ว ได้มีการสร้างและติดตั้งในอุปกรณ์ทางการทหารมามากกว่า 50 ปี เช่น นำไปติดตั้งในเรือดำน้ำนิวเคลียร์ เรือบรรทุก เครื่องบินนิวเคลียร์ เครื่องผลิตไฟฟ้านิวเคลียร์ภาคสนาม เป็นต้น และได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อเป็นแอดวานส์นิวเคลียร์รีแอคเตอร์ ซึ่ง SMR ที่เข้าข่ายจะต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ

  1. Modulization เป็นการออกแบบที่แบ่งระบบต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย ๆ เพื่อความยืดหยุ่น ให้เหมาะกับความต้องการใช้งาน
  2. Integral Water Reactor เป็นการผนวกอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้ผลิตไฟฟ้าได้เองในแต่ละส่วน
  3. Manufactured สามารถผลิตให้จบในโรงงานได้เลย เพื่อพร้อมใช้งาน

และเมื่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในภาพจำของเราเปลี่ยนไปเป็น SMR นักวิชาการจึงได้ประมวลข้อดีไว้ ดังนี้

  1. เตาปฏิกรณ์มีความซับซ้อนบ่อย จึงไปเจ้าหน้าที่ดูแลไม่มาก
  2. ระบบต่าง ๆ มีขนาดเล็ก หรืออาจรวมอยู่ในโมดูลเดียวกัน ท่าให้ใช้พื้นที่ก่อสร้างไม่มาก
  3. ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบมีน้อย จึงสามารถระบายความร้อนด้วยก๊าซ หรือน้ำปริมาณน้อย ๆ ได้
  4. มีระบบการเชื่อมต่อแบบ plug and play จึงเหมาะสมในโรงงานอุตสาหกรรม พื้นที่ชนบท พื้นที่ประสบภัยพิบัติ และโครงข่ายไฟฟ้าขนาดเล็ก (micro-grid)
  5. ใช้เวลาในการติดตั้งไม่นาน สามารถเพิ่ม หรือลดกำลังการผลิตได้ง่าย และรื้อถอนได้รวดเร็ว
  6. สามารถขนย้ายเตาปฏิกรณ์ด้วยรถบรรทุก เรือ และเครื่องบินได้
  7. มีปริมาณรังสีน้อยและสามารถติดตั้งที่ชั้นใต้ดินเพื่อลดโอกาสการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสีได้
  8. แท่งเชื้อเพลิงสามารถใช้งานได้นานกว่า 10 ปี โดยไม่ต้องการเปลี่ยน
  9. ในอนาคตอาจใช้การควบคุมจากระยะไกลด้วยรีโมตคอนโทรลได้

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.thaiphysoc.org/article/93/

นอกจากนั้นหากเปรียบเทียบกันแล้วจะพบว่าโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ทั่วไป กับ SMR มีความเหมือนและแตกต่างกัน สามารถนำมาเปรียบเทียบให้เห็นชัดเจนได้ตามตารางที่แสดง

สิ่งที่เหมือนกันและดีต่อสิ่งแวดล้อม คือ การไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ เพราะเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ คือพลังงานสะอาด สำหรับประเทศไทยเองแม้เป็นประเทศเล็ก ๆ เมื่อเทียบกับประเทศมหาอำนาจที่เดินหน้าผลิตไฟฟ้าด้วย SMR เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ จีน รัสเซีย แต่ประเทศไทยโดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ยังคงเดินหน้าศึกษา และเตรียมความพร้อมอยู่เสมอในการพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรื่องพลังงานนิวเคลียร์ เพื่อก้าวไปสรรหาพลังงานใหม่ ในการผลิตไฟฟ้าที่ไม่เพียงแต่การสร้างความสุขให้กับคนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นการก้าวไปสู่ความมั่นคงในการผลิตไฟฟ้าให้คนไทยมีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างมีเสถียรภาพอย่างยั่งยืนต่อไป

บทความโดย รศ.ดร.ภิญโญ มีชำนะ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน


ข่าวพลังงานนิวเคลียร์+โรงไฟฟ้าพลังงานวันนี้

สจล. ลงนาม MOU ร่วมกับ Ultra Safe Nuclear Corporation (USNC) มุ่งศึกษาวิจัยนวัตกรรมด้านพลังงานนิวเคลียร์ปลอดภัย เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รองรับอนาคต

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี ลงนามข้อตกลงความร่วมมือ MOU กับ Ultra Safe Nuclear Corporation (USNC) แห่งสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงานสะอาดระดับโลก โดยมี นายเจมส์ วอส (James Voss) กรรมการผู้จัดการ เป็นผู้ลงนาม ในงาน Defense and Security Show 2023 ณ อิมแพค เมืองทองธานี โดยมีวัตถุประสงค์ในการร่วมมือกันทางวิชาการ เพื่อศึกษาวิจัยพัฒนาและประเมินความเป็นไปได้ในการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเครื่องปฏิกรณ์แบบไมโครโมดูล (Micro

รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวง... วว. คว้า 2 รางวัลเชิงคุณภาพมาตรฐานครบถ้วน OAP Award จากสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ — รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยแ...

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเ... เซี่ยงไฮ้ อิเล็กทริก ประกาศความสำเร็จของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ใช้เตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หัวหลง-1 — เมื่อวันที่ 25 มีนาคม โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฝูชิงหมายเลข...

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ Hualong One เครื่องแรกของโลกเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์แล้ว

บริษัท ไชน่า เนชั่นแนล นิวเคลียร์ คอร์ป (CNNC) ประกาศเมื่อวันที่ 30 มกราคมที่ผ่านมาว่า โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฝูชิงหมายเลข 5 ซึ่งเป็นโครงการแรกของโลกที่ใช้ Hualong One เทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์รุ่นที่ 3 ของจีน...

เผย 6 หลักชัยสำคัญในการสร้างความร่วมมือด้... Shanghai Electric ฉลองครบรอบ 27 ปี การดำเนินธุรกิจในปากีสถาน — เผย 6 หลักชัยสำคัญในการสร้างความร่วมมือด้านพลังงาน สะท้อนความสัมพันธ์ทางธุรกิจอันแข็งแกร่งข...

ขณะที่พลังงานความร้อนและพลังงานนิวเคลียร์... 5 สิ่งที่ทุกคนควรรู้เกี่ยวกับ “พลังงานไฮโดรเจน” — ขณะที่พลังงานความร้อนและพลังงานนิวเคลียร์ยังคงเป็นแหล่งพลังงานหลักที่เราใช้กันทุกวันนี้ ความสนใจพลั...