"สุทธิพล"ประกาศขับเคลื่อนภารกิจ "8 สร้าง" พ่วง CSV นำประกันชีวิตไทยเติบโตแบบยั่งยืน ระบุจับตามองขบวนการรับจ้างเคลมใกล้ชิดหวั่นอุตสาหกรรมประกันภัยพัง
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้รับเชิญให้บรรยายพิเศษในหัวข้อ"ทิศทางและนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตไทยภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่" ในงานสัมมนาผู้บริหารระดับสูง สำนักงาน คปภ.และบริษัทประกันชีวิต ระหว่างวันที่ 5-6 กุมภาพันธ์ 2559 ณ คีรีมายา รีสอร์ท เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา โดยกล่าวว่า คปภ.จะใช้ระบบประกันภัยสนับสนุนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในเชิงรุก เร่งสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนด้วยการทำให้อุตสาหกรรมประกันภัยมีเสถียรภาพ โดยใช้ช่องทางที่เหมาะสมและสร้างเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพในการสื่อสารเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการประกันภัยให้กับประชาชนพร้อมสร้างกลไกด้านคุ้มครองสิทธิให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้ประชาชนทุกระดับได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบประกันภัยด้วยความเป็นธรรมของทุกฝ่าย ซึ่งขณะนี้คปภ.ได้ให้ความสำคัญกับภาคประชาชน โดยเร่งสร้างความเชื่อมั่นต่อภาคธุรกิจประกันชีวิต ดังนั้นจึงอยากให้ภาคธุรกิจให้ความร่วมมือกับคปภ.อย่างจริงจังโดยเฉพาะความร่วมมือในการแก้ไขปัญหากรณีที่มีกลุ่มบุคคลรับจ้างทำเคลมประกันภัยโดยอาศัยช่องทางของกฎหมายและความยุ่งยากของการเคลมประกันภัยมาทำธุรกิจคิดค่าคอมมิสชั่นจากความเดือดร้อนของชาวบ้านในการเคลมประกันภัย และบ่อยครั้งเกินเลยจนอาจเข้าข่ายการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบ ซึ่งหากไม่มีการควบคุมขบวนการเหล่านี้จะเป็นตัวกัดเซาะอุตสาหกรรมประกันภัยทั้งระบบให้ได้รับความเสียหายและที่สำคัญจะทำให้ประชาชนไม่เชื่อมั่นในระบบประกันภัย จึงจำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องร่วมมือกันเข้ามาดูแลในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ในส่วนของคปภ.กำลังจับตามองอย่างใกล้ชิด
เลขาธิการคปภ.กล่าวด้วยว่า ประเด็นที่เป็นปัญหาใหญ่ของประกันภัยในประเทศไทย คือ ปัญหาความเชื่อมั่นจากสาธารณชน ซึ่งอาจเป็นเพราะประชาชนมีประสบการณ์ที่ไม่ดีจากประกันภัยตั้งแต่อดีต ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่บริษัทประกันภัยล้มทำให้เกิดความเสียหาย ประเด็นการหลอกลวงให้ทำประกัน ประเด็นการเคลมค่าสินไหมทดแทนยากหรือมีการใช้ช่องทางจากความไม่รู้ของประชาชนเพื่อประวิง ไม่จ่าย หรือจ่ายค่าสินไหมทดแทนน้อยกว่าความเป็นจริง ฯลฯ ก็ยิ่งทำให้ความมั่นใจของประชาชนต่อระบบประกันภัยของไทยลดลง ดังนั้นหากจะแก้ปัญหาในเรื่องนี้จึงต้องมองจากมุมมองของประชาชน ซึ่งจะมีความรู้สึกเหมือนกันว่า เวลาทำประกันภัยจะมีการชักจูงว่าดีอย่างโน้นอย่างนี้ ขั้นตอนการทำประกันมีความสะดวกรวดเร็วเป็นอย่างมาก แต่เมื่อซื้อประกันไปแล้ว เมื่อมีเหตุต้องเคลมหรือขอค่าสินไหมทดแทนกลับทำได้ยาก มีการโต้แย้งเรื่องกฎหมายและบ่อยครั้งจบลงด้วยการฟ้องร้องเป็นคดีในชั้นศาล นี่คือสาเหตุใหญ่ที่ประชาชนขาดความมั่นใจในระบบประกันภัยของไทย
ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องใช้มาตรการต่างๆเหมือนยาขนานแรงเพื่อรักษาเยียวยาเพื่อเรียกความเชื่อมั่นจากประชาชนคืนมา การที่บริษัทประกันชีวิตหลายบริษัทมีกิจกรรมที่ดีๆให้กับสังคมเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในลักษณะกิจกรรม CSR ก็เป็นเรื่องที่ดี แต่สำหรับบริษัทประกันภัยนั้น ลำพังกิจกรรม CSR อาจไม่เพียงพอที่จะตอบโจทย์ภาคสังคมได้ชัดเจนและยั่งยืน จึงจำเป็นต้องลงลึกไปกว่าการทำ CSR ไปสู่การทำ CSV หรือCreating Shared Value ซึ่งเป็นการสร้างคุณค่าร่วมกับชุมชน โดยมีการพิสูจน์แล้วว่า CSV จะสามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันได้ดี
"การทำ CSR เปรียบเหมือนการซื้อเบ็ดตกปลาไปให้ชาวบ้าน ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการและสภาพความเป็นจริงในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน ดังนั้นการทำ CSR จึงไม่เพียงพอต่อสังคมหรือชุมชนนั้นๆ ดังนั้นภาคธุรกิจจึงต้องตอยอดด้วยการทำ CSV ซึ่งเปรียบเหมือนการสอนให้ชาวบ้านรู้จักวิธีใช้เบ็ดตกปลาเพื่อสร้างคุณค่าร่วมทางเศรษฐกิจ"
ดร.สุทธิพล กล่าวอีกว่า คปภ.มีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและสามารถก้าวข้ามผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน โดยมีนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจประกันภัยด้วยการขับเคลื่อนภารกิจ "8 สร้าง" คือ สร้างสมดุลกำกับ-ดูแล-ส่งเสริม ที่มุ่งเน้นการกำกับเท่าที่จำเป็นและควบคู่กับการส่งเสริมธุรกิจประกันภัย เนื่องจากเป้าหมายสำคัญ คือ ธุรกิจประกันชีวิตต้องเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพ โดยตั้งอยู่บนกติกาที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นบริษัทขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ สร้างเสถียรภาพความมั่นคง โดยเร่งพัฒนากรอบการกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงระยะที่ 2 และให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลพฤติกรรมทางตลาดมากขึ้น สร้างบทบาทของประกันภัยในระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพิ่มขึ้นโดยจะสนับสนุนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยใหม่ๆให้มีความหลากหลาย คำนึงถึงประชาชนทุกกลุ่ม ให้ความสำคัญกับการประกันภัยเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ การประกันภัยพืชผลทางการเกษตร กลุ่มเอสเอ็มอี และประกันภัยรายย่อย (ไมโครอินชัวรันส์) สร้างความรู้ประชาชนและเพิ่มความเชื่อมั่นโดยไม่เพียงแต่พัฒนาให้บริษัทประกันภัยเติบโตเท่านั้น แต่ยังต้องส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ สามารถรักษาสิทธิของตนเองและปกป้องตนเองจากมิจฉาชีพที่มากับการประกันภัย ซึ่งจำเป็นต้องเร่งพัฒนาช่องทางการสื่อสารต่างๆให้เข้าถึงได้ง่าย พร้อมกับการพัฒนากระบวนการรับเรื่องร้องเรียน การระงับข้อพิพาททางเลือกด้วยวิธีไกล่เกลี่ยและอนุญาโตตุลาการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการตั้งศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ด้านการประกันภัยเพื่อรองรับข้อพิพาทที่อาจจะมีมากขึ้นตามการเติบโตของธุรกิจประกันภัย
สร้างศักยภาพในเวทีสากลและอาเซียน เพื่อรองรับการขยายตลาดการประกันภัยของไทยให้พร้อมแข่งขันใน AEC ซึ่งจะต้องมีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับธุรกิจประกันภัยของประเทศต่างๆในอาเซียน โดยเฉพาะในกลุ่ม CLMV ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการประกันภัยและพัฒนาบุคลากรร่วมกัน นอกจากนี้จะต้องมีการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของประเทศอื่นๆเพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีอุปสรรคน้อยที่สุด เนื่องจากกฎระเบียบในแต่ละประเทศยังมีความแตกต่างกัน หากไม่บูรณาการให้ใกล้เคียงหรือไม่ทำให้มีกติกากลางก็จะเป็นอุปสรรค ดังนั้นจึงต้องเร่งสร้างกลไกและปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางด้านการประกันภัยใน CLMV อย่างมีศักยภาพและผลักดันให้เป็น "อาเซียน ซิงเกิลอินชัวรันส์มาร์เก็ต"
รวมทั้ง สร้างระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกันภัยให้เป็นมาตรฐานสากลรองรับทิศทางในอนาคต โดยผลักดันการปรับปรุงกฎหมายด้านการประกันภัยทั้ง 3 ฉบับ เพื่อให้กฎหมายมีประสิทธิภาพ ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาธุรกิจประกันภัย สร้างความเท่าเทียมกับผู้ประกอบการทุกกลุ่มพร้อมกับผลักดันกฎหมายประกันภัยทางทะเล รวมทั้งจัดทำฐานข้อมูลด้านการประกันภัยที่สมบูรณ์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลด้านการประกันภัยและใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม สร้างศักยภาพและพัฒนาบุคคลากรประกันภัย รวมถึงคนกลางประกันภัย ให้มีความเชี่ยวชาญเป็นมืออาชีพ มีจรรยาบรรณ โปร่งใส สามารถรองรับการพัฒนาและเติบโตของธุรกิจประกันภัยในอนาคต และคุ้มครองสิทธิประโยชน์ประชาชนด้านการประกันภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างเสริมศักยภาพสู่ยุคดิจิทัล ซึ่งในส่วนของสำนักงานคปภ.และภาคธุรกิจประกันชีวิต โดยคปภ.จะเร่งปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อลดข้อจำกัดต่างๆให้ภาคธุรกิจประกันภัยสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์จากดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการเข้าถึงลูกค้า ในขณะเดียวกันบทบาทในด้านกำกับดูแลประกันภัยมีระบบงานที่ดีสามารถรักษาความปลอดภัยของข้อมูลลูกค้าและให้บริการทั้งก่อนและหลังการขายด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส และเปิดเผยข้อมูลอย่างเหมาะสม ในส่วนของภาคธุรกิจประกันภัยต้องมีการลงทุนในระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยและปลอดภัยสำหรับลูกค้าเพื่อยกระดับประสิทธิภาพกรดำเนินธุรกิจและมีต้นทุนที่ต่ำลงในระยะยาว พร้อมทั้งมีการบริหารความเสี่ยงที่ดีอีกด้วย
"ผมมั่นใจว่านับจากนี้ไปธุรกิจประกันชีวิตจะเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ในขณะเดียวกันก็เป็นหลักประกันความมั่งคงแก่ชีวิตให้กับประชาชน ดังนั้นจึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งในการพัฒนาธุรกิจประกันชีวิตให้ก้าวสู่ความแข็งแกร่ง มีคุณภาพ เสถียรภาพ และมีธรรมาภิบาล ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนเป็นสำคัญเพื่อให้ธุรกิจประกันชีวิตเป็นที่พึ่งของประชาชนอย่างยั่งยืนตอไป" ดร.สุทธิพล กล่าวในตอนท้าย
บริษัท แอลเอ็มจี ประกันภัย จำกัด (มหาชน) ร่วมกิจกรรมออกบูธประชาสัมพันธ์บริษัทฯ ในงาน Thailand InsurTech Fair 2023 ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. และคุณวสุมดี วสีนนท์ รองเลขาธิการ ด้านตรวจสอบ มาเยี่ยมชมบูธ แอลเอ็มจี ประกันภัย และทำกิจกรรมภายในบูธโดยมีคุณสวัสดิ์ ตั้งเจริญพัฒนา ส่วนงานธุรกิจสัมพันธ์ ฝ่ายขายและการตลาด และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทฯ ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น ในปีนี้ แอลเอ็มจี
OCEAN LIFE ไทยสมุทรฯ ชูแนวคิด Healthiverse โลกใหม่ที่ดีขึ้นเพื่อคนรักสุขภาพ ในมหกรรมประกันสุดยิ่งใหญ่แห่งปี "THAILAND INSURTECH FAIR 2023"
—
บมจ.ไทยสมุทรป...
เจนเนอราลี่ ไทยแลนด์ รวมพลัง ร่วมบริจาคโลหิต เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22
—
นางสาวสายฝน คงจิตต์งาม (ด้านบน คนที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่...
บมจ. ชับบ์ ไลฟ์ แอสชัวรันซ์ พร้อมพนักงาน และตัวแทนประกันชีวิต รวมพลังร่วมบริจาคโลหิตแก่สภากาชาดไทย
—
ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเส...
เมืองไทยประกันชีวิต ร่วมบริจาคโลหิต เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22
—
นายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต จำกัด (ม...
อลิอันซ์ อยุธยา ร่วมบริจาคโลหิต เนื่องในวันประกันชีวิตแห่งชาติ ครั้งที่ 22
—
บมจ. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต นำทีมตัวแทนฝ่ายขายและพนักงาน ร่วมกิจกรรมบริจ...
OCEAN LIFE ไทยสมุทร ร่วมบริจาคโลหิตเนื่องในวันประกันแห่งชาติ เพื่อส่งพลังความรักช่วยเหลือชีวิตเพื่อนมนุษย์
—
บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รักคือพลังของชีวิต โด...
ตัวแทนไทยประกันชีวิตรับรางวัล TNQA ประจำปี 2566
—
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับ...
OCEAN LIFE ไทยสมุทร ไม่หยุดพัฒนาที่ปรึกษาประกันชีวิตมืออาชีพ ยกทีมคว้ารางวัล "ตัวแทนคุณภาพดีเด่นแห่งชาติ" (TNQA) ครั้งที่ 40
—
บมจ.ไทยสมุทรประกันชีวิต รัก...