พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ชวนวางแผนดูแลอาคารลดความเสี่ยงอัคคีภัย เผยตึกสูงใน กทม. ส่วนใหญ่อายุแตะ 20 ปี แนะดูแลสม่ำเสมอ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เผยผลสำรวจตึกสูงในเขตกรุงเทพมหานคร พบมากกว่า 3,000 อาคาร สูงเกิน 7 ชั้น และส่วนใหญ่อายุเฉลี่ยประมาณ 20 ปี ผู้ดูแลอาคารควรวางแผนบริหารดูแลอย่างเป็นระบบเพื่อลดความเสี่ยงเหตุอัคคีภัย พร้อมแนะนำผู้ดูแลอาคารปฏิบัติตามกฎหมายเคร่งครัด เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและความมั่นใจให้กับผู้อยู่อาศัยในอาคาร ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและกรมทรัพยากรธรณี ระบุว่าสถิติปี 2531-2552ประเทศไทยได้รับความเสียหายจากอัคคีภัยกว่า 28,000 ล้านบาท 
          นายชาญ ศิริรัตน์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานบริหารทรัพยากรอาคาร บริษัท พลัส พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (Mr. Chan Sirirat, Assistant Managing Director, Plus Property Company Limited) ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและจัดการอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เปิดเผยว่าปัจจุบันอยู่ในช่วงที่กำลังจะเข้าสู่ฤดูร้อน ซึ่งเป็นช่วงที่มักเกิดอัคคีภัยขึ้นได้ง่ายเพราะสภาพอากาศมีความร้อนสูงขึ้นและมีการใช้พลังงานไฟฟ้าสูง อัคคีภัยถือเป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลเสียหายค่อนข้างมากโดยเฉพาะเมื่อเกิดขึ้นกับอาคารสูง ไม่เพียงก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม แต่หากเพลิงไหม้ลุกลาม แพร่กระจายไปยังอาคารข้างเคียงก็จะมีความเสียหายเพิ่มมากขึ้น ดังนั้น การมีระบบป้องกันอัคคีภัยและการดูแลรักษาที่ถูกต้องเป็นประจำ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยควบคุม และระงับเหตุเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ได้อย่างรวดเร็วเพื่อลดและบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
          พลัส พร็อพเพอร์ตี้ได้ทำการสำรวจ พบว่าในเขตกรุงเทพมหานครมีอาคารสูงเกิน 7 ชั้น จำนวนมากกว่า 3,000อาคาร โดยในจำนวนนี้มีอาคารใหม่อายุต่ำกว่า 10 ปี คิดเป็น 33.33% ในขณะที่อาคารส่วนใหญ่ในกรุงเทพมหานคร มีอายุราว 20 ปี ซึ่งหากอาคารใดสร้างก่อน กฎหมายควบคุมอาคารสูง 2535 ก็จะมีอุปกรณ์ระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยน้อยกว่าอาคารที่ก่อสร้างหลังกฎหมายควบคุมอาคารปี 2535 ดังนั้นอาคารเหล่านี้ต้องได้รับการดูแลบริหารจัดการอาคารอย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อป้องกันความเสี่ยงต่างๆ รวมถึงการปรับปรุงเพิ่มเติมระบบป้องกันการเกิดเหตุอัคคีภัยเป็นต้น
          สำหรับการเกิดอัคคีภัยนั้นโดยมากเกิดจากการขาดความระมัดระวังและคิดว่าเรื่องนี้ไม่น่าจะเกิดขึ้นกับเรา มีสาเหตุหลักๆ เช่น การจุดธูปเทียนในอาคาร การใช้แก๊สขณะปรุงอาหาร และไฟฟ้าลัดวงจร ส่วนการลอบวางเพลิงพบได้ไม่บ่อยนัก และจากข้อมูลจากกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยและกรมทรัพยากรธรณี ระบุว่าสถิติปี2531-2552 ประเทศไทยเกิดอัคคีภัยราว 47,000 ครั้ง ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บกว่า 3,700 คน เสียชีวิตกว่า 1,600 คน รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 28,000 ล้านบาท 
          อาคารขนาดใหญ่ในปัจจุบันมีกฎหมายบังคับให้ออกแบบและวางระบบป้องกัน แจ้งเตือนดับเพลิงได้ดีในระดับหนึ่ง แต่เหตุที่บางอาคารเกิดเหตุและไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ทัน เนื่องจากไม่มีการตรวจสอบหรือดูแลระบบแจ้งเตือนเหตุเพลิงไหม้ (Fire Alarm) และระบบระงับเหตุเพลิงไหม้ (Sprinkler) อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดความบกพร่องไม่ว่าจะเป็นระบบการแจ้งเตือนเหตุ ระบบสัญญาณเตือนภัยและท่อน้ำดับเพลิง เป็นต้น ผู้ดูแลระบบเป็นอีกส่วนที่สำคัญ ที่มีหน้าที่ในการตรวจสอบและดูแลบำรุงรักษาให้ระบบมีความพร้อมต่อการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงการมีแผนการอพยพหนีไฟและการฝึกซ้อมเป็นประจำ
          นอกจากนี้ การส่งต่อข้อมูลอาคารเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานอาคาร เช่นการกั้นผนังอาคาร แต่จะต้องแจ้งข้อมูลแก่ผู้ออกแบบอาคาร เพื่อให้ระบบป้องกันอัคคีภัยที่ออกแบบไว้สำหรับรูปแบบอาคารเดิมได้รับการเปลี่ยนแปลงและสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพดังเดิม เช่น หัวจ่ายน้ำสปริงเกอร์ที่ถูกติดตั้งไว้ในตำแหน่งเดิม แต่เมื่อมีการกั้นผนังอาคารเพิ่ม แต่ไม่มีการปรับปรุงหัวจ่ายน้ำสปริงเกอร์ให้สอดคล้องกับสภาพภายในที่เปลี่ยนไป เมื่อเกิดเพลิงไหม้ก็จะทำให้ระบบป้องกันอัคคีภัยทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ
          "พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2543 กำหนดให้อาคารชุดพักอาศัย หรืออาคารที่อยู่อาศัยรวมที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000ตร.ม.ขึ้นไป จะต้องมีการตรวจสอบความมั่นคงแข็งแรง อุปกรณ์และระบบบริหารจัดการความปลอดภัยของอาคาร เป็นปกติปีละ 1 ครั้ง และตรวจสอบใหญ่ทุก 5 ปี โดยต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้ตรวจสอบที่ได้รับใบอนุญาตเท่านั้น อย่างไรก็ดีปัจจุบันข้อกำหนดนี้ได้รับการยกเว้นการตรวจสอบสำหรับอาคารชุดพักอาศัยที่มีพื้นที่ไม่เกิน5,000 ตร.ม. เป็นเวลา 7 ปี และอาคารชุดพักอาศัยที่มีพื้นที่เกิน 5,000 ตร.ม. เป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่กฎกระทรวงเริ่มบังคับใช้ในปี 2548 ซึ่งหากผู้ดูแลอาคารปฏิบัติตามกฎหมาย ก็จะส่งผลให้ผู้พักอาศัยจะมีความมั่นใจในการพักอาศัยมากขึ้น" นายชาญ กล่าว
พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ชวนวางแผนดูแลอาคารลดความเสี่ยงอัคคีภัย เผยตึกสูงใน กทม. ส่วนใหญ่อายุแตะ 20 ปี แนะดูแลสม่ำเสมอ
 


ข่าวกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย+พลัส พร็อพเพอร์ตี้วันนี้

NT ยืนยันความพร้อม ร่วมทดสอบระบบแจ้งเตือนภัย Cell Broadcast ในพื้นที่จริง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมแถลงข่าวความพร้อมทดสอบการแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส... ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ — ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ป... 'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ — กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...

เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและก... สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ — เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...

นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำ... กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้ — นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระ... กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด — นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...

กทม. เตรียมพร้อมระบบระบายน้ำรองรับสถานการณ์ฝน

นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวกรณีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังว่า กทม. ได้จัดทำแผนเตรียมความพร้อมด้านระบบระบายน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์ฝนตกหนัก โดยใช้แผน...

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ... สสส. - ศวปถ.- กรมประชาสัมพันธ์ สานพลังภาคีเครือข่าย ยกระดับทิศทางกลไกประชาสัมพันธ์ เชื่อมประสารการทำงาน บูรณาการสื่อส่วนกลาง สื่อท้องถิ่นร่วมกับ ศปถ.จังหวัด เพื่อสร้างวัฒนธรรมขับขี่ปลอดภัย — สำนักงานกอง...

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐ... มท.1 มอบโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชน ตามโครงการ "มอบโฉนดที่ดินทั่วไทย นำสุขคลายทุกข์ให้ประชาชน" ในพื้นจังหวัดกาญจนบุรี — นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ...

ธนชาตประกันภัย ตอกย้ำบทบาทภาคีเครือข่ายสร... ธนชาตประกันภัย ห่วงความปลอดภัยนักดื่ม ด้วยบริการ "U Drink I Drive" สิทธิพิเศษให้ลูกค้า เมาไม่ขับ ส่งคนไปรับ-ขับพากลับบ้าน — ธนชาตประกันภัย ตอกย้ำบทบาทภาคี...