เอชไอดี โกลบอล แนะเกราะป้องกันการปลอมแปลงอัตลักษณ์บุคคล หลังไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2016

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

หัวข้อข่าวเด่น
          ในปี 2016 องค์กรควรปรับกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจโดยให้ความสำคัญและสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
          การจัดหาตัวตนในระบบดิจิตอล (Digital Identity) ที่น่าเชื่อถือจะมีการเพิ่มขยายตัวมากขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากระบบดังกล่าวจะเป็นวิธีที่สะดวกในการจัดส่งข้อมูลที่ละเอียดอ่อนอย่างปลอดภัย และในเวลาเดียวกันจะกระตุ้นให้มีการเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบและนโยบายการปฏิบัติในระบบรักษาความปลอดภัย
          การปกป้องข้อมูลส่วนตัวจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น ซึ่งจะทำให้องค์กรที่ดูแลในส่วนนี้ หันมาหาแนวทางการปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับผู้ใช้บริการ และในขณะเดียวกัน ปกป้องข้อมูลและอัตลักษณ์บุคคล ในกรณีที่บัตรประชาชนหรือบัตรระบุอัตลักษณ์บุคคลได้ถูกขโมยหรือสูญหาย

          ปี ค.ศ. 2016 จะเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์โลกที่ต้องจารึก เมื่อ 10 ประเทศในอาเซียน ซึ่งมีระบบเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ในทวีปเอเชีย และอยู่ในอันดับ 7 ของโลก ได้รวมตัวเป็น 'ครอบครัวเดียวกัน' โดยการรวมตัวในครั้งนี้ จะส่งผลให้หลายประเทศต่างๆในภูมิภาคอื่นๆเล็งเห็นโอกาสในการดำเนินธุรกิจกับภูมิภาคนี้มากขึ้น ซึ่งระบบปกป้องรักษาอัตลักษณ์บุคคลและข้อมูลส่วนตัวจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น เอชไอดี โกลบอล ผู้นำระดับโลกทางด้านโซลูชั่นการระบุอัตลักษณ์บุคคลที่มีความปลอดภัยจากประเทศสหรัฐอเมริกา เผยแนวทางป้องกันอัตลักษณ์บุคคลในปี 2016
          โดยแนวทางป้องกันดังกล่าว ทางเอชไอดี โกลบอล ได้มีการรวบรวมข้อมูลและอ้างอิงจากประสบการณ์จริงที่ลูกค้าระดับแถวหน้าของโลกในธุรกิจสาขาต่างๆได้พบเจอมาในอดีต ซึ่งรวมถึง โครงการนำร่องต่างๆ ของทางบริษัทที่จัดทำขึ้นมาเอง หรือจากการนำโซลูชั่นที่ผลิตโดยบริษัทฯ มาใช้จริงกับลูกค้าที่มีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล และองค์กรต่าง ๆ ที่เป็นผู้บริโภคจริงกระจายอยู่รอบโลก จากมุมมองในเชิงธุรกิจ เอชไอดี โกลบอล ได้เผย 5 แนวทางที่เชื่อว่าจะมีผลกระทบอย่างสูงต่อการบริหารจัดเก็บข้อมูลและการระบุอัตลักษณ์บุคคล บัตรประชาชน และInternet of Things (ioT) หรือ "อินเตอร์เน็ตในทุกสิ่ง"
          'การที่ภูมิภาคนี้ได้กลายเป็น "Single Common Market" หรือ 'ตลาดร่วม' ทางบริษัทฯ ได้เล็งเห็นถึงแนวโน้มการพัฒนาในหลายๆด้าน รวมถึงการที่โทรศัพท์มือถือจะมีบทบาทสำคัญในทุกๆเรื่อง โดยเฉพาะในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งทาง เอชไอดี โกลบอล เชื่อว่าจะเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนาด้านเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยในปี 2016 ในส่วนของโซลูชั่นรักษาความปลอดภัยนั้น ลูกค้าจะมีความต้องการให้โซลูชั่นดังกล่าวสามารถควบคุมและยืดหยุ่นปรับตัวเข้าได้ง่ายในยุคที่การจัดหาตัวตนในระบบดิจิตอล หรือDigital Identity และ Internet of Things (ioT) เชื่อมต่อกัน' นายสเตฟาน ไวดิ่ง ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท เอชไอดี โกลบอล กล่าวตบท้าย
          ในปี 2016 เอชไอดี โกลบอล คาดว่าผู้บริโภคจะหันมาเพิ่งพาเครื่องใช้ที่มีเทคโนโลยีสูง อย่างเช่น สมาร์ทโฟน แทบเลต ฯลฯ มากขึ้น เพื่อสามารถเชื่อมต่อตนเองกับสังคมและโลกภายนอก เพื่อตอบสนองแนวความคิดนี้ ระบบป้องกันข้อมูลส่วนตัวที่ทันสมัยจึงมีส่วนสำคัญ และควรสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติในอุตสาหกรรมระบบรักษาความปลอดภัย โดยมีแนวทางป้องกันดังต่อไปนี้
          แนวทางที่ 1 โซลูชั่นเพื่อรักษาความปลอดภัยในโทรศัพท์เคลื่อนที่จะถูกนำมาติดตั้งมากขึ้น เนื่องจากสามารถปกป้องความเป็นส่วนตัวสูง ระบบรักษาความปลอดภัยที่ทันสมัยจะถูกนำมาติดตั้งอยู่ภายในอุปกรณ์พกพาไร้สาย และจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ผู้บริโภคสามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างสะดวกสบายและไร้ความกังวล การล็อคออนทางเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมดาวน์โหลดแอพพิเคชั่นและโปรแกรมต่าง ๆ จะทำได้อย่างสะดวกรวดเร็วแบบไร้ขีดจำกัด และสามารถเชื่อมต่อโดยตรงกับโทรศัพท์มือถือ แทบเลต และเครื่องคอมพิวเตอร์แลปทอป เทคโนโลยีแบบไร้สาย อาทิ Apple Watch จะถูกนำมาสวมใส่เป็นส่วนหนึ่งของแฟชั่นเครื่องแต่งกาย ซึ่งจะมีการพัฒนามากขึ้นในอนาคต โทรศัพท์มือถือจะต้องสามารถทำงานควบคู่ไปกับเทคโนโลยี RFID เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือในการยืนยันตัวตน 
          แนวทางที่ 2 ผู้ใช้บริการจะให้ความสำคัญในระบบรักษาความปลอดภัยมากขึ้น ในกรณีนี้จะลดช่องว่างระหว่างการบริหารจัดการและการปฏิบัติ ในขณะเดียวกัน ระบบรักษาความปลอดภัยจะถูกนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมเพื่อให้เข้ากับการดำเนินชีวิตประจำวัน การยืนยันอัตลักษณ์บุคคลแบบระบบเก่า ๆ จะถูกทดแทนด้วยทางเลือกใหม่ที่ทันสมัยกว่าเดิม
          แนวทางที่ 3 ระบบปกป้องอัตลักษณ์บุคคลจะไม่เพียงแต่ทำให้เรารู้สึกปลอดภัยแล้ว แต่จะกลายเป็นส่วนสำคัญในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน การซื้อของ หรือการสันทนาการ การระบุอัตลักษณ์บุคคลจะถูกพัฒนาไปอีกระดับ โดยผู้ให้บริการจะใช้มาตรการยืนยันและตรวจสอบอัตลักษณ์บุคคลแบบหลายขั้นตอน ซึ่งรวมถึงการนำเทคโนโลยีชีวภาพ หรือ Technology Biometrics มาใช้ ก่อนส่งข้อมูลต่อไปยังเจ้าของธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมาย
          แนวทางที่ 4 จะมีการคำนึงถึงการเป็นส่วนตัวในยุคที่มีการเชื่อมต่อแบบไร้สาย ระบบการระบุอัตลักษณ์บุคคลจะขยายจากการระบุบุคคลทั่วไป ไปถึงการระบุสิ่งของพร้อมการยืนยันความถูกต้อง ในเวลาเดียวกัน ยังสามารถปกป้องข้อมูลส่วนตัว รวมถึงอุปกรณ์ การบริการและแอปพลิเคชั่น
          แนวทางที่ 5 เทคโนโลยีอันทันสมัยที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตควรมีความสำคัญเทียบเท่ากับนโยบายรักษาความปลอดภัยและการบริหารจัดการที่ดีเลิศ องค์กรผู้ให้บริการควรคำนึงถึงการใช้งานและรวมระบบรักษาความปลอดภัยแบบองค์กรรวม ที่สามารถป้องกันทั้งข้อมูลอัตลักษณ์บุคคล และระบบรักษาความปลอดภัยในตัวอาคาร ซึ่งรวมถึงระบบอินเตอร์เนทไร้สาย (Wifi) นอกเหนือจากการปกป้องการละเมิดลิขสิทธิ์ ผู้ให้บริการควรมีมาตรการควบคุมการโจรกรรมอัตลักษณ์บุคคล โดยข้อมูลที่ถูกลักลอบไปจะไม่สามารถนำมาทำธุรกรรมต่างๆได้อีกต่อไป
          เทคโนโลยี Seos ของ เอชไอดี โกลบอล ได้วางรากฐานเกี่ยวกับแนวทางป้องกันอัตลักษณ์บุคคลที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นสูงในปี 2016 เพื่อให้องค์กรมีความมั่นใจในการรวบรวมเทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันข้อมูลสำคัญต่าง ๆ ในสมาร์ทโฟนให้มีความปลอดภัยยิ่งขึ้น และในเวลาเดียวกัน ผู้ใช้บริการจะสามารถใช้แอพพิเคชั่นหลากหลายอย่างมีประสิทธิภาพและไร้ความกังวล
          สำหรับข่าวและข้อมูลเกี่ยวกับ เอชไอดี โกลบอล สามารถเข้าเยี่ยมชมได้ที่ ศูนย์ข่าว (Media Center) อ่านบล็อกเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของเราได้ที่ Industry Blog ลงทะเบียนเพื่อรับ RSS Feed ชมวิดีโอ และติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ เฟซบุ๊ก ลิงค์อิน และทวิตเตอร์
เอชไอดี โกลบอล แนะเกราะป้องกันการปลอมแปลงอัตลักษณ์บุคคล หลังไทยเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2016
 


ข่าวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน+รักษาความปลอดภัยวันนี้

'สินิตย์' เตรียมเยือนกัมพูชา ร่วมวงประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ผลักดันร่างวิสัยทัศน์ฯ ภายหลังปี 2568 และการพัฒนาที่ยั่งยืน

'สินิตย์' เตรียมประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ครั้งที่ 21 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา 10 พ.ย.นี้ ร่วมสรุปผลการดำเนินงาน ทั้งการอัปเกรด ATIGA การฟื้นฟูเการท่องเที่ยวหลังโควิด-19 ผลการประเมินความพร้อมของติมอร์-เลสเต เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน ก่อนชงสุดยอดผู้นำอาเซียน พร้อมถกรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน-ขนส่ง-เกษตรและป่าไม้ ผลักดันแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน และความเป็นกลางทางคาร์บอน นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากรองนายกรัฐมนตรี

ภายใต้สภาพแวดล้อมของการเปลี่ยนแปลงที่ผันผ... เปิดรับสมัครแล้ว!!! หลักสูตร การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขั้นสูง (Advance HR : Survival Beyond Tomorrow) — ภายใต้สภาพแวดล้อมของการเปลี่ยนแปลงที่ผันผวน รวดเร็ว ...

ดร.ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ที่ปรึกษาสมาคมส... 40 ปี สวนสยาม เปิดตัวสยามอะเมซิ่งพาร์ค เชิญสักการะพระบรมสารีริกธาตุจากศรีลังกา ขยายเวลาเปิดบริการสวนสนุกถึง 4 ทุ่ม — ดร.ไชยวัฒน์ เหลืองอมรเลิศ ที่ปรึกษาสม...

ธนาคารไทยพาณิชย์เดินหน้าส่งเสริมการสร้างเ... ไทยพาณิชย์ จัดงานจับคู่ธุรกิจ Myanmar-Thai Business Matching Day เปิดโอกาสธุรกิจระหว่างเครือข่ายเอสเอ็มอีเมียนมา-ไทย — ธนาคารไทยพาณิชย์เดินหน้าส่งเสริมการ...

วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 ได้มีการจัดพิธีเปิ... อพวช.ร่วมสมาคมวิทย์ฯ เปิดค่ายประกวดโครงงานวิทย์ ASPC 2019 — วันที่ 22 กรกฎาคม 2562 ได้มีการจัดพิธีเปิด "ค่ายประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์เยาวชนกลุ่มประเทศอาเซี...

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เดินหน้าขับเคลื่อน ก... “คุณวุฒิวิชาชีพ โอกาสในการทำงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” — สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ เดินหน้าขับเคลื่อน การเทียบเคียงกรอบคุณวุฒิแห่งชาติ สู่ กรอบคุณวุฒิอ้างอิ...

ศ.ดร.กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม คณบดีคณะเศรษฐศาส... มข. จับมือ สสว. จัดสัมมนาฟรี ! “รุกตลาดใกล้ บุกตลาดใหญ่” เชิญผู้เชี่ยวชาญตลาดต่างประเทศ ร่วมให้ความรู้พร้อมคำแนะนำการลงทุน ใน 4 ประเทศ จีน อินเดีย พม่า กัมพูชา สนใจสมัครด่วน! รับจำนวนจำกัด — ศ.ดร.กัลปพฤ...

ศ.ดร.กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม ผู้อำนวยการศูนย์... ECBER มข ร่วม กับ สสว. เชิญชวนผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมเครือข่าย SMEs เชื่อมสู่ตลาดอาเซียน +8 พร้อมเป็นพี่เลี้ยงนำบุกตลาด จีน อินเดีย พม่า และกัมพูชา — ศ.ดร.กัลปพฤ...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผศ... ภาพข่าว: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัลผลงานวิจัยระดับดี งานวันนักประดิษฐ์ ปี 2562 — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ผศ.ดร. จักรกฤษณ...

ศ.ดร.กัลปพฤกษ์ ผิวทองงาม ผู้อำนวยการศูนย์... ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สสว. เชิญชวนผู้ประกอบการไทยเข้าร่วมเครือข่าย SMEs เชื่อมสู่ตลาดอาเซียน +8 พร้อมเป็นพี่เลี้ยงนำบุกตลาดขนาดใหญ่ที่น่าจับตาถึง 4 ประเทศ ทั้ง จีน อินเดีย พม่า และกัมพูชา — ศ.ดร.กัลปพฤ...