ธรรมศาสตร์ เปิดตัว 'I Walk’ นวัตกรรมฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ลดต้นทุนนำเข้านวัตกรรมต่างชาติถึง 10 เท่า พร้อมต่อยอดเชิงพาณิชย์

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) โดยคณะวิศวกรรมศาสตร์ เปิดตัว "นวัตกรรมช่วยฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก" (I Walk) นวัตกรรมที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาเดินได้อย่างปกติอีกครั้ง เพียงฝึกเดินแบบก้าวขึ้นบันไดอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ย 30 นาทีต่อวัน เพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อขาให้ฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งนับเป็นการขยายโอกาสให้กับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกได้เข้าถึงการทำกายภาพบำบัดมากยิ่งขึ้น โดยสามารถลดการพึ่งพาเทคโนโลยีฟื้นฟูรักษาจากต่างประเทศได้ถึง 10 เท่า โดยล่าสุด ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการพัฒนาและผลิตจริงจำนวน 10 เครื่อง เพื่อบริจาคแก่สถานพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณะสุขชุมชน อันเป็นการขยายโอกาสในการเข้าถึงการฟื้นฟูรักษาของผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าว ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมประกาศนียบัตร ภายในงานประชุมวิชาการเรื่องวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ (i-CREATe 2015) ณ มหาวิทยาลัยนันยางเทคโนโลยี สาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ที่ผ่านมา สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โทรศัพท์ 0-2564-3001 และ 02-564-4493 หรือเว็บไซต์ http://me.engr.tu.ac.th
          ผศ.ดร.บรรยงค์ รุ่งเรืองด้วยบุญ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ปัจจุบัน ผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกมีจำนวนสูงกว่า 500,000 คน ทั่วประเทศไทย ซึ่งล้วนต้องอาศัยการทำกายภาพบำบัดในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางกาย เพื่อให้สามารถกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติ แต่การทำกายภาพบำบัดทุกวันนี้มีค่าใช้จ่ายสูงอันเนื่องมาจากต้นทุนในการนำเข้าเทคโนโลยีกายภาพจากต่างประเทศ ประกอบกับจำนวนนักกายภาพบำบัดในปัจจุบันที่มีเพียง 2,830 คน จากสถานพยาบาลเพียง 1,471 แห่ง ซึ่งไม่เพียงพอต่อความต้องการรักษาพยาบาลของผู้ป่วยโรคดังกล่าวในเชิงปริมาณ ดังนั้น คณะวิศวกรรมศาสตร์ มธ. จึงได้คิดค้น "นวัตกรรมช่วยฝึกเดินสำหรับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก" (I-Walk) ขึ้น เพื่อเป็นการขยายโอกาสให้กับผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกในพื้นที่ชุมชนห่างไกลได้เข้าถึงการทำกายภาพบำบัดมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเป็นการลดการพึ่งพาเทคโนโลยีฟื้นฟูรักษาจากต่างประเทศ ผ่านการบูรณาการองค์ความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์และสหเวชศาสตร์เข้าด้วยกัน
          ผศ.ดร.บรรยงค์ กล่าวต่อว่า นวัตกรรม "I Walk" เป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง 2 อุปกรณ์ คือ "อุปกรณ์ช่วยจัดท่าทางการเดินของขา" อุปกรณ์เสริมกำลังที่ช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฝึกเดินแบบก้าวขึ้นบันได หรือวิ่งได้โดยไม่รู้สึกเหนื่อยล้า พร้อมกับจัดท่วงท่าการเดินที่เหมาะสม และ "อุปกรณ์ยกตัวผู้ป่วย" อุปกรณ์พยุงน้ำหนักผู้ป่วยเพื่อป้องกันการล้มหรือเข่าทรุดระหว่างการทำกายภาพบำบัด โดยการทำงานของนวัตกรรมดังกล่าว เริ่มจากการให้ผู้ป่วยขึ้นไปยืนบนแท่นฝึกเดิน พร้อมสวมสายรัดพยุงน้ำหนักและจับราวหัดเดินให้กระชับ จากนั้นระบบจะฝึกผู้ป่วยให้ก้าวเดินอย่างช้าๆ คล้ายกับการก้าวขึ้นบันไดในลักษณะวงรี เนื่องจากผลการศึกษาวิจัยพบว่าการฝึกเดินแบบก้าวขึ้นบันได จะช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อขาได้ดีกว่าฝึกการเดินในแนวระนาบ ทั้งนี้ ผู้ป่วยควรฝึกเดินอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ย 30 นาทีต่อวัน เพื่อกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อขาให้ฟื้นตัวได้เร็วยิ่งขึ้น 
          ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าวถูกออกแบบมาเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งาน ดูแลรักษา ตลอดจนสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก แต่ยังคงมีสมรรถนะในการช่วยฝึกเดินอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ โดยมีราคาต้นทุนอยู่ที่ 200,000 บาท ซึ่งมีราคาถูกกว่าอุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศถึง 10 เท่า โดยที่ผ่านมาได้นำร่องทดลองใช้กับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ในศูนย์บริการสาธารณะสุขชุมชน จ.นครปฐม ที่มีอาการเรื้อรังมากกว่า 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 15 คน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งผลที่ได้จากการทดลองเบื้องต้น คือ ผู้ป่วยสามารถก้าวเดินได้เร็วและนานขึ้น รวมไปถึงสามารถก้าวขึ้นบันไดได้ด้วยขาทั้งสองข้าง โดยมีไม้ค้ำยันช่วยพยุงขณะเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อย โดยล่าสุด ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการพัฒนาและผลิตจริงจำนวน 10 เครื่อง เพื่อบริจาคแก่สถานพยาบาลและศูนย์บริการสาธารณะสุขชุมชน อันเป็นการขยายโอกาสในการเข้าถึงการฟื้นฟูรักษาของผู้ป่วยในพื้นที่ห่างไกล ผศ.ดร.บรรยงค์ กล่าว
          อย่างไรก็ดี นวัตกรรม "I Walk" เป็นหนึ่งในผลงานของโครงการห้องปฏิบัติการออกแบบและพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ (CED2) โดยความร่วมมือกันระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะสหเวชศาสตร์ ภาควิชากายภาพบำบัด โดย อ.ดร.พัชรี คุณค้ำชู ซึ่งล่าสุด ได้รับโล่เกียรติยศ พร้อมประกาศนียบัตร ภายในงานประชุมวิชาการเรื่องวิศวกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพและเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ (i-CREATe 2015) ณ มหาวิทยาลัยนันยางเทคโนโลยี สาธารณรัฐสิงคโปร์ ผศ.ดร.บรรยงค์ กล่าวทิ้งท้าย
          โรคอัมพาตครึ่งซีก (Hemiplegic) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือด อันมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดในสมองตีบตัน (Cerebral thrombosis) แตก (Cerebral hemorrhage) หรือพบลิ่มเลือดอุดตัน (Cerebral embolus) ส่งผลให้เนื้อสมองบางส่วนที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของร่างกายหยุดสั่งงาน และเกิดอาการอัมพาตของร่างกายในซีกตรงกันข้าม กล่าวคือ หากการตีบตันของหลอดเลือดเกิดขึ้นในสมองซีกซ้าย ก็จะมีอาการอัมพาตที่ซีกขวา โดยโรคดังกล่าวจะพบในกลุ่มผู้สูงอายุและวัยกลางคนเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคดังกล่าว สามารถทำได้โดยบริโภคอาหารให้ถูกหลัก งดอาหารที่มีไขมันสูง ควบคุมน้ำหนัก เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ หมั่นตรวจเช็คสุขภาพเป็นประจำ ทั้งความดันโลหิตและไขมันในเลือด ฯลฯ 
          สำหรับสถานพยาบาล ศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชน ตลอดจนประชาชนที่สนใจ นวัตกรรมฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก
          (I Walk) สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต โทรศัพท์ 0-2564-3001 และ 02-564-4493 หรือเว็บไซต์ http://me.engr.tu.ac.th
ธรรมศาสตร์ เปิดตัว 'I Walk’ นวัตกรรมฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ลดต้นทุนนำเข้านวัตกรรมต่างชาติถึง 10 เท่า พร้อมต่อยอดเชิงพาณิชย์
 
ธรรมศาสตร์ เปิดตัว 'I Walk’ นวัตกรรมฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ลดต้นทุนนำเข้านวัตกรรมต่างชาติถึง 10 เท่า พร้อมต่อยอดเชิงพาณิชย์
ธรรมศาสตร์ เปิดตัว 'I Walk’ นวัตกรรมฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ลดต้นทุนนำเข้านวัตกรรมต่างชาติถึง 10 เท่า พร้อมต่อยอดเชิงพาณิชย์ ธรรมศาสตร์ เปิดตัว 'I Walk’ นวัตกรรมฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ลดต้นทุนนำเข้านวัตกรรมต่างชาติถึง 10 เท่า พร้อมต่อยอดเชิงพาณิชย์

ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+มหาวิทยาลัยธรรมศาสวันนี้

วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนัก... รวมใจ ให้โลหิต 1 พฤษภาคม วันแรงงานไทย May Day : Give Blood Save Lives — ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมหาวิทยา...

พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เ... สัญญาณเตือนระดับชาติ! มธ. ชี้ชัด "สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ" ตัวเร่งวิกฤตเศรษฐกิจไทย — พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เผยตัวเลขผู้สูงวัยเตรียมพุ่งสูง...

นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประธานเจ้าหน้า... แว่นท็อปเจริญ จับมือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนาม MOU ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต พัฒนาศักยภาพสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง — นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประ...

ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวย... สวทช. คว้า 2 รางวัลผลิตสื่อสร้างสรรค์จากเวที Commu Max Competition จากผลงาน Thailand's Food Bank และ Innovation Grows@TSP — ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนง...

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เผยผลการสำรวจ... มธ. เผย 'บัณฑิตธรรมศาสตร์' กวาดตำแหน่งงานในตลาดสูงถึง 92% ครอบคลุมกลุ่มสายสังคม วิทย์เทคโน วิทย์สุขภาพ พร้อมชี้ 'Soft Skills - ประสบการณ์ตรง' ทักษะเด่นบัณฑิต มธ. — มหาวิทยาลัย...