“ทีมพระสุเมรุ” 16 ปี ยืนหยัดเพื่อ BBOY หนุนเยาวชนรักการเต้น ลดพฤติกรรมเสี่ยง

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          บีบอยคือการเต้นชนิดหนึ่งที่เป็น element หนึ่งใน 4 ของ Hip-Hop ซึ่งได้แก่ MC , DJ , Graffiti และ B-boyกำเนิดจากชนท้องถิ่น American African และ Puerto Rican ใน South Bronx ของ New York city ประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วงต้นปี 1970 ด้วยอิทธิพลของเพลง Funk และเพลง Soul DJ Kool Herc เป็น DJ คนแรกที่เริ่มจัดBlock party เป็นครั้ง เพื่อให้วัยรุ่นในสมัยนั้น เข้ามาร่วมเต้นรำกันใน party ของเขาและเขาเป็นคนแรกที่ริเริ่มการmix และเล่นเพลงตัดต่อแบบสดๆอย่างต่อเนื่องจนเรียกกันว่าเป็นจังหวะ "Breakbeat" ซึ่งสามารถทำให้ ผู้เต้นสามารถโชว์ทักษะที่มีต่อเพลง ออกมาจากท่าเต้นได้ด้วยการเต้นได้กลายเป็นที่แพร่หลายในเวลาต่อมา B-boy ในยุคแรกเริ่มการเต้น นี่คือที่มาของการเต้นที่เรียกว่าบีบอย ในเมืองไทยมีกลุ่มคน BBOY กลุ่มหนึ่ง ที่ใช้ชื่อว่า "ทีมพระสุเมรุ" ที่เพิ่งจัดงานแข่งขันการประกวดเต้น BBOY ประจำปี 2559 ในโอกาสครบรอบ 16 ปี เพื่อเปิดพื้นที่ให้รุ่นน้องจากทั่วประเทศได้แสดงศักยภาพทางด้านการเต้นไปแบบสดๆ ร้อนๆ ณ ป้อมพระสุเมรุ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา 
          "ทีมพระสุเมรุ" ถือว่าเป็นกลุ่มแกนนำเยาวชนในเครือข่ายของมูลนิธิสยามกัมมาจล เป็นการรวมกลุ่มเยาวชนผู้รักดนตรี BBOY กลุ่มแรกๆ ของประเทศไทย ตลอดระยะเวลา 16 ปี ทาง "ทีมพระสุเมรุ" ได้เปิดพื้นที่สร้างสรรค์ให้เยาวชนผู้รักการเต้น ได้แสดงออกและพัฒนาศักยภาพด้านการเต้น เป็นการหนุนพลังด้านบวก ลดพฤติกรรมเสี่ยงให้แก่เยาวชนมาอย่างต่อเนื่อง นายบุญประเสริฐ ศาลางาม หรือที่รู้จักกันนาม "โอมาน" ในฐานะหัวหน้าทีมเล่าว่า การแข่งขันครั้งนี้ได้รับความสนใจจากเยาวชนทั่วประเทศเกินคาด จากวางไว้ 32 ทีม มีผู้เข้าแข่งขันถึง 64 ทีมด้วยกัน "โอมาน" ในฐานะที่คร่ำหวอดอยู่ในวงการบีบอย "โอมาน" การันตีว่าฝีมือของเด็กไทยก็ไม่น้อยหน้าชาวยุโรปแต่กลับไม่ได้รับการส่งเสริมจากคนไทยเท่าที่ควร "ผมคิดว่าถ้ามีการสนับสนุนการเต้นบีบอยเหมือนกับกีฬาประเภทอื่นๆ จะทำให้เด็กไทยมีความภูมิใจและสามารถทำเป็นอาชีพได้เหมือนกัน การสนับสนุนบีบอยนั้นไม่ต้องใช้งบประมาณเยอะมากแค่สปอนเซอร์ค่าเดินทาง ที่พัก อาหาร ถ้าไปแข่งขันแล้วชนะเลิศสร้างชื่อเสียงให้ประเทศได้ครับ ที่เมืองนอกเวลาเขาจ้างงานบีบอยครั้งละ 7-8 หมื่นเลยทีเดียว การเต้นบีบอยถ้าเก่งก็จะมีโอกาส เหมือนผมได้มีโอกาสเป็นแดนเซอร์ในคอนเสิร์ตพี่เบิร์ด(ธงไชย แมคอินไตย์) ได้เล่นมิวสิควิดีโอ เล่นหนัง เราเป็นเด็กธรรมดาคนหนึ่ง ถ้าเต้นไม่เก่ง ไม่มีความสามารถเราไม่สามารถไปอยู่ตรงนั้นได้ การเต้นบีบอยเป็นการลงทุนที่ถูกมาก แค่รักการเต้น ตรงไหนก็สามารถเต้นได้""
          นอกจาก "โอมาน" จะสอนการเต้นบีบอยให้กับน้องๆ ทุกวันจันทร์-พฤหัสฯ แบบฟรีๆ แล้ว สิ่งหนึ่งที่ "โอมาน" พร่ำสอนน้องๆ เสมอคือเรื่องการวางตัว การมีสัมมาคารวะ เคารพรุ่นพี่ รุ่นน้อง เห็นได้จากการจัดงานที่ผ่านมา ที่วัยุร่นมารวมตัวกันเป็นจำนวนมากแต่กลับไม่มีเรื่องทะเลาะวิวาทให้เห็น "ในสังคมบีบอยทุกคนจะมีสัมมาคารวะมาก แม้ไม่ได้อยู่ทีมเดียวกัน เขาก็จะศึกษาทางยูทูปว่าพี่คนนี้อายุเท่าไร แก่กว่าหรือเปล่า เวลาเจอกันไม่รู้จักกัน เขาก็จะคุยแบบมีสัมมาคารวะ ในสังคมบีบอยใครทำตัวไม่ดี พอไปงานก็จะคนพูดกันแป๊บเดียวก็รู้กันทั่ว สักพักคนนี้ก็จะถูกผลักให้ออกจากกลุ่มไปเลย ในสังคมบีบอยพวกเราจะช่วยสอนน้องๆ ในเรื่องของการใช้ชีวิตและนิสัยด้วยเช่นเวลาไปทำกิจกรรม หรือ ไปงาน ก็จะไม่มีใครกล้าทำอะไรไม่ดี เพราะว่าถ้าทำแล้วคนมองว่าคนนี้แบดบอย นิสัยไม่ดี คนจะจำและจะอยู่ในสังคมนี้ไม่ได้อีกเลย และการที่น้องๆ มารวมกลุ่มกับเพื่อนๆ คนเยอะๆ มีตัวอย่างให้เห็นเยอะ ทั้งตัวอย่างดีและไม่ดี เราก็สามารถสอนเขาได้ ซึ่งเราบอกเสมอ เช่น เต้นที่ไหนก็เต้นได้แต่เรียนต้องเรียนอยู่ที่เดียวให้จบ ก็จะสอนด้วยการใช้ประสบการณ์จากชีวิตจริงของรุ่นพี่นั่นเอง"
          สิ่งหนึ่งที่โอมานอยากฝากไว้ว่า อยากให้มองว่าการเต้นบีบอย ก็เหมือนการออกกำลังกายแบบหนึ่ง โดยเฉพาะถ้าหากสามารถผลักดันเข้าสู่ชั้นเรียน เป็นกิจกรรมในช่วงวิชาพละ จะทำให้เด็กๆ ชื่นชอบและได้ฝึกฝนร่างกายให้แข็งแรงด้วย "ผมว่าบีบอยถ้าอยู่ในห้องเรียน ไปกับวิชาพละจะทำให้เด็กๆ ไม่เบื่อด้วย เพราะเด็กๆ ชอบ และเป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับร่างกายด้วย ผมอยากให้ทุกคนมองว่าบีบอยก็คือการออกกำลังกายแบบหนึ่ง และอยากให้มีการส่งเสริมตรงนี้ เพราะบีบอยไม่ได้แค่ความสนุก แต่ยังทำให้ร่างกายแข็งแรงอีกด้วย"
          ภาพของนักเต้นบีบอยมักถูกมองด้านลบเสมอ แต่สำหรับ "ซีซ่า" นายธีรปกรณ์ ศรีบาลแจ่ม อายุ 30 ปี ที่เพิ่งเรียนจบปริญญาโท ที่ม.ศิลปากร ซึ่งเป็นสมาชิกทีมพระสุเมรุกว่า 7 ปี ก็ยืนยันว่า การเต้นบีบอยช่วยให้เขาได้อะไรมากกว่าแค่การเต้น "การเต้นบีบอยสำหรับผมตอนนี้เป็นการออกกำลังกายไปแล้ว เมื่อก่อนที่เราเต้นเพื่อแข่งขัน ชีวิตก็จะโฟกัสเรื่องการเต้น เต้นท่าอะไร วางแผนเกี่ยวกับเต้น ทำให้เรามีเป้าหมายในชีวิต การเต้นบีบอยช่วยเรื่องการวางตัวในสังคมให้ผมได้เป็นอย่างดี ถ้าทุกวันนี้ผมไม่รู้จักการเต้นผมอาจจะกลายเป็นเด็กติดเกมไปแล้วก็ได้"
          นายมารุต คาลเมนสาท หรือ ไบรอัน อายุ 19 ปี ที่เพิ่งจบม. 6 ที่อัสสละฟียะฮ์ วิทยาลัย เรียกว่าเป็นกลุ่มYoung Blood ของทีมพระสุเมรุ มาเรียนเต้นตั้งแต่อายุ 12 ปี โดยแม่เป็นผู้เปิดโอกาสให้ "แม่ผมเคยมาเที่ยวที่ป้อมฯ และเจอกลุ่มบีบอยเขาเห็นว่าผมอยากเต้นก็เลยพามาฝากเต้นที่นี่ ที่แม่พามาเพราะไม่อยากให้ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด แม่บอกทำอะไรก็ได้ที่ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เช่น กีฬา แต่ผมชอบเต้น แม่ก็เลยสนับสนุน หลังเลิกเรียนผมกับน้องก็จะมาซ้อมเต้นที่นี่ทุกวัน สิ่งที่บีบอยให้ผมคือ ผมได้รู้จักเพื่อนหลายกลุ่ม ได้รู้จักคนเยอะมาก ได้รู้จักความสามัคคีในการแข่งขัน มันก็เหมือนกับทีมบอลทีมหนึ่งครับ ถ้าไม่สามัคคี ไม่มีการซ้อม ไม่มีการคุย ไม่มีโคชที่คอยดูแลเราแบบนี้ การเต้นบีบอยก็จะพังไปหมดเลย"
          "ไบรอัน" บอกว่าการเต้นบีบอยทำให้ได้เหมือนได้ครูเพิ่มมาอีกหนึ่งคน "เรามีครูจากโรงเรียนแล้ว ที่สอนตามวิชา แต่มาที่นี่เราสงสัยอะไรก็ถามได้เลย เช่น เรื่องการเข้าหาคน พี่เขาจะสอนว่าการเข้าหาคนไม่ใช่เป็นเรื่องน่าเกลียด หรืออาย การก้มสวัสดี ถึงแม้ว่าเขาจะอายุน้อยก็เป็นเรื่องดี เรื่องการเขินอายพี่เขาบอกว่าเหมือนเราเป็นนักแสดงถ้าเราไม่ขึ้นไปแสดงคนดูก็จะเสียใจตั้งแต่นั้นมาผมก็กล้าขึ้นไปเลย แม่ผมภูมิใจ 2-3 ปี ที่ผ่านมา ผมไม่ได้ขอเงินแม่เลยได้เงินจากการเต้น งานอีเว้นท์ โฆษณา งานแสดง มาเป็นค่าเทอม" สุดท้ายไบรอันบอกว่าความฝันของตัวเองอยากเรียนต่อด้านซาวด์เอ็นจิเนียร์ หรือเกี่ยวกับการเต้น การแสดงเพื่อต่อเติมทักษะด้านการเต้นของตัวเอง
          "การเต้นบีบอย" ที่ใครๆ ก็คิดว่าเป็นแบดบอยในสายตาคนภายนอก แต่เมื่อได้เข้าไปสัมผัสแล้วกลับพบว่ากลายเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ให้กับเยาวชนได้อีกทางหนึ่ง หากผู้ใหญ่จะเปิดใจกว้าง ยอมรับ และหนุนเสริมกิจกรรมดีๆ น่าจะเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่เยาวชนสามารถแสดงความสามารถได้อย่างถูกทาง
“ทีมพระสุเมรุ” 16 ปี ยืนหยัดเพื่อ BBOY หนุนเยาวชนรักการเต้น ลดพฤติกรรมเสี่ยง
 
“ทีมพระสุเมรุ” 16 ปี ยืนหยัดเพื่อ BBOY หนุนเยาวชนรักการเต้น ลดพฤติกรรมเสี่ยง
 
 

ข่าวมูลนิธิสยามกัมมาจล+มูลนิธิสยามกัมมาจวันนี้

เนคเทค สวทช. จับมือพันธมิตร ชูผลงานเยาวชน สร้างนวัตกรรม Project Based Learning ในโครงการ"ต่อกล้าอาชีวะ" ประจำปี 2564 (Agritronics @ R-Cheewa)

ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (เนคเทค สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) พร้อมหน่วยงานพันธมิตร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมปิดโครงการ "ต่อกล้าอาชีวะ" ประจำปี 2564 (Agritronics @ R-Cheewa) โดยคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดพร้อมมอบโล่และเกียรติบัตรให้แก่ 15 ผลงาน ที่เข้าร่วมโครงการฯ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนค

5 เมษายน 2565 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขต... ติดอาวุธเด็ก Gen R ด้วยทักษะโรงงานอัจฉริยะ ในเวที IoT Hackathon 2022 พร้อมส่งต่ออุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC — 5 เมษายน 2565 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิ...

ก้าวผ่านโควิด-19 ร่วมสร้างการเรียนรู้วิถี... เสวนาออนไลน์ : ล็อกดาวน์ ไม่ล็อกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 บทเรียน "ครูสามเส้า" กรณีศึกษา เครือข่ายโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดสตูล — ก้าวผ่านโควิด-19...

เสวนาออนไลน์ การศึกษา ที่ ผู้บริหารโรงเรี... เสวนาออนไลน์ "ล็อกดาวน์ ไม่ล็อกการเรียนรู้" EP#2 : "สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างทุกคนให้เป็นครูกล้าเรียนรู้ด้วยตัวเอง"`- Inclusive Education — เสวนาออนไลน...

ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่เอ่ยถึงการศ... ชุมชนการเรียนรู้ "ครูเพื่อศิษย์" PLC-Coaching ครูและศิษย์ต้องไม่ตกหลุมการเรียนรู้แบบผิวเผิน — ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่เอ่ยถึงการศึกษาไทยซึ่งว่ากันว...

เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม หรือ ... สสส. หนุนพลังนิสิตนักศึกษาด้านการออกแบบสู่นักสื่อสารสุขภาวะรุ่นใหม่ ปักธงดึงสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศบูรณาการสหวิชาชีพพัฒนาสื่อเพื่อประเทศไทยน่าอยู่ — เครือข่ายมห...

“UNC The Exhibition” 26-28 ต.ค. ดิ เอ็มควอเทียร์

เครือข่ายมหาวิทยาลัยสร้างสรรค์สังคม (University Network For Change : UNC) ร่วมกับ สสส.สำนักงานกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สภาคณบดีทางศิลปะแห่งประเทศไทย องค์กรภาคี ภาคประชาสังคม มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จัดนิทรรศการ "UNC...

จากเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่จากการชำรุดขอ... ภาพข่าว: ไทยพาณิชย์ร่วมส่งความห่วงใยและความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยสปป.ลาว ส่งมอบเงินบริจาคจากประชาชน 4.4 ล้านบาทและธนาคารร่วมบริจาคอีก 1 ล้านบาท — จากเหตุการณ...

หากขณะนี้ประเทศไทยได้วางอนาคตให้กับเด็กรุ... “ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย 4.0 โดยผ่านเรื่องราวชุมชนท้องถิ่น” — หากขณะนี้ประเทศไทยได้วางอนาคตให้กับเด็กรุ่นใหม่ คือ อยากเห็นเด็กและเยาวชนเป็นต้นแ...

UNC ปี 5 เดินเครื่อง 12 มหาวิทยาลัยผนึกกำ... UNC ปี 5 สะท้อน“นักศึกษา” ยังสนใจปัญหาสังคมใกล้ตัว มูลนิธิสยามกัมมาจล — UNC ปี 5 เดินเครื่อง 12 มหาวิทยาลัยผนึกกำลัง จัดกระบวนพานักศึกษาร่วมเรียนรู้โจทย์จ...