สุขภาพสูญเสีย บ้านเรือนสูญสิ้น: มรดกแห่งเชอร์โนบิลและฟุกุชิมะ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ผู้รอดชีวิตจากหายนะภัยนิวเคลียร์เชอร์โนบิลยังคงกินอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่เกินกว่าระดับที่ยอมรับได้มาเป็นระยะเวลา 30 ปี หลังเกิดหายนะภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ผลักดันให้ประชาชนหลายร้อยหลายพันคนต้องละทิ้งบ้านและถิ่นฐานของตัวเอง
          รายงานของกรีนพีซสากลเรื่อง "รอยแผลนิวเคลียร์: มรดกแห่งเชอร์โนบิลและฟุกุชิมะที่ยังคงอยู่" ระบุว่าหายนะภัยจากโรงไฟฟ้าฟุกุชิมะและเชอร์โนบิลยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคนนับล้าน รายงานยังประมวลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ประวัติของผู้รอดชีวิต และผลการวัดระดับรังสีที่สำรวจโดยกรีนพีซ ในญี่ปุ่น ยูเครน และรัสเซีย
          "ยังไม่เห็นว่าวิกฤตนี้จะยุติลงสำหรับชุมชนที่ฟุกุชิมะ คนเกือบแสนคนยังไม่สามารถกลับบ้านและคนจำนวนมากที่ไม่มีทางกลับเข้าไปได้" จุนอิชิ ซาโตะ ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซญี่ปุ่นกล่าว "อุตสาหกรรมนิวเคลียร์และรัฐบาลทั่วโลก พยายามชักจูงในทางที่ผิดว่าผู้คนสามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติหลังเกิดอุบัติภัยนิวเคลียร์ แต่หลักฐานต่างๆ เปิดเผยให้เห็นว่านี่เป็นเพียงวาทะทางการเมืองไม่ใช่ความจริงทางวิทยาศาสตร์"
          ผลการศึกษาของกรีนพีซระบุว่ารัฐบาลได้ลดการป้องกันรังสีทั้งในญี่ปุ่นและในพื้นที่ของประเทศที่มีปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิล โครงการติดตามตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อมและอาหารถูกตัดลงในพื้นที่เชอร์โนบิล ในขณะที่ญี่ปุ่นต้องการให้คนอพยพออกมาจากบ้านส่วนใหญ่กลับเข้าไปได้ภายในปี 2560 แม้ว่าชุมชนของพวกเขายังมีการปนเปื้อนกัมมันตรังสีอยู่ กรีนพีซเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนทางการเงินอย่างเหมาะสมแก่ผู้ที่รอดชีวิตจากหายนะภัยนิวเคลียร์เชอร์โนบิลและฟุกุชิมะ
          ผลการการตรวจสอบรังสีพบว่าพื้นที่ป่ารอบเชอร์โนบิลและฟุกุชิมะกลายเป็นแหล่งที่มีการสะสมสารกัมมันตรังสี กรีนพีซกล่าวว่าป่าไม้ที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีทำให้ชุมชนใกล้เคียงมีความเสี่ยงจากการสัมผัสหรือเกิดการปนเปื้อนขึ้นใหม่
          การสำรวจยังพบว่ามีผลกระทบด้านสุขภาพของคนในชุมชนที่ฟุกุชิมะและเชอร์โนบิล ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนรอบโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิล อัตราการเสียชีวิตของคนสูงกว่า อัตราการเกิดต่ำกว่า การเกิดโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น และปัญหาสุขภาพจิตเกิดขึ้นในวงกว้าง[1] ในฟุกุชิมะ พบการเกิดโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ในเด็กซึ่งไม่อาจลงรายละเอียดได้ทั้งหมดจากการตรวจหาในขอบเขตกว้าง และเกือบหนึ่งในสามของมารดาที่อาศัยอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เตาฏิกรณ์ถูกทำลายมีอาการซึมเศร้า[2]
          "ชีวิตของคนนับล้านเปลี่ยนแปลงหลังหายนะภัยฟุกุชิมะและเชอร์โนบิล เราไม่ควรลืมความทุกข์ทรมานมหาศาลซึ่งหายนะภัยทั้งสองนี้ยังคงทำให้เกิดขึ้นต่อไปอีก เราจำเป็นต้องเร่งเอาพลังงานนิวเคลียร์ออกไปและมุ่งหน้าสู่ระบบพลังงานหมุนเวียนเต็มร้อย มีเพียงระบบพลังงานที่สะอาดและปลอดภัย ที่สามารถตอบสนองความต้องการพลังงานของโลกได้" ฌอน แพทริค สเต็นซิล นักวิเคราะห์อาวุโสด้านพลังงาน จากกรีนพีซ กล่าว
          ห้าปีหลังจากหายนะภัยนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ผู้คนกว่าแสนคนยังไม่ได้กลับบ้าน สามสิบปีหลังเหตุการณ์หายนะภัยนิวเคลียร์เชอร์โนบิล ผู้คนกว่าห้าล้านคนต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่ปนเปื้อนรังสี

หมายเหตุ
          [1] รายงานกรีนพีซสากล ปี 2558 เรื่อง "รอยแผลนิวเคลียร์: มรดกแห่งเชอร์โนบิลและฟุกุชิมะที่ยังคงอยู่" บทที่ 3:http://www.greenpeace.org/international/Global/international/publications/nuclear/2016/Nuclear_Scars.pdf
          [2] รายงานกรีนพีซสากล ปี 2558 เรื่อง "รอยแผลนิวเคลียร์: มรดกแห่งเชอร์โนบิลและฟุกุชิมะที่ยังคงอยู่" หน้า 26-27:
http://www.greenpeace.org/international/Global/international/publications/nuclear/2016/Nuclear_Scars.pdf


ข่าวภัยนิวเคลียร์+วิทยาศาสตร์วันนี้

ปส. จับมือ IAEA และ 14 องค์กรความมั่นคงนิวเคลียร์ไทย ประเมินภัยคุกคามและแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยนิวเคลียร์ของประเทศ

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) จัดประชุมระดับประเทศ เรื่อง "การดำเนินการตามแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2 National Design Basis Threat: Evaluation" หวังประเมินข้อมูลภัยคุกคามและดำเนินการตามแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยนิวเคลียร์ของประเทศให้มีความพร้อมและสามารถใช้งานได้จริง ช่วยเสริมความเข้มแข็งในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของไทยอย่างสอดคล้องและรอบด้าน โดยมี 14

นางสุชิน อุดมสมพร ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร... ปส. จับมือ IAEA อบรมยุทธศาสตร์ความปลอดภัยนิวเคลียร์และรังสี — นางสุชิน อุดมสมพร ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ได้รับมอบหมายจาก นางสาววิไลวรรณ ตันจ้อย ...

ในวาระครบรอบหายนะภัยฟุกุชิมะ รัฐบาลญี่ปุ่นให้ผู้คนกลับถิ่นฐานเดิมที่ยังคงปนเปื้อนรังสี

วันนี้ กรีนพีซรำลึกถึงหายนะภัยแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งรุนแรงที่สุดของญี่ปุ่น (The Great East Japan Earthquake and Tsunami) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหกปีก่อน โดยมีผู้เสียชีวิตในครั้งนั้นมากกว่า 15,000 คน ...

หายนะภัยนิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะยังวิกฤตต่อเนื่อง กรีนพีซเรียกร้องความรับผิดชอบ

วันนี้ กรีนพีซร่วมรำลึกถึงหายนะภัยนิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ ในโอกาสครบรอบ 5 ปี พร้อมเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องรับผิดชอบต่อปัญหาที่ยังดำรงอยู่ โศกนาฏกรรมในวันนั้นนำไปสู่การหลอมละลายของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 3 เครื่อง ที่โรง...

ปฏิทินข่าวกิจกรรมประจำวันนี้(5 มีนาคม 2555)

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม 2555 08.30 น. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และวัดสระเกศราช วรมหาวิหาร จัดพิธีเปิดงานวันมาฆบูชา ณ อุโบสถ วัด สระเกศฯ ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร 09.00 น. 16.00 น. BrainAsset จัดอบรม ในหัวข้อ การบริหารลูกค้ารายใหญ่ (รุ่นที่ 9) ณ โรง...

ปฏิทินข่าวกิจกรรมประจำวันพรุ่งนี้(5 มีนาคม 2555)

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม 2555 08.30 น. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และวัดสระเกศราช วรมหาวิหาร จัดพิธีเปิดงานวันมาฆบูชา ณ อุโบสถ วัด สระเกศฯ ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร 09.00 น. 16.00 น. BrainAsset จัดอบรม ในหัวข้อ การบริหารลูกค้ารายใหญ่ (รุ่นที่ 9) ณ ...

กรีนพีซ จัดกิจกรรม "รำลึกฟูกูชิมา อย่าปล่อยให้อุบัติภัยนิวเคลียร์ซ้ำรอย"

หนึ่งปีผ่านไป เราได้เรียนรู้บทเรียน “หายนะภัยนิวเคลียร์ ฟูกูชิมา” หรือไม่? อย่างไร? หาคำตอบได้ในกิจกรรม “รำลึกฟูกูชิมาอย่าปล่อยให้อุบัติภัยนิวเคลียร์ซ้ำรอย” วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม 2555 จุดนัดพบ : ลานหน้าโตคิว มาบุญครอง เวลา 12.00...

กรีนพีซจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย “ดินแดนในเงาหม่น(Shadowlands)” เปิดเผยความสูญเสียจากอุบัติภัยนิวเคลียร์ฟูกูชิมา

กรีนพีซจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย “ดินแดนในเงาหม่น” ซึ่งสะท้อนผลกระทบ ของอุบัติภัยนิวเคลียร์ที่ฟูกูชิมาและสถานการณ์ของผู้คนที่ต้องอพยพย้ายถิ่นจากวิกฤตครั้งนี้ และเป็นคำเตือนว่าอุบัติภัยนิว...