ในวาระครบรอบหายนะภัยฟุกุชิมะ รัฐบาลญี่ปุ่นให้ผู้คนกลับถิ่นฐานเดิมที่ยังคงปนเปื้อนรังสี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          วันนี้ กรีนพีซรำลึกถึงหายนะภัยแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งรุนแรงที่สุดของญี่ปุ่น (The Great East Japan Earthquake and Tsunami) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อหกปีก่อน โดยมีผู้เสียชีวิตในครั้งนั้นมากกว่า 15,000 คน และผู้รอดชีวิตอีกหลายหมื่นคนยังผจญกับหายนะภัยนิวเคลียร์จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ
          ปีนี้เป็นปีแรกที่มีการเปิดพื้นที่ที่เคยปนเปื้อนรังสีอย่างหนักในเขตอันตรายห้ามเข้า ที่เรียกว่า แอเรีย 1 และ 2 (Area 1, 2) ให้ประชาชนกลับเข้าไปอยู่อาศัยเช่นเดิม แม้ว่าหลายพื้นที่ ซึ่งมีการขจัดการปนเปื้อนรังสีไปเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว การปนเปื้อนรังสียังอยู่ในระดับที่เกินค่าการปนเปื้อนในระยะยาว ระดับรังสีในพื้นที่ป่าโดยรอบนั้นเทียบเท่ากับระดับรังสีในปัจจุบันในเขตอันตรายห้ามเข้ารัศมี 30 กิโลเมตรที่เชอร์โนบิล ซึ่งแม้ว่าหายนะภัยที่เชอร์โนบิลจะผ่านมาแล้วมากกว่า 30 ปี แต่พื้นที่อันตรายยังปิดตายถาวรสำหรับการกลับเข้าไปอยู่อาศัย
          "ในการผลักดันอุตสาหกรรมนิวเคลียร์ รัฐบาลนายอาเบะนั้นพยายามสร้างมายาคติว่า หายนะภัยจากนิวเคลียร์นั้นจัดการได้ และทุกคนในฟุกุชิมะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่จากการสำรวจของเรา มันไม่ได้เป็นเช่นนั้นเลย" ยูโกะ โยเนดะ ผู้อำนวยการบริหาร กรีนพีซญี่ปุ่นกล่าว [1]
          "ชาวฟุกุชิมะตกอยู่ในหายนะภัยที่รัฐบาลของตัวเองเป็นผู้ก่อ ประการแรกคือ รัฐบาลล้มเหลวในการจัดการปัญหา ทั้งการวางแผนมาตรการฉุกเฉิน และความปลอดภัยทางนิวเคลียร์ และล่าสุดคือนโยบายการย้ายถิ่นฐาน(กลับไปในพื้นที่ปนเปื้อน) เรากำลังเป็นห่วงสิทธิของประชาชนที่กำลังถูกละเมิดทั้งด้านสุขภาพ ที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมจากนโยบายที่จงใจดังกล่าวนี้ โดยผู้หญิงและเด็กจะได้รับผลกระทบที่สุด"
          คำสั่งอพยพที่เคยประกาศใช้กับหมู่บ้านอิตาเตะ จะถูกยกเลิกภายใน 31 มีนาคม 2560 หมู่บ้านแห่งนี้อยู่ห่างจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไดอิจิ 30 - 50กิโลเมตร และมีการปนเปื้อนรังสีอย่างหนัก หนึ่งปีหลังจากนั้น รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยให้ทุกครัวเรือน ที่ต้องอพยพย้ายถิ่น
          ผลการสำรวจล่าสุดของกรีนพีซญี่ปุ่น พบปริมาณรังสีในบ้านเรือนหลายหลังในหมู่บ้านอิตาเตะอยู่ในระดับสูงกว่าที่รัฐบาลระบุถึงความเสี่ยงของการปนเปื้อนรังสีในระยะยาว ซึ่งหมายถึงระดับรังสีที่วัดได้รายปีและตลอดชั่วอายุขัย ที่จะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อประชาชนผู้กลับเข้าไป บ้านหลายหลังในหมู่บ้านอิตาเตะ พบปริมาณรังสีมากพอที่คนๆหนึ่งต้องเอ็กซเรย์ปอดทุกสัปดาห์
          รัฐบาลญี่ปุ่นแถลงการณ์ยืนยันเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า ยังไม่มีการประเมินความเสี่ยงจากการรับรังสีตลอดอายุขัยของประชาชนที่กลับเข้าไปอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านอิตาเตะ
          "เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ในโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของญี่ปุ่นส่วนใหญ่ไม่ทำงาน ตลอดหกปีที่ผ่านมา หลังจากเกิดหายนะภัยฟุกุชิมะ แต่แทนที่รัฐบาลจะเรียนรู้จากหายนะภัยดังกล่าว รัฐบาลนายอาเบะกลับผลักดันให้เดินเครื่องเตาปฏิกรณ์อีกครั้ง นโยบายนี้ทำให้ญี่ปุ่นตกอยู่ในวงจรของพลังงานที่อันตรายและสกปรกไปอีกหลายสิบปี" โยเนดะ กล่าว "เราจำเป็นต้องลด ละ เลิกพลังงานนิวเคลียร์โดยเร่งด่วนและมุ่งสู่พลังงานหมุนเวียนที่เต็มร้อยซึ่งเป็นแนวทางเดียวที่ปลอดภัยและสะอาด และตอบสนองความต้องการพลังงานของญี่ปุ่นได้อย่างแท้จริง"
          กรีนพีซเรียกร้องให้รัฐบาลญี่ปุ่น จัดสรรความช่วยเหลือทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบให้กับผู้ประสบภัย และเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสทั้งหมด เกี่ยวกับความเสี่ยงต่างๆ เพื่อผู้ประสบภัยเหล่านั้น ไม่ต้องตกอยู่ในภาวะที่ถูกบังคับให้ย้ายกลับ ด้วยเหตุผลที่ต้องการเงินช่วยเหลือ หรือได้รับข้อมูลด้านความปลอดภัยมาอย่างผิดๆ รัฐบาลต้องกำหนดมาตรการลดความเสี่ยงจากการรับรังสีให้อยู่ในระดับต่ำที่สุด เพื่อปกป้องสุขภาพของประชาชนและ เพื่อให้ประชาชนตัดสินใจได้เองว่า จะกลับหรือไปตั้งถิ่นใหม่ โดยไม่ต้องถูกข่มขู่ทางกฏหมาย หรือถูกบีบบังคับทางการเงิน [3]
          วันนี้ กรีนพีซได้ยื่นจดหมายลงรายละเอียดเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ประสบภัยฟุกุชิมะ ให้รัฐบาลญี่ปุ่น ผ่านสถานทูตญี่ปุ่นในกรุงเฮลซิงกิ ปารีส บรัสเซลล์ส์ เซ้นท์ปีเตอร์สเบิร์ก และ เวียนนา

หมายเหตุ:
          [1] ผลกระทบที่ไม่เท่าเทียม: การละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงและเด็ก และ หายนะภัยนิวเคลียร์ฟูกุชิมะไดอิจิ
          [2] ไม่อาจกลับคืนเป็นอย่างเดิม: กุมภาพันธ์ 2560 - กรีนพีซ กรณีตัวอย่างหมู่บ้านอิตาเตะ 
          [3] กรีนพีซสากล รณรงค์ร่วมลงชื่อสนับสนุนสิทธิของผู้ประสบหายนะภัยนิวเคลียร์


ข่าวภัยนิวเคลียร์+แผ่นดินไหววันนี้

ปส. จับมือ IAEA และ 14 องค์กรความมั่นคงนิวเคลียร์ไทย ประเมินภัยคุกคามและแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยนิวเคลียร์ของประเทศ

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) จัดประชุมระดับประเทศ เรื่อง "การดำเนินการตามแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ ครั้งที่ 2 National Design Basis Threat: Evaluation" หวังประเมินข้อมูลภัยคุกคามและดำเนินการตามแผนสนับสนุนความมั่นคงปลอดภัยนิวเคลียร์ของประเทศให้มีความพร้อมและสามารถใช้งานได้จริง ช่วยเสริมความเข้มแข็งในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์ของไทยอย่างสอดคล้องและรอบด้าน โดยมี 14

นางสุชิน อุดมสมพร ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร... ปส. จับมือ IAEA อบรมยุทธศาสตร์ความปลอดภัยนิวเคลียร์และรังสี — นางสุชิน อุดมสมพร ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน ได้รับมอบหมายจาก นางสาววิไลวรรณ ตันจ้อย ...

หายนะภัยนิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะยังวิกฤตต่อเนื่อง กรีนพีซเรียกร้องความรับผิดชอบ

วันนี้ กรีนพีซร่วมรำลึกถึงหายนะภัยนิวเคลียร์ที่ฟุกุชิมะ ในโอกาสครบรอบ 5 ปี พร้อมเรียกร้องให้ผู้เกี่ยวข้องรับผิดชอบต่อปัญหาที่ยังดำรงอยู่ โศกนาฏกรรมในวันนั้นนำไปสู่การหลอมละลายของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ 3 เครื่อง ที่โรง...

สุขภาพสูญเสีย บ้านเรือนสูญสิ้น: มรดกแห่งเชอร์โนบิลและฟุกุชิมะ

ผู้รอดชีวิตจากหายนะภัยนิวเคลียร์เชอร์โนบิลยังคงกินอาหารที่ปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่เกินกว่าระดับที่ยอมรับได้มาเป็นระยะเวลา 30 ปี หลังเกิดหายนะภัยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่ผลักดันให้ประชาชนหลายร้อยหลายพันคนต้องละทิ้งบ้านและถิ่นฐานของตัวเอง...

ปฏิทินข่าวกิจกรรมประจำวันนี้(5 มีนาคม 2555)

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม 2555 08.30 น. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และวัดสระเกศราช วรมหาวิหาร จัดพิธีเปิดงานวันมาฆบูชา ณ อุโบสถ วัด สระเกศฯ ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร 09.00 น. 16.00 น. BrainAsset จัดอบรม ในหัวข้อ การบริหารลูกค้ารายใหญ่ (รุ่นที่ 9) ณ โรง...

ปฏิทินข่าวกิจกรรมประจำวันพรุ่งนี้(5 มีนาคม 2555)

วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม 2555 08.30 น. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) และวัดสระเกศราช วรมหาวิหาร จัดพิธีเปิดงานวันมาฆบูชา ณ อุโบสถ วัด สระเกศฯ ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร 09.00 น. 16.00 น. BrainAsset จัดอบรม ในหัวข้อ การบริหารลูกค้ารายใหญ่ (รุ่นที่ 9) ณ ...

กรีนพีซ จัดกิจกรรม "รำลึกฟูกูชิมา อย่าปล่อยให้อุบัติภัยนิวเคลียร์ซ้ำรอย"

หนึ่งปีผ่านไป เราได้เรียนรู้บทเรียน “หายนะภัยนิวเคลียร์ ฟูกูชิมา” หรือไม่? อย่างไร? หาคำตอบได้ในกิจกรรม “รำลึกฟูกูชิมาอย่าปล่อยให้อุบัติภัยนิวเคลียร์ซ้ำรอย” วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม 2555 จุดนัดพบ : ลานหน้าโตคิว มาบุญครอง เวลา 12.00...

กรีนพีซจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย “ดินแดนในเงาหม่น(Shadowlands)” เปิดเผยความสูญเสียจากอุบัติภัยนิวเคลียร์ฟูกูชิมา

กรีนพีซจัดแสดงนิทรรศการภาพถ่าย “ดินแดนในเงาหม่น” ซึ่งสะท้อนผลกระทบ ของอุบัติภัยนิวเคลียร์ที่ฟูกูชิมาและสถานการณ์ของผู้คนที่ต้องอพยพย้ายถิ่นจากวิกฤตครั้งนี้ และเป็นคำเตือนว่าอุบัติภัยนิว...