ปัจจุบันสถานการณ์โรคไตทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ สำหรับในประเทศไทยข้อมูลจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย (Thai -SEEK Project) พบว่าความชุกของคนไข้โรคไตเสื่อมเรื้อรัง (CKD) ประมาณ 17.6 % ในปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรังประมาณ 8 ล้านคน ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (ESRD) ที่ต้องรอการบำบัดทดแทนไต เช่น การล้างไต การเปลี่ยนไต อยู่เป็นจำนวนมาก และในแต่ละปีจะมีคนเป็นโรคไตเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 7,000- 10,000 คน จากข้อมูลพบว่าผู้ป่วยโรคไตมักจะมีภาวะแทรกซ้อนทางด้านหัวใจและหลอดเลือด ทำให้มีอัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง อีกทั้งค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคไตค่อนข้างมาก ทำให้มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการรักษา หน่วยงานต่างๆ ทั่วโลกจึงได้จัดกิจกรรมเพื่อรณรงค์ให้เห็นความสำคัญของโรคไต และเพื่อหาแนวทางป้องกัน เพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรคไตในระยะยาว โดยในวันพฤหัสบดีสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมีนาคมของทุกๆ ปี ได้ถูกกำหนดให้เป็นวัน ไตโลก (world kidney day) ซึ่งในปีนี้ ทางสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการจัดกิจกรรมและรณรงค์ ภายใต้คำขวัญที่ว่า "โรคไตเป็นได้ตั้งแต่เด็ก รู้แต่เล็กป้องกันได้" โดยมุ่งเน้นโรคไตในเด็กเป็นสำคัญ เนื่องจากปัจจุบันเริ่มมีผู้ป่วยไตซึ่งอายุน้อยลงไปเรื่อยๆ สาเหตุอาจเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป คนส่วนใหญ่ไม่มีเวลา ต้องทานอาหารนอกบ้าน อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน ต่างๆ ซึ่งมีการปรุงแต่งโดยคำนึงถึงรสชาติมากกว่าสุขภาพของผู้บริโภค สำนักโภชนาการ กรมอนามัย สำรวจพบว่าคนไทยมีการบริโภคเกลือหรือโซเดียมสูงเกินปริมาณแนะนำถึง 2 เท่า ซึ่งทำให้มีผลกระทบต่อไตตามมาได้
นพ.สุรวัฒน์ อดิเรกเกียรติ อายุรแพทย์โรคไต โรงพยาบาลปิยะเวท กล่าวว่า "หน้าที่สำคัญของไต คือ การขับของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย ควบคุมความสมดุลย์ของเกลือแร่และน้ำในร่างกายให้อยู่ในภาวะปกติ นอกจากนี้ไตยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ ด้วย เช่น การสร้างวิตามินดี (vitamin D) เพื่อช่วยควบคุมระดับแคลเซียมในร่างกาย รวมถึงการสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอิทิน (erythropoietin) เพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดแดง และการหลั่งเอนไซม์เรนิน (renin) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมความดันโลหิต ส่วนอาการของโรคไต เริ่มจากตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติอะไรเลย บางคนมีอาการบวม ปัสสาวะผิดปกติ ปัสสาวะบ่อยตอนกลางคืน โลหิตจาง อ่อนเพลีย จนกระทั่งมีการคั่งของของเสียมากทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เกิดภาวะชัก และหากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและเสียชีวิตตามมาได้ จากสถิติของคนไข้โรคไตในผู้ใหญ่ เราพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไตอักเสบ นอกจากนั้น สาเหตุอื่นๆ ที่พบได้แก่ นิ่วที่ไต เก๊าท์ หรือยาที่มีผลกระทบต่อไต เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ที่เราเรียกว่า NSAID และกลุ่มยาสมุนไพรที่ไม่ทราบสรรพคุณที่ชัดเจน สำหรับการรักษาโรคไตนั้น ในผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง ควรหมั่นพบแพทย์ให้สม่ำเสมอเพื่อปรับยาเพื่อช่วยชะลอความเสื่อมของไต และควรควบคุมเบาหวาน และความดัน ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนคนทั่วไปที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง แนะนำให้ตรวจสุขภาพร่างกายประจำปี ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงยาที่ไม่จำเป็น ดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณ 1.5-2 ลิตรต่อวัน ลดอาหารเค็มเพราะทำให้ไตทำงานหนัก และทำให้บวมและมีความดันโลหิตสูง
สำหรับคำแนะนำทั่วไปในการเลือกรับประทานนั้น คุณหมอแนะนำว่า ควรหลีกเลี่ยงอาหารเค็มหรือลดปริมาณการใช้สารปรุงรสในอาหาร เช่น เกลือ ผงชูรส น้ำปลา ซีอิ๋วหรือซอสต่างๆ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารประเภทผลไม้แช่อิ่ม อาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป บางครั้งอาหารบางอย่างไม่มีรสชาติเค็มแต่มีส่วนประกอบของโซเดียมอยู่ด้วยก็ควรระมัดระวัง เช่น ขนมที่ใช้ผงฟู เค้ก คุ๊กกี้ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าอาหารนั้นมีผลกระทบต่อโรคไต ดังนั้นจึงควรช่วยกันรณรงค์ปลูกฝังให้เด็กยุคใหม่หันมาใส่ใจสุขภาพ ออกกำลังกาย ไม่อ้วน ไม่กินหวาน ไม่กินเค็ม เพื่อให้มีสุขภาพที่แข็งแรง และมีสุขภาพไตที่ดีต่อไปในอนาคต
โครงการ คุยเรื่องไขความจริง โดย สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย เชิญ รศ. พญ. ปิยวรรณ กิตติสกุลนาม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมโรคไต จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพูดคุยพร้อมแนะนำวิธีการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยไตเพื่อชะลอการเปลี่ยนถ่ายไตในตอน "อร่อยปาก ลำบากไต" อาหารประเภทใดที่ผู้ป่วยโรคไตสามารถรับประทานได้ และประเภทใดที่ควรหลีกเลี่ยงผู้ป่วยโรคไตมักมีความกังวลเรื่องอาหาร ว่าหากรับประทานมากเกินไป จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวาย หรือหากรับประทานน้อยเกินไป ก็อาจจะทำให้
พฤติกรรมคนไทยบริโภคโซเดียม ยุค 2021 สะท้อนงานวิจัย...คนไทยกินเค็มเกิน 2 เท่า
—
จากผลงานวิจัยล่าสุดในปี 2564 ซึ่งได้รับการพิมพ์ในวารสาร Journal of Clinical...
เครือข่ายลดบริโภคเค็มและสมาคมโรคไตฯ เผยงานวิจัยล่าสุดร่วมกับองค์การอนามัยโลกสะเทือนไตคนทั้งประเทศ
—
เครือข่ายลดบริโภคเค็ม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเส...
รพ. สถาบันโรคไตฯ ร่วมกับทีซีซีเทค จัดโครงการแชร์เพื่อช่วย "ชีวิตใหม่หลังการปลูกถ่ายไต" พบกัน 4 ธ.ค. 63 นี้
—
เนื่องจากอัตราการป่วยเป็นโรคไตของคนไทยมีแนวโน...
ขอเชิญร่วมประกวดแต่งคำขวัญ "วันไตโลก" ประจำปี 2564
—
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดคำขวัญภาษาไทย ในกิจกรรม "วันไตโลก ปร...
ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลไทยนครินทร์ เพิ่มรอบให้บริการเพื่อรองรับผู้ป่วยล้างไต
—
ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลไทยนครินทร์ เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยมีบร...
รพ.พระรามเก้าร่วมรณรงค์ คัดกรอง ป้องกัน รู้ทันโรคไตเนื่องในวันไตโลก
—
สถานการณ์โรคไตในปัจจุบันข้อมูลจากการศึกษาจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่าคนไทยป่วยเป...
เลื่อน การจัดงานวันไตโลก ประจำปี 2563
—
ประกาศจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ขอเลื่อนการจัดงานกิจกรรมวันไตโลก ในปี 2563 ที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม...
รวมพลัง “คัดกรอง ป้องกัน รู้ทัน โรคไต” จัดงานกิจกรรมสัปดาห์วันไตโลกและสัปดาห์ลดการบริโภคเค็ม ประจำปี 2563
—
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข...