ศูนย์ไตเทียม โรงพยาบาลไทยนครินทร์ เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยมีบริการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมสำหรับผู้ป่วยทั้งที่เป็นโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายซึ่งต้องฟอกเลือดต่อเนื่อง และผู้ป่วยไตวายเฉียบพลันที่อาจฟอกเลือดเพียงชั่วคราว มีทีมอายุรแพทย์โรคไตที่ได้รับการรับรองจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย และพยาบาลชำนาญการเครื่องไตเทียมที่ผ่านการอบรมเฉพาะทางตามมาตรฐานสมาคมโรคไตฯ พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยในการให้บริการ ได้แก่ เครื่องฟอกเลือดทั้งแบบปกติ (Conventional Hemodialysis) และเครื่องฟอกเลือดแบบ Online HDF (Online Hemodiafiltration) และมีการนำระบบทำน้ำบริสุทธ์ชนิด Reverse osmosis มาใช้เพื่อให้ได้น้ำที่มีคุณภาพสูงสุดสำหรับการฟอกเลือด ปัจจุบันมีผู้ป่วยเข้ามารับบริการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผู้ป่วยจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดภายใต้บรรยากาศของการบริการที่เป็นมิตรและอบอุ่นเหมือนเป็นคนในครอบครัว มีพื้นที่ให้บริการผู้ป่วยทั้งแบบห้องรวมและห้องพิเศษแยกเป็นสัดส่วน สถานที่สะอาด มีห้องรับรองสำหรับผู้ป่วยที่มีญาติมาด้วย และเพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ศูนย์ไตเทียมจึงได้เพิ่มจำนวนรอบการให้บริการให้มากขึ้น
สำหรับแนวทางในการรักษาอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ไตไม่สามารถทำหน้าที่ได้จนต้องเข้ารับการฟอกเลือดก็คือ การผ่าตัดปลูกถ่ายไต (Kidney Transplantation) ขณะนี้โรงพยาบาลไทยนครินทร์ได้จัดตั้งทีมสหสาขาวิชาชีพ (Multidisciplinary Team) ซึ่งประกอบด้วยทีมอายุรแพทย์โรคไต ศัลยแพทย์ปลูกถ่ายไต ศัลยแพทย์ระบบทางเดินปัสสาวะ พยาบาลชำนาญการพิเศษด้านการปลูกถ่ายไต ทั้งนี้เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการเปิดศูนย์ปลูกถ่ายไตให้บริการปลูกถ่ายไตแก่ผู้ป่วย โดยผู้ป่วยที่เข้ารับบริการผ่าตัดปลูกถ่ายไตจะได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดทั้งในระหว่างการผ่าตัดและหลังผ่าตัดจนกระทั่งหายเป็นปกติ และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ดังเดิม และมีการให้คำแนะนำปรึกษาจากแพทย์และพยาบาล หากผู้ป่วยมีปัญหาหรือข้อสงสัยที่ต้องการความช่วยเหลือหรือต้องการสอบถามได้ตลอดเวลา
ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดหรือนัดหมายเข้ารับบริการได้ที่ 0 2340 6488 หรือ 0 2340 6499 ต่อศูนย์ ไตเทียม (ชั้น 4) 'อบอุ่น มั่นใจ ที่ไทยนครินทร์’
โครงการ คุยเรื่องไขความจริง โดย สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย เชิญ รศ. พญ. ปิยวรรณ กิตติสกุลนาม แพทย์ผู้เชี่ยวชาญอายุรกรรมโรคไต จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพูดคุยพร้อมแนะนำวิธีการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารสำหรับผู้ป่วยไตเพื่อชะลอการเปลี่ยนถ่ายไตในตอน "อร่อยปาก ลำบากไต" อาหารประเภทใดที่ผู้ป่วยโรคไตสามารถรับประทานได้ และประเภทใดที่ควรหลีกเลี่ยงผู้ป่วยโรคไตมักมีความกังวลเรื่องอาหาร ว่าหากรับประทานมากเกินไป จะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะไตวาย หรือหากรับประทานน้อยเกินไป ก็อาจจะทำให้
พฤติกรรมคนไทยบริโภคโซเดียม ยุค 2021 สะท้อนงานวิจัย...คนไทยกินเค็มเกิน 2 เท่า
—
จากผลงานวิจัยล่าสุดในปี 2564 ซึ่งได้รับการพิมพ์ในวารสาร Journal of Clinical...
เครือข่ายลดบริโภคเค็มและสมาคมโรคไตฯ เผยงานวิจัยล่าสุดร่วมกับองค์การอนามัยโลกสะเทือนไตคนทั้งประเทศ
—
เครือข่ายลดบริโภคเค็ม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเส...
รพ. สถาบันโรคไตฯ ร่วมกับทีซีซีเทค จัดโครงการแชร์เพื่อช่วย "ชีวิตใหม่หลังการปลูกถ่ายไต" พบกัน 4 ธ.ค. 63 นี้
—
เนื่องจากอัตราการป่วยเป็นโรคไตของคนไทยมีแนวโน...
ขอเชิญร่วมประกวดแต่งคำขวัญ "วันไตโลก" ประจำปี 2564
—
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ขอเชิญผู้สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมการประกวดคำขวัญภาษาไทย ในกิจกรรม "วันไตโลก ปร...
รพ.พระรามเก้าร่วมรณรงค์ คัดกรอง ป้องกัน รู้ทันโรคไตเนื่องในวันไตโลก
—
สถานการณ์โรคไตในปัจจุบันข้อมูลจากการศึกษาจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย พบว่าคนไทยป่วยเป...
เลื่อน การจัดงานวันไตโลก ประจำปี 2563
—
ประกาศจากสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย ขอเลื่อนการจัดงานกิจกรรมวันไตโลก ในปี 2563 ที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม...
รวมพลัง “คัดกรอง ป้องกัน รู้ทัน โรคไต” จัดงานกิจกรรมสัปดาห์วันไตโลกและสัปดาห์ลดการบริโภคเค็ม ประจำปี 2563
—
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทยร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข...
งานวันไตโลก ประจำปี 2562
—
ผศ.นพ.สุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ ประธานเครือข่ายลดบริโภคเค็มและประธานการจัดงานวันไตโลก กล่าวว่า วันไตโลกประจำปี 2562 ในปีนี้สมาคม...