เครือข่ายคลินิกโรคหืดฯ เผยปี 2558 จำนวนคนไข้โรคหืดแอดมิดลดลง 29%

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ร่วมกับเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย (Easy Asthma and COPD Clinic Network) ร่วมกันจัดงานประชุมใหญ่เครือข่ายคลินิกโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ประจำปี ครั้งที่ 12 (12th EACC Annual Meeting) เผยในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา สามารถลดจำนวนคนไข้โรคหืดแอดมิดได้มากถึง 29% หรือทำให้ภาครัฐลดภาระรายจ่ายลงมากกว่า 100 ล้านบาท สำหรับในปีนี้โรงพยาบาลที่ได้รับรางวัล EACC Excellence Award 2015 ประเภท Asthma ได้แก่ โรงพยาบาลหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี และรางวัลประเภท COPD ได้แก่ โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
          นพ.อัครพล คุรุศาสตรา เลขานุการพัฒนาระบบบริการสุขภาพสาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เขตสุขภาพที่ 10 กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่ากระทรวงสาธารณสุข และ สปสช.ได้จับมือก้าวเข้าสู่การเป็น หน่วยงานสาธารณสุขแห่งชาติไปด้วยกัน ท่ามกลางเสียงชื่นชมของนานาชาติ โดยมุ่งหวังให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน สามารถเข้าถึงการรักษาได้อย่างเท่าเทียม และได้รับการรักษาที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการจับมือกันร่วมทำงานเช่นนี้ จะช่วยให้การกำหนดเป้าหมายทิศทางการดำเนินการจัดระบบบริการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ไม่สามารถมองแค่การรักษาเพียงอย่างเดียวได้ เพราะประชาชนทุกคนต่างก็ต้องมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเองด้วย
          รศ. นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย (Easy Asthma and COPD Clinic Network) กล่าวว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 – 2558 เป็นเวลากว่า 5 ปี เครือข่ายคลินิกโรคหืดฯ สามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้านอนพักรักษาตัวจากประมาณ 66,000 ครั้ง ให้เหลือเพียงประมาณ 45,000 ครั้งเท่านั้น โดยในปี 2558 ที่ผ่านมามีจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาและนอนในโรงพยาบาลลดลงกว่า 29 เปอร์เซ็นต์ เมื่อคำนวนเป็นเงินออกมาก็สามารถลดค่าใช้จ่ายไปได้กว่า 100 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลสำเร็จ
ที่น่าประทับใจอันเกิดจากความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ที่มีส่วนสำคัญช่วยผลักดันให้การดำเนินงานเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้โรงพยาบาลที่ได้รับรางวัล EACC Excellence Award 2015 ประเภท Asthma ได้แก่ โรงพยาบาลหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี และรางวัลประเภท COPD ได้แก่ โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน จึงอยากสนับสนุนให้คนไข้เข้าร่วมคลินิกฯ เพื่อรับการบริการเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยปัจจุบันผู้ป่วยที่เข้าร่วม กว่า 90% จะได้รับการวัดสมรรถภาพปอดเพื่อให้การรักษาที่ถูกต้องต่อความรุนแรงของโรคและจะได้รับยาพ่นรักษา ทำให้โรคสงบลง และสามารถใช้ชีวิตแบบคนปกติทั่วไปได้และทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย และนอกจากโรคหืดแล้ว การพัฒนาทางด้านการรักษาโรคปอดอุดกั้นเรื้องรัง ในระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ก็มีผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการดีขึ้นด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะทางด้านเครื่องมือแพทย์และเวชภัณฑ์ในการรักษา ได้มีการกระจายเครื่องวัดสมรรถภาพปอดเพิ่มมากขึ้นในโรงพยาบาลระดับอำเภอและได้มีการพัฒนายาขยายหลอดลมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
          สำหรับในปี พ.ศ. 2559 นี้ คาดว่าจะมีผู้ป่วยโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังทั่วโลกเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล และมลภาวะทางอากาศต่างๆ เช่น ฝุ่นละออง หรือควันจากก็าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี รวมไปถึงการดำเนินชีวิตประจำวันที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเพิ่มสูงขึ้นโดยทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่งจากข้อมูลขององค์กรอนามัยโลก (WHO) จำนวนผู้ป่วยทั่วโลกอาจสูงถึง 325 ล้านคน และจำนวนผู้ป่วยที่เสียชีวิตส่วนมากมาจากประเทศที่มีรายได้น้อย ซึ่งในความเป็นจริง หลายเคสสามารถป้องกันได้ หากได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
          รศ. นพ. วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย กล่าวเพิ่มเติมว่าในฐานะตัวแทนของเครือข่ายคลินิกโรคหืด และปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย รู้สึกภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ตลอดระยะเวลากว่า 12 ปี เครือข่ายฯ ได้มีโอกาสช่วยให้ผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังในหลายภูมิภาค สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สามารถลดอัตราการกำเริบรุนแรงของโรคจนต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ โดยเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกันเรื้อรังแบบง่ายจะไม่ประสบความสำเร็จเลย หากไม่ได้รับความร่วมแรงร่วมใจของ "ผู้ให้" ทุกคนจากหลากหลายสาขาวิชาชีพที่มาดำเนินงานในเครือข่ายฯ ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งในด้านการกำหนดนโยบาย ดัชนีชี้วัดและผลักดันให้มีระบบการให้บริการผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีคุณภาพ และงานประชุมในวันนี้ก็เป็นอีกผลงานที่แสดงให้เห็นว่า มีหน่วยงานมากมายที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ลดอัตราการครองเตียงของผู้ป่วยโรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งทางเครือข่ายคลินิกโรคหืดฯ จะยึดมั่นในการทำงานของตนต่อไป เพื่อไปสู่เป้าหมาย Admission Rate Near Zero ให้ได้
          ด้าน นพ. จักรกริช โง้วศิริ ประธานกลุ่มภารกิจสนับสนุนระบบบริการสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กล่าวว่า โรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ ที่หากมีการจัดการระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีมาตรฐานและคุณภาพ จะช่วยลดอัตราผู้ป่วยเสียชีวิต รวมถึงอัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลลดน้อยลง ซึ่งจะเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการดูและรักษาพยาบาลซึ่งเป็นงบประมาณของประเทศ 
          ทั้งยังช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ผู้ป่วยและคนในครอบครัวได้ด้วย โดยในปีพ.ศ. 2060-2061 สปสช. จะมีการปฏิรูปนโยบายและแผนงานให้สอดคล้องกับการทำงานของกระทรวงฯ มากยิ่งขึ้น
          สปสช. ในฐานะที่รับผิดชอบดูแลงบประมาณค่าใช้จ่ายบริการด้านสุขภาพแก่ประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทั้งสิ้นประมาณ 47 ล้านคน ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงบริการสุขภาพที่มีมาตรฐานและคุณภาพบริการที่ดีอย่างเท่าเทียมกัน โดยมีการเน้นการส่งเสริมการป้องกันโรค การลดอัตราการป่วย และอัตราการป่วยตาย เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของทั้งประชาชนและภาครัฐ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดี จากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานด้านวิชาชีพ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคประชาชน
เครือข่ายคลินิกโรคหืดฯ เผยปี 2558 จำนวนคนไข้โรคหืดแอดมิดลดลง 29%
 

ข่าวเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง+คลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่ายวันนี้

รพ.พระนั่งเกล้า จับมือโครงการ "Telehealth Together" เปิดห้องตรวจระบบแพทย์ทางไกล ยกระดับการรักษาผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ

โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า ร่วมกับโครงการ "Telehealth Together" คลินิกออนไลน์เพื่อสุขภาพดี โดย บริษัทแกล็กโซสมิทไคล์น (ประเทศไทย) จำกัด (GSK) และเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย (EACC) นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) เพิ่มประสิทธิภาพการบริการสุขภาพ โดยเปิด "ห้องตรวจ Telehealth Together" เพื่อให้บริการแก่ผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจ สามารถรับการรักษาได้อย่างต่อเนื่อง สะดวก รวดเร็ว และง่าย ผ่านระบบออนไลน์ ลดภาระค่าใช้จ่ายการเดินทางและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

เมื่อเร็วๆ นี้ ตัวแทนจากโรงพยาบาลยางตลาด ... ภาพข่าว: ชนะเลิศการประกวด EACC Excellence Award ผลงานคุณภาพการรักษาผู้ป่วยโรคหืด ในงานประชุมใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 15 — เมื่อเร็วๆ นี้ ตัวแทนจากโรงพยาบาลยาง...

เมื่อเร็วๆ นี้ นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติก... ภาพข่าว: ประชุมใหญ่ประจำปี ครั้งที่ 15 เครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง — เมื่อเร็วๆ นี้ นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (ค...

กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพ... กระทรวงสาธารณสุข - สปสช. และเครือข่ายคลินิกโรคหืดฯ มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายการรักษาที่ได้มาตรฐาน ไปสู่สถานบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ — กระทรวงสาธารณสุข ...

กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพ... กระทรวงสาธารณสุข - สปสช. และเครือข่ายคลินิกโรคหืดฯ มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายการรักษาที่ได้มาตรฐาน ไปสู่สถานบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ — กระทรวงสาธารณสุข ...

กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพ... กระทรวงสาธารณสุข - สปสช. และเครือข่ายคลินิกโรคหืดฯ มุ่งเน้นการสร้างเครือข่าย การรักษาที่ได้มาตรฐาน ไปสู่สถานบริการสาธารณสุขระดับปฐมภูมิ — กระทรวงสาธารณสุข...

กระทรวงสาธารณสุข - สปสช. และเครือข่ายคลินิกโรคหืดฯ จัดประชุมใหญ่ประจำปีครั้งที่ 15 เครือข่ายคลินิกโรคหืด และปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย

กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น จ.ขอนแก่น และเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังแบบง่าย (Easy Asthma...

ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยโรคหืดและป... ผสานความร่วมมือ ขยายการรักษาผู้ป่วยโรคหืด สู่สถานบริการสาธารณสุขระดับชุมชน — ปัจจุบันประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยโรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังกว่า 4 ล้านคน ซึ่งน...

พญ.ประนอม คำเที่ยง รองปลัดกระทรวงสาธารณสุ... ภาพข่าว: มอบชีวิตสดใส ให้ลมหายใจสดชื่น — พญ.ประนอม คำเที่ยง รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ รศ.นพ.วัชรา บุญสวัสดิ์ ประธานเครือข่ายคลินิกโรคหืดและปอดอุดกั้น...

โรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังถือเป็นปัญหาด้... โรคหืด-ปอดอุดกั้นเรื้อรัง รักษา ควบคุมได้ — โรคหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรังถือเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขระดับประเทศ ซึ่งในแต่ละปีจะมีผู้ป่วยที่มีอาการหอบรุนแรง...