นายสุรพล จารุพงศ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถิติในปี 2558 ที่มีการตรวจพบว่าเกิดการเผาในพื้นที่เกษตรใน 10 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดน่าน เชียงราย ตาก ลำปาง พะเยา แพร่ เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน และจังหวัดอุตรดิตถ์ รวมพื้นที่กว่า 1.83 ล้านไร่ และมีตำบลที่มีการเผาในระดับสูงกว่า 200 ตำบล ประกอบกับสถานการณ์หมอกควันภาคเหนือภาพรวมอยู่ ในช่วงเฝ้าระวัง มีค่าฝุ่นละอองตั้งแต่ 68-101 มคก./ลบ.ม. ค่าสูงสุดอยู่บริเวณจังหวัดลำพูน ข้อมูลจากสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1-4 (ภาคเหนือ) กระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมการเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการป้องกัน เฝ้าระวัง และเตือนภัย ตั้งแต่เดือน ม.ค.- เม.ย. พร้อมให้ข้อมูลการหยุดการเผาในพื้นที่เกษตรผ่านศูนย์เรียนรู้ฯ และศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน113 แห่ง ขอความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทย และอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.)
ทั้งนี้ เพื่อให้การควบคุมและยับยั้งการเผาพื้นที่การเกษตร ไม่ให้เป็นสาเหตุหนึ่งในการเกิดปัญหาหมอกควันทางภาคเหนือ กระทรวงเกษตรฯ ได้กำหนดให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการรณรงค์หยุดการเผาในพื้นที่การเกษตรโดยเน้นย้ำดำเนินการใน 4 มาตรการหลัก คือ มาตรการที่ 1 ด้านการรณรงค์และประชาสัมพันธ์ จัดงานรณรงค์ในท้องถิ่น (Field Day) รวม 54 ครั้ง มีผู้เข้าร่วม 17,210 ราย โดยบูรณาการกับหน่วยงานอื่น เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข้อมูลเพื่อกระตุ้นจิตสำนึกในการหยุดการเผาผ่านสื่อต่างๆ มาตรการที่ 2 ด้านการป้องกันและเฝ้าระวังความเสี่ยง ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร รวม 16,908ราย จัดทำแปลงสาธิตการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทดแทนการเผา 56 แห่ง พื้นที่ 2,782 ไร่ จัดทำฐานการเรียนรู้การหยุดการเผาในพื้นที่การเกษตรในศูนย์การเรียนรู้ฯ และศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) 113 แห่ง จัดเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และเชื่อมโยงการทำงานเพื่อสนับสนุนการหยุดการเผาในพื้นที่การเกษตร 113 ครั้ง โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้แทนชุมชนเข้าร่วม 3,713ราย เจ้าหน้าที่ออกปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ ถ่ายทอดความรู้กับเกษตรกร 1,113 ครั้ง
มาตรการที่ 3 ด้านการเผชิญเหตุ แจ้งขอความร่วมมือ อกม. ในพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ดำเนินการทำความเข้าใจกับเกษตรกรในชุมชนติดตามสถานการณ์ แจ้งเตือน เฝ้าระวัง และแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตรในช่วงวิกฤตหมอกควัน สนับสนุนให้วิทยากรเกษตรและอาสาสมัครเกษตร เฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร มีพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน รวม 380,690 ไร่ มาตรการที่ 4 การส่งเสริมและสร้างเครือข่ายในการงดเผาในพื้นที่เกษตรกรรม สร้างชุมชนเกษตรปลอดการเผาต้นแบบใน 20 ตำบล ครอบคลุมพื้นที่ 210 หมู่บ้าน สร้างการมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ ทั้งหมด 244 ตำบล (กำหนดเป้าหมายไว้ 201 ตำบล) ครอบคลุมพื้นที่ 1,210 หมู่บ้าน
"ล่าสุดขณะนี้ได้มีการตั้ง War Room ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้สำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 จ.เชียงใหม่ และสำนักส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 9 จังหวัดพิษณุโลก รับผิดชอบติดตามสถานการณ์ปัญหาหมอกควันร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานผลมายังกระทรวงเกษตรฯ ด้านกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เพิ่มศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงจากเดิม 2 แห่ง เป็น 5 แห่ง ในจังหวัดนครสวรรค์ กาญจนบุรี เชียงใหม่ พิษณุโลก นครราชสีมา จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งตั้งแต่เริ่มตั้งศูนย์ฯ และออกปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่วันที่ 15 – 23 ก.พ. ที่ผ่านมา พบว่ามีฝนตกในบริเวณพื้นที่จังหวัดนครปฐม อยุธยา และสุพรรณบุรี ทั้งนี้ กรมฝนหลวงฯ จะติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์และเตรียมพร้อมออกปฏิบัติการฯ ทำฝนเทียม เมื่อสภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวยอีกด้วย" นายสุรพล กล่าว
นายสุรชาติ มาลาศรี รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านปฏิบัติการ พร้อมด้วย นายบุญช่วย ช่วยระดม ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 นายสมาน ก้อนศรีษะ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคณะ นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดสกลนคร เพื่อมอบนโยบาย พบปะเกษตรกร และรับฟังปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ พร้อมมอบปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร ตลอดจนเยี่ยมชมนิทรรศการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี นายประยูร อินสกุล
ไอแบงก์เปิดงาน Thailand Islamic Finance Forum 2025 (TIFF 2025) ผลักดันระบบนิเวศน์ของการเงินอิสลามในประเทศไทย สู่ความยั่งยืน
—
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไ...
เกษตรฯ จัดพิธีบวงสรวงคันไถ เตรียมในพระราชพิธีพืชมงคลฯ ปี 2568
—
นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระน...
ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100 ล้าน
—
สำนักงานพัฒ...
รองฯ กาญจนา ร่วมเปิดงานมหกรรม จากพันธุกรรม สู่ความยั่งยืน
—
นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมเปิด...
ร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
—
นายวิโมกษ์ พรหมทอง เกษตรอำเภอเขาย้อย มอบหมายให้นางสาวจันทิมา...
AIT จับมือ กรมประมง วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
—
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ร่วมกับ กรมประมง สังกั...
กรมพัฒนาที่ดิน คัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และหมอดินอาสาดีเด่น ปี 2568
—
ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิ...
เกษตรอำเภอหนองหญ้าปล้อง ประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงานคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. และแปลงใหญ่ ครั้งที่ 2/2568
—
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 นางสาวศิริรัตน์ แ...
เหล็กสหวิริยาพัฒนาประมงบางสะพานยั่งยืน ผนึกกำลังเครือข่ายประมง-ทิ้งซั้งบอกรักทะเล
—
"กลุ่มเหล็กสหวิริยา" (SSI-TCRSS-TCS-WCE-BSBM-PPC) เครือข่ายชาวประมงบาง...