สมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย จัดงานเสวนา "ความรู้เกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากเสาสัญญาณและโทรศัพท์มือถือมีผลต่อสุขภาพหรือไม่"

ข่าวประชาสัมพันธ์ »
           สมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย ได้จัดทำหนังสือ "ความรู้เกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากเสาสัญญาณและโทรศัพท์มือถือมีผลต่อสุขภาพหรือไม่" เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป ในประเด็นผลกระทบของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดจากระบบโทรศัพท์มือถือต่อสุขภาพและอวัยวะในร่างกายของมนุษย์ ที่สืบเนื่องจากการพัฒนาระบบสื่อสาร อาทิ การเพิ่มจำนวนเสาสัญญาณให้ครอบคลุมพื้นที่เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้บริการ หรือการใช้โทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
          โอกาสนี้ จึงจะจัดงานเสวนา "ความรู้เกี่ยวกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากเสาสัญญาณและโทรศัพท์มือถือมีผลต่อสุขภาพหรือไม่" และเปิดตัวหนังสือ โดยมี ศาสตราจารย์ นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล นายกสมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาญไชย ไทยเจียมบรรณาธิการหนังสือ ร่วมงาน ในวันอังคารที่ 1 มีนาคม 2559 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้อง Meeting Room 2 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

ข่าวสมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย+วิศวกรรมชีวการแพทย์วันนี้

วศ.อว ร่วมมือเครือข่าย ประชุมหารือการจัดทำฐานข้อมูล มาตรฐานห้องปฏิบัติการ นวัตกรรมทางการแพทย์ การวิจัยและพัฒนาต้าน Covid-19

นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และบุคลากร วศ. ได้ประชุมหารือ เรื่องการจัดทำฐานข้อมูล มาตรฐานและห้องปฏิบัติการ นวัตกรรมทางการแพทย์ การวิจัยและพัฒนา ร่วมกับ ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล นายกสมาคมวิจัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ไทย ผู้แทนจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์(องค์การมหาชน) ผู้แทนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ผู้แทนจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ณ

คุณพิสิษฐ์ วรรณวิทยาภา (ขวา) ประธานเจ้าหน... PCL ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ — คุณพิสิษฐ์ วรรณวิทยาภา (ขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พี ซี แอล โฮลดิ้...

"สมอง" เป็นอวัยวะที่ไม่สามารถทดแทนได้โดยส... ม.มหิดล สร้างสรรค์แอปพลิเคชัน"Brain Track" เพื่อคนไทยห่างไกลภาวะสมองเสื่อม — "สมอง" เป็นอวัยวะที่ไม่สามารถทดแทนได้โดยสมบูรณ์จำเป็นต้องได้รับการดูแลไม่ให้เ...

คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahid... วิศวะมหิดล เดินหน้าโครงการ "ยกระดับสถานพยาบาลด้วยเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ" แก่ 6 โรงพยาบาล — คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol Engineering) ผู้นำวิศ...

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการ... สายหวานมีเฮ! วช. นำเครื่องวัดระดับน้ำตาลชนิดพกพาแบบไม่ต้องเจาะเลือด โชว์เวที NRCT Talk — สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิ...