กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร พร้อมให้การสนับสนุนงานด้านการวิจัย 3 โครงการของ สวก. เพื่อพัฒนางานวิจัยด้านการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายสุรพล จารุพงศ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญในเรื่องงานวิจัย เนื่องจากการทำงานที่ผ่านมาได้มีการประมวลปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจริง ขณะเดียวกัน งานวิจัยที่ผ่านมาอาจไม่ตรงเป้า จึงได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) ดำเนินการเพื่อให้สามารถนำมาสู่การปฏิบัติจริงได้ ซึ่งมีโครงการที่สำคัญ 3 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการทุนปริญญาเอก เฉลิมพระเกียรติ ทรงครองราชย์ ๗๐พรรษา เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จถวัลราชสมบัติครบ ๗๐ ปี 2 .โครงการ "ระบบอากาศยานไร้นักบินสำหรับการตรวจอากาศชั้นบนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการฝนหลวง" 3. โครงการ "การพัฒนานโยบายการจัดการประมงอย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานระบบนิเวศ-สังคมภายใต้ธรรมาภิบาลที่ดีเพื่อความยั่งยืนทางการประมงในพื้นที่อ่าวไทยตอนใน"
          นางพรรณพิมล ชัญญานุวัตร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.) กล่าวถึงรายละเอียดของแต่ละโครงการ ดังนี้
          1. โครงการทุนปริญญาเอก เฉลิมพระเกียรติ ทรงครองราชย์ ๗๐พรรษา เนื่องในโอกาสมหามงคลเสด็จถวัลราชสมบัติครบ ๗๐ ปี เพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในสาขาที่สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนางานวิจัยไปสู่การสร้างนวัตกรรม โดยใช้ระยะเวลาอันสั้น และสามารถเพิ่มพูนความรู้ความสามารถและประสบการณ์ได้จากการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ตลอดจนนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมด้านการเกษตรต่อไป วัตถุประสงค์ เพื่อสร้างบุคลากรด้านการวิจัยการเกษตรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ให้มีจำนวนที่มากขึ้นในสาขาที่รองรับ และนำไปสู่การพัฒนานวัตกรรมการเกษตรต่อไป โดยมีเป้าหมาย คือ บุคลากรด้านการวิจัยการเกษตรสังกัดกระทรวงเกษตรฯ จำนวน ๗๐ ทุน โดยหัวข้อการวิจัยต้องสอดคล้องกับทิศทางตามยุทธศาสตร์งานวิจัย ด้านปรับปรุงพันธุ์ ด้านเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้านการจัดการทรัพยากร ด้านอาหารสัตว์ ด้าน Seed Technology และด้านการจัดการการผลิตคุณภาพและมาตรฐาน

          2. โครงการ "ระบบอากาศยานไร้นักบินสำหรับการตรวจอากาศชั้นบนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการฝนหลวง" โดย สวก. ได้ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยแก่ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งคณะผู้วิจัยมีแนวคิดที่จะพัฒนาวิธีการตรวจอากาศ โดยนำเทคโนโลยีอากาศยานไร้คนขับมาช่วยตรวจวัดอากาศชั้นบน เนื่องจาก สามารถใช้งานง่ายขอบเขตการใช้งานกว้างขวาง ลดความเสี่ยงในการปฏิบัติงาน ค่าใช้จ่ายถูกกว่าเทคโนโลยีการตรวจวัดอากาศที่ใช้อยู่เดิม เป็นประโยชน์แก่กรมฝนหลวงฯ ในการปฏิบัติการทำฝนเทียมอย่างมาก เพราะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการใช้งบประมาณที่น้อยลง ช่วยลดผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งช่วยในการวางแผนการปฏิบัติการฝนหลวงได้อย่างแม่นยำ อีกทั้ง ลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการตรวจวัดสภาพอากาศชั้นบน ได้มากกว่า 50% จากเดิมมีค่าใช้จ่ายประมาณ 38 ล้านบาท/ปี (ใช้บอลลูนในการตรวจวัดสภาพอากาศ) ใช้ระยะเวลา 1 ปี งบประมาณ 9,640,650 บาท
          3. โครงการ "การพัฒนานโยบายการจัดการประมงอย่างมีประสิทธิภาพบนพื้นฐานระบบนิเวศ-สังคม


ข่าวสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร+กระทรวงเกษตรและสหกรณ์วันนี้

ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100 ล้าน

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ ARDA ร่วมกับ ฟาร์ม เอ็กซ์โป เดินหน้าจับมือพันธมิตรยักษ์ใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กลุ่มบริษัท ซี แอล พี (CLP Group) และ การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand) เปิดเวทีการแข่งขัน "AGRITHON by ARDA Season 2" เฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมเกษตรระดับประเทศจากนักวิจัย สตาร์ทอัพ เกษตรกรรุ่นใหม่ และเยาวชนทั่วประเทศ คุณชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนที่ 26 กล่าวว่า

หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่น... กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปัจฉิมนิเทศน์และปิดหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 3 — หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 3 โดยหลักสูตร วกส. ...

เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 องค์การอุตสหกรร... อ.อ.ป. ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ ในหัวข้อ "Carbon Credit โอกาสทางธุรกิจ เพื่อการฟื้นฟูโลก" — เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 องค์การอุตสหกรรมป่าไม้ โดยนายชาญณรง...

ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัย... วว. ร่วมหารือ สวก. ขับเคลื่อนภาคการเกษตรให้ยั่งยืน ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม — ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห...

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประ... วว.ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ อบรมเชิงปฏิบัติการ "การผลิตภาชนะรักษ์โลกจากเยื่อกล้วย" — สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ คณะวิท...

ลำไยเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ ในแต่ละปีปร... ม.มหิดล วิจัยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพิ่มมูลค่า และรักษาคุณภาพสินค้าเกษตร — ลำไยเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ ในแต่ละปีประเทศไทยส่งออกลำไยสดไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าหลา...