หลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง (วกส.) รุ่นที่ 3 โดยหลักสูตร วกส. จัดทำขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มูลนิธิเกษตราธิการ และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) โดยมีวัตถุเพื่อขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทยให้เป็นผู้นำในระดับนานาชาติด้วยวิทยาการเกษตรเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ภายใต้หลักการ การตลาดนำการผลิตและเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อความสมดุล มั่นคงและยั่งยืน ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ วิสัยทัศน์และประสบการณ์ ระหว่างผู้นำ ทั้งภาครัฐ เอกชน ภาคการศึกษา ภาคประชาสังคม ให้มีส่วนร่วมในด้านการพัฒนาพัฒนาการเกษตรวิถีใหม่ระหว่างกัน และขับเคลื่อนภาคการเกษตรไทย ให้เป็นผู้นำในระดับนานาชาติด้วยวิทยาการเกษตรเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ ในรูปแบบ "ประชารัฐ"
สำหรับพิธีปิดการฝึกอบรมหลักสูตร วกส. รุ่นที่ 3 ในวันที่ 9 มิถุนายน 2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับเกียรติจาก ดร.จรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณบดีพรเทพวรางกูร เป็นประธานในพิธีมอบประกาศนียบัตร และกล่าวปัจฉิมโอวาทในโอกาสพิธีปิดหลักสูตร วิทยาการระดับสูง วกส. รุ่นที่ 3 และ ดร.ประยูร อิทสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม หลักสูตร วกส. รุ่นที่ 3 โดยมีคณะกรรมการอำนวยการและคณะกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาการเกษตรระดับสูง และผู้บริหารของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธี อาทิเช่น อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ อธิบดีกรมหม่อนไหม อธิบดีกรมวิชาการเกษตร รองอธิบดีกรมการข้าว ประธานกรรมการมูลนิธิเกษตราธิการ เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ที่ปรึกษาสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร เลขานุการกรม กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กรรมการผู้จัดการทั่วไป บริษัท ชาลีเอสพีซี จำกัด (วกส. รุ่นที่ 1)
โดยตลอดระยะเวลา 5 เดือน ที่ผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคมได้ร่วมกิจกรรมของหลักสูตร วกส. รุ่นที่ 3 และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายที่เป็นประโยชน์การส่งเสริมและพัฒนาภาคการเกษตร ซึ่งเป็นผลงานทางวิชาการที่สำคัญที่เกิดจากความร่วมมือของผู้บริหารทุกภาคส่วน โดยหลักสูตรได้หลอมรวมองค์ความรู้ที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมทั้งเชื่อมโยงและสะท้อนให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมได้เห็นถึงโอกาส ปัญหา และข้อจำกัดของการพัฒนาภาคการเกษตรไทย สร้างการรับรู้และกระตุ้นให้เกิดการประสานความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหา และพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกรให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ ARDA ร่วมกับ ฟาร์ม เอ็กซ์โป เดินหน้าจับมือพันธมิตรยักษ์ใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กลุ่มบริษัท ซี แอล พี (CLP Group) และ การยางแห่งประเทศไทย (Rubber Authority of Thailand) เปิดเวทีการแข่งขัน "AGRITHON by ARDA Season 2" เฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมเกษตรระดับประเทศจากนักวิจัย สตาร์ทอัพ เกษตรกรรุ่นใหม่ และเยาวชนทั่วประเทศ คุณชวลิต ชูขจร ประธานกรรมการสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) อดีตปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์คนที่ 26 กล่าวว่า
'UBE' จับมือภาครัฐ-เอกชน-เกษตรกรชาวไร่มันอินทรีย์ ก้าวสู่เกษตรคาร์บอนต่ำ เปิดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม"ขุด ขาย ปลูก รับฤดูกาลใหม่"
—
'UBE' จับมือ...
อ.อ.ป. ร่วมเป็นวิทยากรให้ความรู้ ในหัวข้อ "Carbon Credit โอกาสทางธุรกิจ เพื่อการฟื้นฟูโลก"
—
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2568 องค์การอุตสหกรรมป่าไม้ โดยนายชาญณรง...
วว. ร่วมหารือ สวก. ขับเคลื่อนภาคการเกษตรให้ยั่งยืน ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม
—
ผศ.ดร.วีรชัย อาจหาญ ผู้ว่าการ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห...
วว.ลงพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ อบรมเชิงปฏิบัติการ "การผลิตภาชนะรักษ์โลกจากเยื่อกล้วย"
—
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ร่วมกับ คณะวิท...
สถาบันโภชนาการ ม.มหิดล เปิดเวทีประชาพิจารณ์ รับฟังความคิดเห็นจากภาคี ดันให้ทบทวนการใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม
—
เมื่อวันที่ ...
ม.มหิดล วิจัยพัฒนาบรรจุภัณฑ์ เพิ่มมูลค่า และรักษาคุณภาพสินค้าเกษตร
—
ลำไยเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่สำคัญ ในแต่ละปีประเทศไทยส่งออกลำไยสดไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่าหลา...