ผลิตภัณฑ์ บาริแคร์ ไมโครแคปซูลไล่ยุง ประสิทธิภาพสูง ปลอดภัย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          บริษัท บาริแคร์ จำกัด พัฒนาวิธีการป้องกันยุงแนวใหม่ โดยนำนวัตกรรม PASAR : Polymer Assisted Sustained and Release มาสร้างไมโครแคปซูลสมุนไพรไล่ยุง ทำให้ได้ยากันยุงที่ออกฤทธิ์ได้เสถียรและยาวนานกว่า ไม่เสื่อมง่าย ไล่ยุงในรัศมีวงกว้าง และ มีความปลอดภัยสูง
          นายชัยรัฐ หอณรงค์ศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บาริแคร์ จำกัด กล่าวว่า จากผลการสำรวจ สถิติการเสียชีวิตของมนุษย์จากสัตว์ชนิดต่างๆ (Source : Gatesnotes) พบว่า เสียมนุษย์เราเสียชีวิตจากยุงเป็นอันดับ 1 สูงถึงประมาณ 725,000 คนต่อปี ไม่ว่าจะเป็นโรคมาลาเรีย ที่เกิดจากยุงก้นปล่อง โรคไข้สมองอักเสบ โดยยุงรำคาญ โรคไข้เลือดออก โรคชิคุนกุนย่า ที่เกิดจากยุงลาย และ โรคเท้าช้าง ที่มีทั้งยุงเสือ ยุงลายและยุงรำคาญเป็นพาหะนำเชื้อ ด้วยความตระหนักถึงการระบาดของโรคภัยต่างๆที่มากับยุง และ ความปลอดภัยต่อชีวิตของมนุษย์ รวมทั้งแนวคิด ใช้ธรรมชาติไล่สิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ บริษัท บาริแคร์ จำกัด จึงพัฒนาไมโครแคปซูล สมุนไพรไล่ยุง นวัตกรรมใหม่ นี้ขึ้น
          เบื้องต้น บริษัทฯ ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยของรัฐ ภายใต้ทุนสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนานวัตกรรม Polymer Assisted Sustained And Release หรือ PASAR ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ทำให้อนุภาคของน้ำมันหอมระเหยและสารระเหยต่างๆ ที่มักระเหยและเสื่อมง่าย ให้เล็กลงระดับไมครอน และนำเทคโนโลยี ไมโครเอนแคปซูเลชัน (Microencapsulation) มาเก็บกักไว้ในไมโครแคปซูลพอลิเมอร์ชีวภาพหรือพอลิเมอร์สังเคราะห์ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม ซึ่งนวัตกรรมนี้ ขณะนี้ มีเพียงเราเท่านั้นที่ทำได้สำเร็จ เป็นหนึ่งเดียวในเอเชีย และเป็นหนึ่งในสามของทั่วโลก
          ไมโครแคปซูลไล่ยุง บาริแคร์ (Barricare) ภายใต้นวัตกรรม PASAR นั้น ได้กักเก็บอนุภาคขนาดเล็กของน้ำมันหอมระเหยมีฤทธ์ไล่ยุง 3 ชนิดได้แก่ ยูคาลิปตัส ลาเวนเดอร์ และ ตะไคร้หอม ซึ่งจากการทดสอบในระดับห้องปฏิบัติการพบว่า จากคุณสมบัติของอนุภาค PASAR ที่กักเก็บน้ำมันหอมระเหยดังกล่าว ทำให้ ผลิตภัณฑ์บาริแคร์ มีคุณสมบัติที่แตกต่างคือ มีความเสถียร, ทนต่อแสงแดด ความชื้น อากาศ และ อุณหภูมิ ทำให้ไม่เสื่อมง่าย,สามารถคงกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ของน้ำมันหอมระเหยของสารสกัดทั้ง3ชนิดได้อย่างยาวนานและคงประสิทธิภาพในการไล่ยุง,ช่วยเพิ่มกลไกการปลดปล่อยน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรดังกล่าวอย่างช้าๆ (Slow Release) เพื่อประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ที่ดีและเพิ่มมากขึ้น,ช่วยในการลดความแรงของกลิ่นน้ำมันหอมระเหยจากสมุนไพรทั้ง 3 ชนิด, ช่วยในการเตรียมน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพรทั้ง 3 ในระบบคอลลอยด์ที่มีความเสถียร, ช่วยในการลดอัตราปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างน้ำมันหอมระเหยที่อยู่ด้วยกันและระบบคอลลอยด์ในน้ำยาไล่ยุง และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการไล่ยุงที่ดีขึ้นกว่าการผสมน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพรทั้ง 3 แต่เพียงอย่างเดียว
          อีกทั้ง เพื่อเพิ่มรัศมีการออกฤทธิ์ที่ไกลขึ้น บริษัทฯจึงให้ใช้ร่วมกับเครื่องไล่ยุง –ฟอกอากาศ ที่ได้ออกแบบเชิงวิศวกรรมเพื่อควบคุมของขนาดละอองไอน้ำที่ช่วยในการพาไมโครแคปซูล PASAR กระจายตัวในอากาศเพื่อการออกฤทธิ์อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยใช้สมุนไพรไล่ยุงเพียงเล็กน้อย ผสมลงไปในน้ำในเครื่องดังกล่าว ก็จะได้รัศมีในการไล่ยุงอยู่ที่ประมาณถีง 9 ฟุต x 9 ฟุต
          สำหรับการทดสอบความปลอดภัยของน้ำยา บริษัทฯได้ทำการส่งทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ชนิด Fibroblast (เซลล์ผิวหนัง) พบว่าละอองไอน้ำที่ผสมน้ำยาไล่ยุง ที่ออกมาจากเครื่องดังกล่าว ไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ผิวหนัง และ ไม่พบเกิดการระคายเคืองในอาสาสมัครทั้งหมด และยังฟอกอากาศไปในตัวอีกด้วย ดังนั้นจึงมีความปลอดภัยสูง และใช้ได้ทั้งภายในอาคารบ้านเรือนได้ทุกห้อง แม้แต่ห้องที่มีเด็กเล็ก คนป่วย หรือ คนชรา ภายนอกอาคาร อาทิ ที่โล่ง ในสวน ในร้านอาหารที่เปิดโล่งได้เป็นอย่างดี
          สอบถามรายละเอียดผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมได้ที่ บริษัท บาริแคร์ จำกัด โทร,094 539 2469 และ 091 882 1476

ผลิตภัณฑ์ บาริแคร์ ไมโครแคปซูลไล่ยุง ประสิทธิภาพสูง ปลอดภัย
ผลิตภัณฑ์ บาริแคร์ ไมโครแคปซูลไล่ยุง ประสิทธิภาพสูง ปลอดภัย
ผลิตภัณฑ์ บาริแคร์ ไมโครแคปซูลไล่ยุง ประสิทธิภาพสูง ปลอดภัย
 

ข่าวชัยรัฐ หอณรงค์ศิริ+โรคมาลาเรียวันนี้

อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส เปิดตัวคอร์สอบรมโรคมาลาเรียออนไลน์โฉมใหม่ ตอบโจทย์องค์กรในการดูแลสุขภาพพนักงานทั่วโลก

โรคมาลาเรียยังคงเป็นความท้าทายด้านสุขภาพที่องค์กรทั่วโลกยังคงต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน การป้องกันโรคมาลาเรียจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน ด้วยเหตุนี้ อินเตอร์เนชั่นแนล เอสโอเอส (International SOS ) บริษัทผู้ให้บริการความช่วยเหลือด้านสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยชั้นนำของโลก จึงได้เปิดตัวหลักสูตรการเรียนรู้แบบดิจิทัลออนไลน์เกี่ยวกับโรคมาลาเรีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจในการส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดีของพนักงานทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง หลักสูตรการเรียนรู้ออนไลน์นี้ถูกออกแบบมาเพื่อ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้วันที่ ... ม.มหิดล วิจัยมาลาเรีย ติดอันดับ Top 2% อ้างอิงระดับโลก — องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้กำหนดให้วันที่ 25 เมษายนของทุกปี เป็น "วันมาลาเรียโลก" (World Malaria D...

องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ทุกวันที่ 25 เ... ประเทศแรกในเอเชีย! ไทยขึ้นทะเบียน “ยาทาเฟโนควิน” รักษาโรคมาลาเรียชนิดเชื้อไวแว็กซ์ แบบหายขาด — องค์การอนามัยโลกได้กำหนดให้ทุกวันที่ 25 เมษายนของทุกปีเป็นว...

อาหารปนเปื้อนทำให้ประชากรในภูมิภาคเอเชียแ... 7 มิถุนายน 2562 วันความปลอดภัยอาหารโลก — อาหารปนเปื้อนทำให้ประชากรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกล้มป่วยกว่า 275 ล้านคนต่อปี ส่งผลกระทบต่อการค้าสินค้าเกษตร ...

ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมาลาเรียในเอเชียที่ร่ว... จุดจบของโรคมาลาเรียในเอเชียพลิกผันเมื่อเชื้อดื้อยาฆ่าแมลงและยารักษา — ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคมาลาเรียในเอเชียที่ร่วมการสำรวจในรายงานฉบับใหม่กล่าวว่ามีความจำเป...

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จ.อุบลราชธ... สคร.10 อุบลฯ รณรงค์ป้องกันโรคมาลาเรีย จ.ศรีสะเกษ — สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จ.อุบลราชธานี จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักโรคมาลาเรียสู่ประชาชนในพื้นที่...

ผู้เชียวชาญในเอเชียหวั่นเป้าหมายในการกำจั... จุดจบของโรคมาลาเรียในเอเชียพลิกผันเมื่อเชื้อดื้อยาฆ่าแมลงและยารักษา — ผู้เชียวชาญในเอเชียหวั่นเป้าหมายในการกำจัดโรคมาลาเรียในภูมิภาคเผชิญความเสี่ยงจากเชื้...

ศ.ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์(ซ้าย) อธิการบดี ม... ภาพข่าว: ลงนามบันทึกความร่วมมือ — ศ.ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์(ซ้าย) อธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนามประกาศความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาความเป็น...