กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) พัฒนาเครือข่ายด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ครอบคลุมทั้งการเฝ้าระวังสถานการณ์ การแจ้งเตือนภัย การเผชิญเหตุ การกู้ชีพกู้ภัย และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการภัยพิบัติในระดับพื้นที่ ถือเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลภายใต้วาระ "ประเทศไทยปลอดภัย (Safety Thailand)"
นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า สาธารณภัยมีแนวโน้มทวีความรุนแรงและเกิดบ่อยครั้งมากขึ้น การเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยถือเป็นแนวทางสำคัญในการเตรียมพร้อมรับมือและลดผลกระทบจากสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย จึงได้พัฒนาเครือข่ายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยให้ทำหน้าที่สนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ ในด้านต่างๆ ทั้งการเฝ้าระวังสถานการณ์ การแจ้งเตือนภัย การเผชิญเหตุ การกู้ชีพกู้ภัย และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการภัยพิบัติในระดับพื้นที่ ประกอบด้วย
1.อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อปพร.) ทำหน้าที่สนับสนุนภาครัฐในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ครอบคลุมทั้งการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติ การเผชิญเหตุ การกู้ชีพกู้ภัย และการอพยพประชาชน
2.ทีมกู้ชีพกู้ภัยประจำตำบล (OTOS) เป็นหน่วยเผชิญเหตุเบื้องต้นในระดับพื้นที่ ทำหน้าที่เป็นชุดปฏิบัติการกู้ชีพ กู้ภัย ค้นหา และช่วยเหลือผู้ประสบภัย ณ จุดเกิดเหตุ ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องตามหลักวิชาการ
3.เครือข่ายอาสาสมัคร (มิสเตอร์เตือนภัย) เป็นเครือข่ายแจ้งเตือนภัยในระดับพื้นที่ ทำหน้าที่เฝ้าระวัง แจ้งเตือนและประสานการอพยพประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย
4.ชุมชนเข้มแข็งจัดการภัยพิบัติยั่งยืน โดยนำแนวคิดการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติโดยอาศัยชุมชนเป็นฐานมาปรับใช้ เพื่อกระตุ้นให้ชุมชนตระหนักถึงสภาพความเสี่ยงภัยและเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการสาธารณภัย
ทั้งนี้การเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ถือเป็นแนวทางสำคัญในการดำเนินการป้องกันภัยเชิงรุก ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย นับเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาล ภายใต้วาระ "ประเทศไทยปลอดภัย (Safety Thailand)"
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทั้ง บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) หรือ NT ร่วมแถลงข่าวความพร้อมทดสอบการแจ้งเตือนภัยผ่าน Cell Broadcast
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค แนะ 7 วิธี เช็กระบบไฟฟ้า เพิ่มความปลอดภัย รับมือหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์
—
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำด้านดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น ในการจัดก...
'ภัยแล้ง' ทีม SEhRT กรมอนามัย-สสจ.-ท้องถิ่น เตรียมพร้อมรับมือพื้นที่ขาดแคลนน้ำ
—
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มอบทีม SEhRT ประสานภารกิจร่วมกับสำนักงานสาธารณ...
สงกรานต์นี้ เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์
—
เทศกาลสงกรานต์เป็นช่วงเวลาแห่งความสุขและการเดินทาง เพื่อช่วยลดควา...
กทม. เดินหน้ากำจัดปลาหมอคางดำ ลดผลกระทบเกษตรกร-แปรรูปสร้างรายได้
—
นางสาวกาญจนา ภูพิพัฒน์ผล รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาสังคม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพั...
กทม. เร่งถ่ายเทไหลเวียนน้ำในคลองช่องนนทรี เตรียมขุดลอกดินเลน-ทำความสะอาดท่อลอด
—
นายเจษฎา จันทรประภา ผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม. กล่าวชี้แจงกร...
มท.1 มอบโฉนดที่ดินให้แก่ประชาชน ตามโครงการ "มอบโฉนดที่ดินทั่วไทย นำสุขคลายทุกข์ให้ประชาชน" ในพื้นจังหวัดกาญจนบุรี
—
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ...
ธนชาตประกันภัย ห่วงความปลอดภัยนักดื่ม ด้วยบริการ "U Drink I Drive" สิทธิพิเศษให้ลูกค้า เมาไม่ขับ ส่งคนไปรับ-ขับพากลับบ้าน
—
ธนชาตประกันภัย ตอกย้ำบทบาทภาคี...