นายสุรพล จารุพงศ์ โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงผลการติดตามระดับพื้นที่ โครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภัยแล้ง ปี 2558/59 และการสร้างการรับรู้ให้แก่เกษตรกร โดย สศก. ได้ประเมินผลโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2558/59 ระหว่างการดำเนินงานโครงการ ตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน -15 พฤษภาคม 2559 รวม 61 จังหวัด โดยสุ่มสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ ที่เกี่ยวข้อง ประธานศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.) ผู้นำกลุ่มเกษตรกรที่เสนอโครงการชุมชน เกษตรกรที่เข้าร่วมมาตรการที่ 1 3 และ 4 และเกษตรกรทั่วไป รวมทั้งสิ้น 4,085 ราย
ผลการประเมิน พบว่า เกษตรกร ร้อยละ 77 ที่ได้รับผลกระทบ ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อใช้ทำการเกษตร โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่วนการรับรู้รับทราบสถานการณ์ภัยแล้งและมาตรการให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐ เกษตรกร ร้อยละ 95 รับทราบสถานการณ์และมาตรการช่วยเหลือ โดยมาตรการที่ 4 โครงการตามความต้องการของชุมชน มาตรการที่ 5 การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ และมาตรการที่ 7 การเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัย เป็นมาตรการที่เกษตรกรรับรู้มากในลำดับต้น ๆ
ด้านการปรับตัว เกษตรกร ร้อยละ 36 มีการปรับเปลี่ยนการผลิต โดยทำการเกษตรอื่นทดแทนหรือเสริมจากกิจกรรมที่ทำอยู่เดิม เพื่อลดความเสี่ยงจากความเสียหายของผลผลิตและเป็นการหารายได้เสริม เช่น การปลูกพืชผักสวนครัว ผักคะน้า ต้นหอม การปลูกพืชถั่วเขียว ถั่งลิสง หรือทำอาชีพเสริมอื่น ๆ ทั้งในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร อย่างไรก็ตาม พบว่า ร้อยละ 64 ที่ไม่ปรับเปลี่ยน เกิดจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น พื้นที่ทำการเกษตรเป็นที่เช่าจำเป็นต้องทำกิจกรรมเดิม ยังไม่คุ้นเคยกับการทำการผลิตอย่างอื่น ไม่อยากเสี่ยงปลูกพืชอื่นในภาวะที่มีความแห้งแล้งมาก รวมทั้งยังไม่แน่ใจในเรื่องของตลาดรับซื้อผลผลิตว่าจะมีรองรับจริงหรือไม่ เป็นต้น
นายสุรพงษ์ เจียสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับความพึงพอใจต่อการดำเนินงาน เกษตรกรมีความพึงพอใจระดับมาก ในมาตรการต่าง ๆ 3 อันดับแรก ได้แก่ มาตรการที่ 3 การจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ มาตรการที่ 4 โครงการตามความต้องการของชุมชน และมาตรการที่ 7 การเสริมสร้างสุขภาพและความปลอดภัย ตามลำดับ
ทั้งนี้ ได้ข้อค้นพบและข้อเสนอแนะของการดำเนินงานโครงการว่า การบูรณาการจากหลากหลายหน่วยงาน และหลายกระทรวง ทำให้ความช่วยเหลือกระจายสู่ชุมชนต่าง ๆ ได้ในวงกว้างครอบคลุมทั่วประเทศ แต่อาจยังไม่กระจายทั่วถึงทุกกลุ่มในชุมชน บางโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการปลูกพืชใช้น้ำน้อย อาจไม่ได้รับผลผลิตตามที่คาดหวัง เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนมากในหลายพื้นที่ไม่เอื้อต่อการปลูกพืช ดังนั้น ควรพิจารณาหรือประเมินความพร้อมของพื้นที่เป้าหมายด้วย ส่วนการแก้ปัญหาของเกษตรกรแบบเร่งด่วน ควรเน้นไปที่กิจกรรมการจ้างงานในชุมชน และในระยะยาวการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ควรผลักดันการดำเนินกิจกรรมในมาตรการที่ 5 และ 6 คือ การเพิ่มประสิทธิภาพใช้น้ำ และเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนอย่างต่อเนื่องและขยายพื้นที่มากขึ้น ซึ่งการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลในช่วงสิ้นสุดการดำเนินงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดไว้ในเดือนกรกฎาคมนี้ เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการและจะรายงานให้ทรายในระยะต่อไป
นายสุรชาติ มาลาศรี รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดินด้านปฏิบัติการ พร้อมด้วย นายบุญช่วย ช่วยระดม ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 นายสมาน ก้อนศรีษะ ผู้อำนวยการสถานีพัฒนาที่ดินสกลนคร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมคณะ นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงพื้นที่ตรวจราชการจังหวัดสกลนคร เพื่อมอบนโยบาย พบปะเกษตรกร และรับฟังปัญหาด้านการเกษตรในพื้นที่ พร้อมมอบปัจจัยการผลิตด้านการเกษตร ตลอดจนเยี่ยมชมนิทรรศการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมี นายประยูร อินสกุล
ไอแบงก์เปิดงาน Thailand Islamic Finance Forum 2025 (TIFF 2025) ผลักดันระบบนิเวศน์ของการเงินอิสลามในประเทศไทย สู่ความยั่งยืน
—
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไ...
เกษตรฯ จัดพิธีบวงสรวงคันไถ เตรียมในพระราชพิธีพืชมงคลฯ ปี 2568
—
นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระน...
ARDA จับมือ ฟาร์ม เอ็กซ์โป และพันธมิตร เปิดศึก AGRITHON by ARDA Season 2 เฟ้นหาสุดยอดไอเดียปลุกพลังนวัตกรรมเกษตรไทย ชิงทุนวิจัยรวมกว่า 100 ล้าน
—
สำนักงานพัฒ...
รองฯ กาญจนา ร่วมเปิดงานมหกรรม จากพันธุกรรม สู่ความยั่งยืน
—
นางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ร่วมเปิด...
ร่วมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
—
นายวิโมกษ์ พรหมทอง เกษตรอำเภอเขาย้อย มอบหมายให้นางสาวจันทิมา...
AIT จับมือ กรมประมง วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควบคู่กับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
—
สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ร่วมกับ กรมประมง สังกั...
กรมพัฒนาที่ดิน คัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการพัฒนาที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และหมอดินอาสาดีเด่น ปี 2568
—
ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิ...
เกษตรอำเภอหนองหญ้าปล้อง ประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงานคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. และแปลงใหญ่ ครั้งที่ 2/2568
—
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 นางสาวศิริรัตน์ แ...
เหล็กสหวิริยาพัฒนาประมงบางสะพานยั่งยืน ผนึกกำลังเครือข่ายประมง-ทิ้งซั้งบอกรักทะเล
—
"กลุ่มเหล็กสหวิริยา" (SSI-TCRSS-TCS-WCE-BSBM-PPC) เครือข่ายชาวประมงบาง...