ภาคการศึกษา-เอกชน-ประชาสังคมตื่นตัว ยกระดับงานอาสาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภาครัฐหนุนเปิดศูนย์กลางอาสาสมัครแห่งชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เริ่มแล้ว "งานประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัครครั้งที่ 2" ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28-29 กันยายน 2559 ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ โดยเครือข่ายจิตอาสา ร่วมกับภาคีทั้งภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชนและประชาสังคมกว่า 20 องค์กร เพื่อตอกย้ำความสำคัญของอาสาสมัครในฐานะกลไกขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผ่านการเสวนาและกรณีศึกษาทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับโลก ด้านพม.เปิดพื้นที่ระดมความคิดการบริหาร "ศูนย์ประสานงานองค์กรอาสาสมัครแห่งชาติ" หวังให้เป็นศูนย์กลางอาสาสมัครแห่งชาติในการสร้างความร่วมมือและส่งเสริมงานอาสาสมัครให้เข้มแข็งและยั่งยืน คาดว่าจะมีผู้เข้าร่วมงานทั้ง 2 วันรวมกว่า 800 คน
          นางสาวนันทินี มาลานนท์ ผู้จัดการเครือข่ายจิตอาสา ซึ่งเป็นองค์กรที่ส่งเสริมวัฒนธรรมอาสาสมัครในสังคมไทยมากว่าทศวรรษ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการร่วมมือกับภาคีเครือข่ายสานต่อการจัดงานประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัครครั้งที่ 2 ว่า เพื่อเป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการงานอาสาสมัครทั้งในระดับประเทศและระดับโลก ทำให้ผู้เข้าร่วมงานมองเห็นมิติที่หลากหลายของงานอาสาสมัคร นำมาสู่การพัฒนาร่วมกันและยกระดับการขับเคลื่อนงานอาสาสมัครให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) และแก้ไขปัญหาสังคมได้อย่างเป็นระบบ
          ผู้จัดการเครือข่ายจิตอาสา ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์งานอาสาสมัครในประเทศไทยว่ามีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นทุกๆ ปี นับตั้งแต่การรวมพลังอาสาสมัครครั้งใหญ่ในเหตุการณ์ภัยพิบัติสึนามิเมื่อปี 2547 ทำให้เห็นว่ามีคนธรรมดาจำนวนมากพร้อมที่จะทำงานอาสาเพื่อช่วยเหลือคนอื่น 
          "จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2555 แสดงให้เห็นว่าองค์กรภาคประชาสังคมมากกว่า 7 หมื่นแห่งมีการทำงานร่วมกับอาสาสมัครจำนวนรวมกว่า 8 แสนคน เพื่อร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมในประเด็นต่างๆ อย่างไรก็ตาม พบว่า เกิดความท้าทายเกี่ยวกับงานอาสาสมัคร ทั้งด้านความรู้ความเข้าใจของอาสาสมัครเอง รวมทั้งระบบบริหารจัดการอาสาสมัครที่มีประสิทธิภาพทั้งในระดับองค์กรและระดับประเทศ"
          กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เห็นความสำคัญของความท้าทายในงานอาสาสมัครดังกล่าว จึงได้จัดตั้ง"ศูนย์ประสานงานองค์กรอาสาสมัครแห่งชาติ" ขึ้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา โดยมีเครือข่ายจิตอาสาเป็นผู้รับผิดชอบ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางองค์กรอาสาสมัครของประเทศ ในการเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างองค์กรอาสาสมัครทั้งภายในและระหว่างประเทศ สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพองค์กรทุกภาคส่วนที่มีอาสาสมัครหรือมีความต้องการสร้างระบบบริหารจัดการอาสาสมัครให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงส่งเสริมให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการทำงานอาสาสมัครร่วมกันอย่างยั่งยืน โดยมีกำหนดเปิดตัวในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งการประชุมครั้งนี้จะมีการระดมความคิดเห็นจากภาคส่วนต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารจัดการศูนย์ดังกล่าวต่อไป
          ในการประชุมครั้งนี้ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียน กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "งานอาสาสมัครกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน" ว่า งานจิตอาสาอยู่ในสังคมไทยมาเป็นเวลานาน ทั้งในรูปของการให้เพื่อการกุศล (Charity) และการบริจาคในรูปแบบต่างๆ เช่น เวลา ความรู้ และสิ่งของ ส่งผลให้มีผู้ที่ได้รับประโยชน์จากงานอาสาสมัครเป็นจำนวนมาก ขณะเดียวกันความต้องการอาสาสมัครก็มีจำนวนเพิ่มขึ้น เกิดการบริหารจัดการและเชื่อมต่อระหว่างอาสาสมัครและผู้รับประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้สังคมไทยจะตื่นตัวในเรื่องของการให้แต่การให้เพื่อสร้างความยั่งยืนแก่ผู้รับประโยชน์ ให้สามารถเติบโตและอยู่ได้ด้วยตัวเองนั้น ยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งถือเป็นข้อจำกัดของงานอาสาสมัครในประเทศไทย ดังนั้น ถ้าผู้ให้คำนึงความยั่งยืนของผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น จะทำให้งานอาสาสมัครในประเทศมีทรัพยากรและสามารถขยายผลสร้างการเปลี่ยนแปลงในระยะยาวได้
          ต่อด้วยเวทีเสวนา "อาสาสมัคร เส้นทางสู่การลงมือเปลี่ยนแปลงสังคม" โดยผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อคนไทย และ นายชอน วินเซนท์ ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก องค์การหน่วยอาสาสมัครประเทศอังกฤษ (Voluntary Service Overseas:VSO) 
          ผศ. ดร. ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายบริหารและความยั่งยืน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า การแก้ปัญหาในสังคม คนส่วนใหญ่มักเรียกร้องให้คนอื่นมาช่วยแก้ปัญหา จึงทำให้ปัญหานั้นยังคงอยู่ อย่างไรก็ตาม หากประชาชนมาร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยไม่คำนึงว่าปัญหานั้นๆ จะเกิดจากใคร ก็ย่อมจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมได้ในที่สุด "ปัจจุบันมหาวิทยาลัยหลายแห่งให้ความสำคัญกับการเป็นจิตอาสา ซึ่งเป็นเรื่องเดียวกับการสร้างพลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม (Active Citizen) มีการเปิดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ด้วยการสร้างเงื่อนไขของการลงมือปฏิบัติและการเรียนรู้ด้วยตัวเอง บางมหาวิทยาลัยมีการจัดตั้งศูนย์อาสาสมัครขึ้นเพื่อส่งเสริมความเป็นอาสาสมัคร และเป็นตัวกลางระหว่างผู้ที่ต้องการอาสาและผู้ที่อยากเป็นอาสาสมัคร ขณะนี้มีศูนย์อาสาสมัครในมหาวิทยาลัยจำนวน 10 แห่งซึ่งจะมาร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของแต่ละมหาวิทยาลัยในงานนี้"
          ด้านนายวิเชียร พงศธร ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อคนไทย องค์กรภาคสังคมที่เน้นการสร้างพลเมืองที่มีส่วนร่วมเพื่อส่วนรวม กล่าวว่า ปัญหาสังคมมีขนาดใหญ่ จึงต้องการความร่วมมือจากคนจำนวนมากช่วยแก้ไข งานอาสาสมัครถือเป็นกลไกหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมได้ จากประสบการณ์ของมูลนิธิฯ พบว่าบทบาทของอาสาสมัครแบ่งได้ 2 ระดับคือ "อาสาสมัครผู้เชี่ยวชาญ" ที่ร่วมออกแบบกลไกสร้างเครื่องมือและบริหารจัดการ ที่ผ่านมามีผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพต่างๆ จากหลายภาคส่วน รวมถึงภาคธุรกิจมาร่วมทำงาน อาทิ นักวิจัย นักวิชาการ นักการเงินหรือผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุน นักการศึกษา และนักการตลาด เป็นต้น อีกระดับหนึ่งคือ "อาสาสมัครเฉพาะด้าน" ที่สังคมไทยยังต้องการคนอีกจำนวนมากมาร่วมลงมือปฏิบัติ แก้ปัญหาสังคมในประเด็นต่างๆ เช่น ประเด็นการศึกษา มูลนิธิยุวพัฒน์ต้องการอาสาสมัครพี่เลี้ยงนักเรียนทุน เพื่อให้กำลังใจและคำแนะนำแก่นักเรียนทุนร่วม 4,000 คนให้ได้เรียนหนังสือจนจบและเติบโตเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพ ประเด็นต่อต้านคอร์รัปชัน องค์กรต่อต้านคอร์รัปชันฯ ต้องการอาสาสมัคร "หมาเฝ้าบ้าน" ในการร่วมสอดส่องป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน หรือ ประเด็นคนพิการ มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม ต้องการอาสาสมัครติดตามการจ้างงานคนพิการจำนวนมาก เป็นต้น
"จะเห็นได้ว่างานอาสาสมัครมีความสำคัญและต้องการขยายผลให้มีจำนวนหลายเท่าทวีคูณจึงจะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงสังคมของประเทศได้" ประธานกรรมการมูลนิธิเพื่อคนไทยกล่าว
          ขณะที่นายชอน วินเซนท์ ผู้อำนวยการภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก องค์การหน่วยอาสาสมัครประเทศอังกฤษ (Voluntary Service Overseas) หรือ VSO กล่าวว่า ปัจจุบันงานอาสาสมัครได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่ามีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างยั่งยืน เนื่องจากงานอาสาสมัครมีส่วนสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมอันดี ทั้งในระดับชุมชน ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ "งานอาสาสมัครได้รับการยอมรับว่ามีบทบาทสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้ร่วมลงนามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลกทั้ง 17 ข้อ (SDGs) โดยได้นำมติขององค์การสหประชาชาติมาประยุกต์ใช้ด้วยการบูรณาการงานอาสาสมัครสู่สันติภาพและการพัฒนา ทั้งนี้งานอาสาถือเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว"
          สำหรับงาน "ประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัคร ครั้งที่ 2" นี้ ประกอบด้วย เวทีเสวนา การนำเสนอกรณีศึกษาหรือผลงานทางวิชาการ และการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับงานจิตอาสาใน 8 ประเด็นคือ 1. กระบวนการอาสาสมัคร:เส้นทางสู่การสร้างพลเมืองเพื่อลงมือเปลี่ยนแปลงสังคม 2. บทบาทของสถาบันการศึกษาในการส่งเสริมงานอาสาสมัคร 3. บทบาทภาคธุรกิจกับการส่งเสริมงานอาสาสมัคร 4. การพัฒนางานอาสาสมัครสำหรับองค์กรภาคประชาสังคม 5. แนวโน้มระดับโลกด้านงานอาสาสมัคร 6. บทบาทภาครัฐบาลในการสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้กับกระบวนการอาสาสมัคร 7. การเพิ่มพูนสมรรถนะและผลกระทบจากการทำงานอาสาสมัคร และ 8.กระบวนการอาสาสมัครกับการแก้ไขปัญหาสังคม
ภาคการศึกษา-เอกชน-ประชาสังคมตื่นตัว ยกระดับงานอาสาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ภาครัฐหนุนเปิดศูนย์กลางอาสาสมัครแห่งชาติ
 

ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+มหาวิทยาลัยธรรมศาสวันนี้

วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนัก... รวมใจ ให้โลหิต 1 พฤษภาคม วันแรงงานไทย May Day : Give Blood Save Lives — ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมหาวิทยา...

พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เ... สัญญาณเตือนระดับชาติ! มธ. ชี้ชัด "สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ" ตัวเร่งวิกฤตเศรษฐกิจไทย — พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เผยตัวเลขผู้สูงวัยเตรียมพุ่งสูง...

นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประธานเจ้าหน้า... แว่นท็อปเจริญ จับมือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ลงนาม MOU ผนึกกำลังสร้างโอกาสให้บัณฑิต พัฒนาศักยภาพสู่ความพร้อมในโลกธุรกิจจริง — นายนพศักดิ์ ตรีพรชัยศักดิ์ ประ...

ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนงค์ ผู้อำนวย... สวทช. คว้า 2 รางวัลผลิตสื่อสร้างสรรค์จากเวที Commu Max Competition จากผลงาน Thailand's Food Bank และ Innovation Grows@TSP — ศาสตราจารย์ ดร.ชูกิจ ลิมปิจำนง...

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) เผยผลการสำรวจ... มธ. เผย 'บัณฑิตธรรมศาสตร์' กวาดตำแหน่งงานในตลาดสูงถึง 92% ครอบคลุมกลุ่มสายสังคม วิทย์เทคโน วิทย์สุขภาพ พร้อมชี้ 'Soft Skills - ประสบการณ์ตรง' ทักษะเด่นบัณฑิต มธ. — มหาวิทยาลัย...