คาดกนง.ไทยไม่หวั่นไหวแม้เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

           ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics มองการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่จะมีจุดเริ่มต้นในปีนี้ จะส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าและเงินทุนไหลออกจากตลาดตราสารหนี้ แต่จะไม่ส่งผลรุนแรงต่อตลาดเงินตลาดทุนไทย และธปท.จะยัง "คง" ดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเช่นนี้ไว้ได้อย่างน้อยถึงกลางปีหน้า
          แม้ที่ประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในคืนที่ผ่านมามีมติให้ "คง" อัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐที่ระดับ 0.25 - 0.50% แต่มี 3 เสียงไม่เห็นด้วยและมองว่าควรขึ้นดอกเบี้ยเลย จึงมีความเป็นไปได้สูงที่ดอกเบี้ยจะถูกปรับขึ้น 0.25% ในอีกสามเดือนข้างหน้าและมีแนวโน้มปรับขึ้นอีก 0.50% ในปีหน้า นักลงทุนและผู้ประกอบการไทยจึงควรติดตามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวไม่เพียงจะส่งผลให้ต้นทุนในรูปดอลลาร์สหรัฐปรับตัวสูงขึ้น แต่ตลาดเงินตลาดทุนจะผันผวนมากขึ้นในช่วงท้ายปีและปีหน้าอย่างแน่นอน และสิ่งที่น่าจับตามองที่สุดคือ ธปท. จะรับมือกับการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดครั้งนี้อย่างไร
          หลายคนอาจมองว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คงไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการไทยโดยตรง แต่หากมองในมุมดอกเบี้ย การขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเป็นเหมือนการจุดประกายให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยตามในไม่ช้าหรือไม่ ซึ่งถ้าเรามองย้อนกลับไปตั้งแต่ปี 2001 จนถึงปัจจุบัน จะพบว่าการขึ้นดอกเบี้ยของ กนง. 13 ใน 25 ครั้งหลังสุดเป็นการขึ้นหลังจากที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยภายในหนึ่งเดือนก่อนหน้า จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ตลาดอาจมองว่าการปรับอัตราดอกเบี้ยของเฟดเป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของ กนง. ยิ่งในปัจจุบันที่ความผันผวนของตลาดการเงินและการดำเนินนโยบายที่สวนทางกันของธนาคารกลางส่งผลกระทบให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีโอกาสผันผวนรุนแรงในอนาคต
          อย่างไรก็ตามศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics วิเคราะห์ว่าการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดที่จะเกิดขึ้นต่อไปจะไม่ส่งผลต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนในตลาดการเงินไทยมากนัก เนื่องจากเศรษฐกิจไทยยังมีการเติบโตที่ดีขึ้นสวนทางกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ชะลอตัว กอปรกับในทางทฤษฎีเมื่อดอกเบี้ยสหรัฐฯปรับตัวขึ้นในขณะที่ดอกเบี้ยไทยยังคงทรงตัว ตราสารหนี้สกุลเงินบาทจึงลดความน่าสนใจลงเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ของสหรัฐฯ ส่งผลให้นักลงทุนขายตราสารหนี้ไปซื้อตราสารหนี้สหรัฐฯ เงินทุนไหลออก ค่าเงินบาทอ่อน ทั้งนี้ พบว่าก่อนการขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ของเฟดโดยส่วนใหญ่จะส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงราว 1% ในขณะที่หลังการขึ้นดอกเบี้ย อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปีปรับตัวสูงขึ้นราว 0.05% และถ้าเหตุการณ์ทั้งหมดเป็นไปตามคาด เรามองว่า ธปท.จะยัง "คง" ดอกเบี้ยที่ระดับต่ำเช่นนี้ไว้ได้อย่างน้อยถึงกลางปีหน้าหรือจนกว่าดอกเบี้ยสหรัฐฯ จะเริ่มปรับตัวสูงขึ้นเกินกว่าระดับดอกเบี้ยนโยบายไทย
          ถึงกระนั้น ผู้ประกอบการไทยยังไม่ควรตั้งอยู่ในความประมาทและจับตาทิศทางดอกเบี้ยและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด เนื่องจากการคาดการณ์ดังกล่าวอาจถูกกระทบด้วยปัจจัยอื่นๆ จนผลลัพธ์กลับสวนทางได้ในภาวะตลาดที่ผันผวน เช่นในปลายปีที่ผ่านมาที่เฟดขึ้นดอกเบี้ยได้ 0.25% ขณะที่ กนง. คงดอกเบี้ยแต่กลับมีเงินทุนไหลเข้าทั้งในตลาดหุ้นและตลาดตราสารหนี้ถึง 3.67 แสนล้านบาท ตั้งแต่ต้นปี 2016 ซึ่งแม้ถึงแม้อัตราดอกเบี้ยนโยบายไทยอาจยังไม่มีแนวโน้มจะเปลี่ยนแปลง แต่การเคลื่อนย้ายเงินทุนเหล่านี้จะส่งผลต่อ ตลาดเงิน ตลาดทุนและค่าเงินบาทจน ธปท. อาจต้องหันกลับมาใช้ดอกเบี้ยเป็นเครื่องมือในการรับมือกับความผันผวนของตลาดการเงินโลกอีกครั้ง
 
 

ข่าวศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี+ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจวันนี้

ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี พบ 9 ปัญหาดราม่าทายาทธุรกิจ พร้อมแนะ 3 ทางออก “ปรับพื้นฐาน - สร้างความเชื่อมั่น – ผสานการบริหาร”

ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี เผยผลงานวิจัยปัญหาและทัศนคติในหัวข้อ "9 ดราม่าทายาทธุรกิจ รุ่น 2 ทางเลือก-ทางรอดของเอสเอ็มอี4.0" พบปมปัญหา ทั้งเรื่องขาดความรู้ ขาดประสบการณ์ ไม่มีอำนาจการบริหารที่แท้จริง และไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากทั้งภายในและภายนอกบริษัท พร้อมแนะนำ 3 ทางออกแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ได้เปิดตัว TMB SME Insights เว็บไซต์ คอมมูนิตี้ฮับ ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสารใหม่ๆ และบทความวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ เพื่อ

นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหา... ทีเอ็มบีหั่นเป้าเศรษฐกิจเหลือโต 3% มองปัจจัยบวกจากรัฐบาลใหม่หนุนเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง — นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเ...

5 พืชเศรษฐกิจ ชี้นำเศรษฐกิจภูมิภาค

TMB Analytics ชี้ปี 2560 ราคามันสำปะหลังและข้าวแนวโน้มสดใส ดันเศรษฐกิจภาคเหนือ อีสานคึกคัก อ้อย ยาง ปาล์ม ปริมาณผลผลิตเพิ่ม ชดเชยกับราคาที่ลดลง แนะเกษตรกรรวมตัวลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ควบคู่กับภาครัฐเพิ่มการใช้ในประเทศเพื่อลดพึ่งพิงการส่งออก ศูนย์วิ...

เงินเฟ้อไทยต่ำจริงมั้ย แล้วดอกเบี้ยควรขึ้นเมื่อไหร่

ประเทศไทยใช้อัตราเงินเฟ้อในการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยมีกรอบเป้าหมายอยู่ในช่วง 1-4% แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของไทยกลับเฉลี่ยไม่เกิน 1% ต่อปี ทำให้ ธปท. ยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.5% เป็นระดับที่เกือบต่ำสุดที่เคยมีมา...

อัตราดอกเบี้ยไทย ถึงเวลาต้องขึ้นหรือยัง

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics มองว่า ธปท.มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยได้ในปีนี้โดยจะเป็นการขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากอัตราดอกเบี้ยโลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง เพื่อลดพฤติกรรม Search for yield โดยผลกระทบต่อ...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB ... บาทแข็ง ค่าแรงเพิ่ม ธุรกิจไหนเจ็บ — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินเงินบาทแข็งค่าบวกค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น กำไรหดเฉลี่ย 0.6...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผยความเช... SME ความเชื่อมั่นด้านรายได้ฟื้น กังวลค่าแรงขั้นต่ำกระทบต้นทุนกิจการปีจอ — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผยความเชื่อมั่น SME ด้านรายได้ในไตรมาส 4 เพิ่มข...

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) จัดงานสัมมนา Capital Market Outlook “เศรษฐกิจไทยขยับ เตรียมรับเทคโนโลยีเปลี่ยน”

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ขอเชิญผู้สนใจร่วมงานสัมมนา Capital Market Outlook "เศรษฐกิจไทยขยับ เตรียมรับเทคโนโลยีเปลี่ยน" โดยได้รับเกียรติจาก ดร. วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย...

ดอกเบี้ยไทยต่ำกว่าดอกเบี้ยเฟด ไม่เป็นไรจริงหรือ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ยังคงมุมมองเดิมว่าธปท.จะคงดอกเบี้ยนโยบายตลอดปีนี้ แต่จะเริ่มมีแรงกดดันให้ต้องปรับขึ้น จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯที่ลดลง ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward...

ทีเอ็มบี เผยดัชนีเชื่อมั่น SME ไตรมาส 3 ท... ความเชื่อมั่น SME ไตรมาส 3 ทรงตัว คาดเทศกาลปลายปีและภาพรวมเศรษฐกิจดีปีหน้า หนุนจ้างงาน ดันรายได้ SME ฟื้น — ทีเอ็มบี เผยดัชนีเชื่อมั่น SME ไตรมาส 3 ทรงตัว...