บาทแข็ง ค่าแรงเพิ่ม ธุรกิจไหนเจ็บ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินเงินบาทแข็งค่าบวกค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น กำไรหดเฉลี่ย 0.6% กลุ่มธุรกิจสินค้าเกษตร เครื่องนุ่งห่ม และเฟอร์นิเจอร์/ชิ้นส่วน โดนหนักสุด
          แม้คาดว่าการส่งออกไทยปี 2561 แนวโน้มจะขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 4.8 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันดิบที่สูงขึ้นเฉลี่ย 64 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล สร้างรายได้จากการส่งออกเฉลี่ย 2.1 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน แต่หลังจากเข้าสู่ปี 2561 เป็นต้นมา ธุรกิจส่งออกต้องเผชิญกับปัจจัยที่กระทบต่อการดำเนินงาน ทั้งเรื่องการแข็งค่าของเงินบาทอย่างรวดเร็วตั้งแต่ต้นปี โดยคาดว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นถึง 5% ในปีนี้ ผนวกกับการเพิ่มขึ้นของค่าแรงขั้นต่ำจากปีก่อน 1-7% ขึ้นกับพื้นที่ตั้ง เริ่มมีผลตั้งแต่เดือนเมษายนนี้ 
          จากปัจจัยทั้ง 2 ส่วนนี้ TMB Analytics ประเมินผลกระทบต่อธุรกิจผ่านโครงสร้างธุรกิจและการเงิน และคาดการณ์การส่งออกในปี 61 เพื่อช่วยให้เห็นภาพผลกระทบและการปรับตัวของธุรกิจส่งออกในปีนี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยรวมพบว่าอัตรากำไรขั้นต้นลดลงจากระดับปกติเฉลี่ยที่ 0.6% จากผลของเงินบาทที่แข็งทำให้กำไรลดลง 0.2% เนื่องจากรายได้จากการส่งออกเป็นเงินบาทลดลง ส่วนของค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นทำให้กำไรลดลง 0.4% จากภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยจัดกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลกระทบออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
          1.กลุ่มธุรกิจได้รับผลกระทบมาก ได้แก่ สินค้าเกษตร เครื่องนุ่งห่ม และเฟอร์นิเจอร์/ชิ้นส่วน เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้พึ่งพารายได้จากการส่งออกสูงและมีการจ้างแรงงานสูง ทำให้กำไรขั้นต้นลดลงจากระดับปกติ 1-3% และด้วยแนวโน้มการส่งออกที่เติบโตอย่างจำกัดที่ 1-4% จำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วนเพื่อรับมือกับผลกำไรที่ลดลงที่กำลังลดทอนความสามารถในการแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดโลก
          2.กลุ่มที่ได้รับผลกระทบเฉพาะด้าน ด้วยลักษณะผลกระทบที่แตกต่างกัน จึงแยกออกมาเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
          กลุ่มที่ได้ผลกระทบด้านอัตราแลกเปลี่ยน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยางพารา ข้าว และอาหาร ด้วยการพึ่งพารายได้จากการส่งออกที่สูง แต่การจ้างแรงงานต่ำ ทำให้กำไรขั้นต้นลดลงจากระดับปกติ 1-2% อย่างไรก็ตามด้วยแนวโน้มส่งออกปีนี้ที่เติบโตมากกว่า 5% ช่วยให้ธุรกิจสามารถเติบโตต่อเนื่อง ในขณะที่การบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยลดผลกระทบ
          กลุ่มที่ได้รับผลกระทบด้านการตลาด ได้แก่ สินค้าอุปโภคบริโภค กระดาษ/สิ่งพิมพ์ บรรจุภัณฑ์ เนื่องจากธุรกิจถูกกระทบจากต้นทุนแรงงานที่สูงขึ้นเป็นหลัก ทำให้กำไรขั้นต้นลดลงจากระดับปกติ 0.1-0.5% และด้วยแนวโน้มการส่งออกอยู่ในระดับต่ำ กระตุ้นให้ผู้ประกอบการต้องพิจารณาเรื่องขยายตลาด การปรับปรุงประสิทธิภาพด้านการผลิตเพื่อลดต้นทุน และรักษาส่วนแบ่งตลาดและผลกำไร
          3.กลุ่มที่ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด คือ ผู้ผลิตรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์/คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า และเคมีภัณฑ์ 
          เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีในปีนี้ และด้วยลักษณะผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นผู้นำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตและส่งออกต่อ จึงช่วยลดผลกระทบจากการแข็งของเงินบาท (Natural Hedging) ใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรเป็นในการผลิต จึงมีต้นทุนแรงงานอยู่ในระดับต่ำ กำไรขั้นต้นจึงได้รับผลกระทบน้อยเพียง 0.1% จากระดับปกติ ผู้ประกอบการที่สามารถปรับปรุงการดำเนินงาน การผลิตและบริหารความเสี่ยงได้ดีจะช่วยรักษาศักยภาพในการทำกำไรและการแข่งขันในตลาดได้ต่อไป
          จะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการส่งออกไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนและค่าจ้างแรงงานที่เกิดขึ้นได้ แต่ยังสามารถลดผลกระทบได้ จึงจำเป็นที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวอยู่ตลอดเวลาและมีข้อมูลที่บอกช่วยทิศทางแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยน สถานภาพทางการเงิน การปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุนและขยายช่องทางตลาด ข้อมูลตลาดส่งออกและข้อมูลคู่แข่ง จะช่วยให้ผู้ประกอบการส่งออกมีขีดความสามารถในการเติบโตและพร้อมรับมือกับแข่งขันตลาดโลกได้
บาทแข็ง ค่าแรงเพิ่ม ธุรกิจไหนเจ็บ

ข่าวศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี+ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจวันนี้

ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี พบ 9 ปัญหาดราม่าทายาทธุรกิจ พร้อมแนะ 3 ทางออก “ปรับพื้นฐาน - สร้างความเชื่อมั่น – ผสานการบริหาร”

ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี เผยผลงานวิจัยปัญหาและทัศนคติในหัวข้อ "9 ดราม่าทายาทธุรกิจ รุ่น 2 ทางเลือก-ทางรอดของเอสเอ็มอี4.0" พบปมปัญหา ทั้งเรื่องขาดความรู้ ขาดประสบการณ์ ไม่มีอำนาจการบริหารที่แท้จริง และไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากทั้งภายในและภายนอกบริษัท พร้อมแนะนำ 3 ทางออกแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ได้เปิดตัว TMB SME Insights เว็บไซต์ คอมมูนิตี้ฮับ ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสารใหม่ๆ และบทความวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ เพื่อ

นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหา... ทีเอ็มบีหั่นเป้าเศรษฐกิจเหลือโต 3% มองปัจจัยบวกจากรัฐบาลใหม่หนุนเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง — นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเ...

5 พืชเศรษฐกิจ ชี้นำเศรษฐกิจภูมิภาค

TMB Analytics ชี้ปี 2560 ราคามันสำปะหลังและข้าวแนวโน้มสดใส ดันเศรษฐกิจภาคเหนือ อีสานคึกคัก อ้อย ยาง ปาล์ม ปริมาณผลผลิตเพิ่ม ชดเชยกับราคาที่ลดลง แนะเกษตรกรรวมตัวลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ควบคู่กับภาครัฐเพิ่มการใช้ในประเทศเพื่อลดพึ่งพิงการส่งออก ศูนย์วิ...

เงินเฟ้อไทยต่ำจริงมั้ย แล้วดอกเบี้ยควรขึ้นเมื่อไหร่

ประเทศไทยใช้อัตราเงินเฟ้อในการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยมีกรอบเป้าหมายอยู่ในช่วง 1-4% แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของไทยกลับเฉลี่ยไม่เกิน 1% ต่อปี ทำให้ ธปท. ยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.5% เป็นระดับที่เกือบต่ำสุดที่เคยมีมา...

อัตราดอกเบี้ยไทย ถึงเวลาต้องขึ้นหรือยัง

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics มองว่า ธปท.มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยได้ในปีนี้โดยจะเป็นการขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากอัตราดอกเบี้ยโลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง เพื่อลดพฤติกรรม Search for yield โดยผลกระทบต่อ...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผยความเช... SME ความเชื่อมั่นด้านรายได้ฟื้น กังวลค่าแรงขั้นต่ำกระทบต้นทุนกิจการปีจอ — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผยความเชื่อมั่น SME ด้านรายได้ในไตรมาส 4 เพิ่มข...

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) จัดงานสัมมนา Capital Market Outlook “เศรษฐกิจไทยขยับ เตรียมรับเทคโนโลยีเปลี่ยน”

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ขอเชิญผู้สนใจร่วมงานสัมมนา Capital Market Outlook "เศรษฐกิจไทยขยับ เตรียมรับเทคโนโลยีเปลี่ยน" โดยได้รับเกียรติจาก ดร. วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย...

ดอกเบี้ยไทยต่ำกว่าดอกเบี้ยเฟด ไม่เป็นไรจริงหรือ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ยังคงมุมมองเดิมว่าธปท.จะคงดอกเบี้ยนโยบายตลอดปีนี้ แต่จะเริ่มมีแรงกดดันให้ต้องปรับขึ้น จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯที่ลดลง ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward...