มธ. เปิดตัว “นิทรรศการชีวิตและผลงาน ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ” ปูชนียบุคคลผู้สร้าง ผู้วางรากฐานการอุดมศึกษา สิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์มรดกโลก ในโอกาสครบรอบ 90 ปี

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ร่วมกับ คณะกรรมการดำเนินงาน 90ปี ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ เปิดตัว "นิทรรศการชีวิตและผลงาน ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ" ในโอกาสครบรอบ 90 ปีอาจารย์อดุล ปูชนียบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้มีคุณูปการต่อวงการการศึกษาไทยและมรดกโลก ผ่านนิทรรศการถาวรใน 2 ส่วนจัดแสดง คือ การจัดแสดงผลงานและเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิตอาจารย์อดุล บริเวณด้านหน้าของนิทรรศการ โดยจะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวในแต่ละช่วงชีวิต ผ่านการเติบโตของต้นยูงทอง และการจัดเป็นห้องคลังความรู้ของอาจารย์อดุล ตามแบบฉบับห้องสมุดส่วนตัวของอาจารย์อดุลที่บ้านป่าตะโก จังหวัดนครปฐม ซึ่งภายในได้รวบรวมหนังสือสะสมของอาจารย์อดุลไว้นับพันเล่ม ตลอดจนสิ่งสะสมที่สะท้อนตัวตนของอาจารย์อดุล เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจความเป็นตัวตนของอาจารย์อดุลให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากผลงานที่ปรากฏต่อสาธารณะ ทั้งนี้ นิทรรศการดังกล่าว มีกำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน 2559 เวลา 17.00 น. โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ณ ชั้น U2 สำนักหอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
          ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) กล่าวว่า ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ ถือเป็นอีกหนึ่งปูชนียบุคคลสำคัญของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะอดีตคณบดีและผู้ก่อตั้งคณะศิลปศาสตร์ มธ. ที่ได้สร้างคุณูปการให้แก่สถาบันและอุทิศตนเพื่อการทำงานให้ประเทศชาติในหลากหลายด้าน ทั้ง "ด้านการศึกษา"ในฐานะผู้วางรากฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วยหลักสูตรวิชาพื้นฐานทั่วไปให้กับ มธ. จนกระทั่งได้รับการยอมรับและเป็นต้นแบบวางหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆ ของไทยอย่างแพร่หลาย "ด้านสิ่งแวดล้อม" ด้วยการเป็นหนึ่งในคณะกรรมการยกร่างรัฐธรรมนูญของประเทศไทยในปี 2517 ที่เสนอให้รวมแผนการพัฒนาด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมเข้าไปไว้ในนโยบายของรัฐ และมีส่วนผลักดันให้อุทยานแห่งชาติของไทยให้เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติและ "ด้านอนุรักษ์อารยธรรมให้เป็นมรดกโลก" ในฐานะหนึ่งในสมาชิกคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก และอดีตคณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ ผู้มีส่วนผลักดันมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติไทยให้ได้รับการขึ้นทะเบียนมรดกโลก เป็นต้น
          ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด กล่าวต่อว่า เพื่อเป็นการรำลึกและเชิดชูเกียรติ ตลอดจนเผยแพร่ผลงานอาจารย์อดุล ผู้มีคุณูปการสำคัญยิ่งต่อทั้งวงการการศึกษาไทยและมรดกโลกในโอกาสครบรอบ 90 ปีของอาจารย์อดุล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ร่วมกับ คณะกรรมการดำเนินงาน 90 ปี ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ จัดสร้าง "นิทรรศการชีวิตและงานของ ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ" ซึ่งภายในประกอบด้วยการจัดแสดงใน 2 ส่วน ได้แก่
          · ส่วนที่หนึ่ง การจัดแสดงผลงาน และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิตการศึกษาและการทำงานของอาจารย์อดุล บริเวณด้านหน้าของนิทรรศการ โดยจะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวชีวิตของอาจารย์อดุล ผ่านการเติบโตของต้นไม้แห่งความทรงจำ "ต้นยูงทอง เคียงคู่ไปกับการฉายคลิปวิดีโอของบรรดาบุตร ลูกศิษย์ลูกหา รวมถึงบุคคลที่เคยร่วมงาน ที่มาร่วมถ่ายทอดความประทับใจที่มีต่ออาจารย์อดุลย์ในหลากมุมมองทั้งงานทรงดนตรีในความทรงจำ ศิลปศาสตร์ในความทรงจำ ในความทรงจำของครูและศิษย์ และมรดกโลก...มรดกใคร เป็นต้น
          · ส่วนที่สอง มีการจัดเป็นห้องคลังความรู้ของอาจารย์อดุล ตามแบบฉบับห้องสมุดส่วนตัวของอาจารย์อดุลจากบ้านป่าตะโก จังหวัดนครปฐม ซึ่งภายในได้รวบรวมหนังสือสะสมของอาจารย์อดุลไว้นับพันเล่ม พร้อมทั้งมีโซนจัดแสดงผลงานศิลปะ ภาพถ่ายและสิ่งสะสมต่างๆ เป็นต้น เพื่อให้ผู้ชมเข้าใจความเป็นตัวตนของอาจารย์อดุลให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นนอกเหนือจากผลงานที่ปรากฏต่อสาธารณะ
          อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากการจัดสร้างนิทรรศการดังกล่าวแล้ว ทางคณะดำเนินงานฯ ยังได้เตรียมการจัดทำหนังสือ "90ปี อดุล วิเชียรเจริญ ชีวิตและงาน" หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวชีวิตและการทำงานของอาจารย์อดุล นับแต่กำเนิดจนถึงปัจจุบันซึ่งเรียบเรียงโดย อาจารย์กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ และเรื่อง "ศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญกับหลักสูตรวิชาพื้นฐานศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์กาญจนี ละอองศรี นางสาววารุณี โอสถารมย์ และนายอังคาร จันทร์เมือง รวมไปถึงการจัดงานเสวนาปฏิรูปการอุดมศึกษา ในหัวข้อ "เส้นทางปฏิรูปอุดมศึกษาไทย : ย้อนอดีต มองอนาคต" ผ่านมุมมองผู้บริหารแห่งวงการการศึกษาและการเมืองไทย อาทิ ดร.ไตรรงค์ สุวรรณคีรี คุณกล้านรงค์ จันทิก หม่อมราชวงศ์ ปรีดิยาธร เทวกุล และ รองศาสตราจารย์ ดร.พิภพ อุดร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มธ. ในวันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน 2559 เวลา 13.00-15.00น. ณ ห้องศิลปศาสตร์ 202 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ศาสตราจารย์ ดร.สมคิด กล่าว
          ทั้งนี้ พิธีเปิดห้องนิทรรศการ "ชีวิตและงานของศาสตราจารย์ ดร.อดุล วิเชียรเจริญ" มีกำหนดเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน 2559 เวลา 17.00 น. โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดห้องนิทรรศการดังกล่าว ณ ชั้น U2 หอสมุดปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ งานสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ หมายเลขโทรศัพท์ 02-613-3030 หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ www.pr.tu.ac.th/adul.html
มธ. เปิดตัว “นิทรรศการชีวิตและผลงาน ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ” ปูชนียบุคคลผู้สร้าง ผู้วางรากฐานการอุดมศึกษา สิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์มรดกโลก ในโอกาสครบรอบ 90 ปี
 
มธ. เปิดตัว “นิทรรศการชีวิตและผลงาน ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ” ปูชนียบุคคลผู้สร้าง ผู้วางรากฐานการอุดมศึกษา สิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์มรดกโลก ในโอกาสครบรอบ 90 ปี
มธ. เปิดตัว “นิทรรศการชีวิตและผลงาน ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ” ปูชนียบุคคลผู้สร้าง ผู้วางรากฐานการอุดมศึกษา สิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์มรดกโลก ในโอกาสครบรอบ 90 ปี
มธ. เปิดตัว “นิทรรศการชีวิตและผลงาน ศ.ดร.อดุล วิเชียรเจริญ” ปูชนียบุคคลผู้สร้าง ผู้วางรากฐานการอุดมศึกษา สิ่งแวดล้อม และอนุรักษ์มรดกโลก ในโอกาสครบรอบ 90 ปี

ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+มหาวิทยาลัยธรรมศาสวันนี้

วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนัก... รวมใจ ให้โลหิต 1 พฤษภาคม วันแรงงานไทย May Day : Give Blood Save Lives — ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมหาวิทยา...

พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เ... สัญญาณเตือนระดับชาติ! มธ. ชี้ชัด "สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ" ตัวเร่งวิกฤตเศรษฐกิจไทย — พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เผยตัวเลขผู้สูงวัยเตรียมพุ่งสูง...

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...