'Brexit' โหวตสะเทือนโลกการเงิน คาดเงินบาทอ่อนค่าต่อไม่ว่าอังกฤษจะอยู่หรือไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics คาดทั้งโลกการเงินจะจับตาไปที่ผล Brexit ในวันที่ 23 มิ.ย.นี้ และมองว่าทองคำ เงินปอนด์ และเงินเยน จะมีความผันผวนสูงที่สุดในช่วงประกาศผล ส่วนค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าต่อเนื่องจากแนวโน้มการลดความเสี่ยงในสินทรัพย์ตลาดเกิดใหม่ทั้งในกรณี Brexit และ Bremain
          ในสัปดาห์นี้ไม่ว่าจะเป็นประเด็นอะไรในตลาดเงินก็จำต้องหลบให้กับการลงประชามติของสหราชอาณาจักร (อังกฤษ หรือ UK) ว่าจะยัง "คง" หรือจะ "ออก" จากสถานภาพเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรป (EU) ต่อไปหรือไม่ ในวันที่ 23 มิถุนายน 
          การลงประชามติของสหราชอาณาจักรในครั้งนี้ถูกเรียกกันในโลกการเงินว่า "Brexit" (มาจาก British รวมกับ Exit) กลายมาเป็นประเด็นสำคัญในตลาดการเงินที่ใหญ่ไม่แพ้การโหวตว่ากรีซจะ "ออก" จากสถานภาพเป็นสมาชิกของอียู (Grexit) ในช่วงปีที่แล้ว หลังโพลในอังกฤษชี้ว่ามีความเป็นไปได้แทบจะเท่ากันระหว่างโอกาสที่อังกฤษจะ "อยู่" หรือจะ "ออก" จากอียู
          ศูนย์วิเคราะห์ฯ พบว่าตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาปัญหา Brexit เริ่มเข้ามามีบทบาทกับตลาดการเงินและทวีความรุนแรงขึ้นหลังจากที่โพลในอังกฤษระบุว่า ผู้สนับสนุนฝั่ง Brexit เพิ่มขึ้นจนเริ่มที่จะมากกว่าฝั่ง "Bremain" (ฝั่งที่สนับสนุนให้สหราชอาณาจักรยังคงสถานะสมาชิกสหภาพยุโรปต่อ) ส่งผลให้สินทรัพย์ในตลาดการเงินโลก ปรับตัวผันผวนอย่างหนักในช่วงที่ผ่านมา อาทิเช่น ทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 20% มาที่ระดับ 1,282 เหรียญต่อออนซ์ ขณะที่ค่าเงินเยนก็แข็งค่าขึ้นราว 15% มาอยู่ที่ระดับ 104 เยนต่อดอลลาร์จากปลายปีมาถึงปัจจุบัน เนื่องจากนักลงทุนทั่วโลกมองว่าตลาดการเงินมีความไม่แน่นอนสูง จึงต้องการที่ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัยมากขึ้น ขณะที่ค่าเงินปอนด์ก็ปรับตัวลดลงถึง 5% มาอยู่ที่ระดับ 1.41 ดอลลาร์ต่อปอนด์ในปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นการตอกย้ำว่านักลงทุนในตลาดการเงินมีความกังวลกับปัญหานี้เป็นอย่างมาก
          ศูนย์วิเคราะห์ฯ มองว่าการทำประชามติ Brexit จะส่งผลให้ตลาดการเงินผันผวน ทั้งก่อนและหลังจากทราบผลโหวตในสัปดาห์นี้ โดยมองว่าทองคำ ค่าเงินปอนด์ และค่าเงินเยน ที่ราคาปรับตัวตามผลโหวตในช่วงก่อนหน้านี้ มีแนวโน้มที่จะแกว่งตัวแรง รับผลที่จะออกมา โดยจากการวิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของผลโหวตเปรียบเทียบกับการแกว่งตัวของราคาสินทรัพย์ต่าง ๆ คาดว่าค่าเงินปอนด์มีโอกาสอ่อนค่าได้อีกในกรณี "Brexit" ราว 5% ทันทีที่ประกาศผล ขณะที่ดอลลาร์สหรัฐและเยนญี่ปุ่นจะเป็นสกุลเงินที่นักลงทุนเลือกที่จะพักเงินไว้ในกรณีนี้ แต่ในกรณี "Bremain" คาดว่าค่าเงินปอนด์มีโอกาสบวกกลับราว 4% เช่นเดียวกันกับค่าเงินยูโร ส่วนทองคำมีโอกาสปรับตัวลงราว 5-7% เนื่องจากนักลงทุนจะคลายความกังวลในระยะสั้น
          ด้านค่าเงินบาทถึงแม้ว่าจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้โดยตรง แต่ในช่วงที่ผ่านมาเงินบาทก็แกว่งตัวแรงจากการเคลื่อนย้ายของเงินทุน โดยพบว่านักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อตราสารหนี้และหุ้นไทยเพื่อกระจายความเสี่ยง ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเมื่อผลโพลระบุว่าฝ่าย Brexit เริ่มออกนำ ศูนย์วิเคราะห์ฯ มองว่ามีความเป็นไปได้สูงที่นักลงทุนต่างชาติจะทยอยลดความเสี่ยงในตลาดไทยลงจากเหตุการณ์ Brexit เนื่องจากจำเป็นต้องแบกรับความเสี่ยงที่มากขึ้นจากสกุลเงินหลักอื่น ๆ และจะส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงจากแนวโน้มดังกล่าว โดยในกรณี "Brexit" คาดว่าค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าลงราว 2.0% ขณะที่ในกรณี "Bremain" คาดว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าเพียง 0.5% 
          ทั้งนี้ผลจากการวิเคราะห์เป็นเพียงมุมมองจากการคำนวนตามหลักสถิติ ในตลาดการเงินคงเป็นเรื่องยากที่จะคาดเดาทั้งผลลัพธ์และผลกระทบที่จะตามมา และในปีนี้ยังมีความเสี่ยงอีกมากนอกจาก Brexit เช่น การทำประชามติร่างรัฐธรรมนูญในประเทศไทยในช่วงกลางปี หรือการเลือกตั้งในสหรัฐฯในช่วงปลายปี ผู้ประกอบการและนักลงทุนไทยจึงควรตั้งอยู่ในความไม่ประมาทและเตรียมตัวรับกับตลาดที่จะยิ่งผันผวนมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี
'Brexit' โหวตสะเทือนโลกการเงิน คาดเงินบาทอ่อนค่าต่อไม่ว่าอังกฤษจะอยู่หรือไป
 

ข่าวศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี+ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจวันนี้

ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี พบ 9 ปัญหาดราม่าทายาทธุรกิจ พร้อมแนะ 3 ทางออก “ปรับพื้นฐาน - สร้างความเชื่อมั่น – ผสานการบริหาร”

ทีเอ็มบี เอสเอ็มอี เผยผลงานวิจัยปัญหาและทัศนคติในหัวข้อ "9 ดราม่าทายาทธุรกิจ รุ่น 2 ทางเลือก-ทางรอดของเอสเอ็มอี4.0" พบปมปัญหา ทั้งเรื่องขาดความรู้ ขาดประสบการณ์ ไม่มีอำนาจการบริหารที่แท้จริง และไม่ได้รับความเชื่อมั่นจากทั้งภายในและภายนอกบริษัท พร้อมแนะนำ 3 ทางออกแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ ได้เปิดตัว TMB SME Insights เว็บไซต์ คอมมูนิตี้ฮับ ที่รวบรวมความรู้ ข่าวสารใหม่ๆ และบทความวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบี (TMB Analytics) สำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีโดยเฉพาะ เพื่อ

นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหา... ทีเอ็มบีหั่นเป้าเศรษฐกิจเหลือโต 3% มองปัจจัยบวกจากรัฐบาลใหม่หนุนเศรษฐกิจครึ่งปีหลัง — นายนริศ สถาผลเดชา หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเ...

5 พืชเศรษฐกิจ ชี้นำเศรษฐกิจภูมิภาค

TMB Analytics ชี้ปี 2560 ราคามันสำปะหลังและข้าวแนวโน้มสดใส ดันเศรษฐกิจภาคเหนือ อีสานคึกคัก อ้อย ยาง ปาล์ม ปริมาณผลผลิตเพิ่ม ชดเชยกับราคาที่ลดลง แนะเกษตรกรรวมตัวลดต้นทุนการผลิต เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ควบคู่กับภาครัฐเพิ่มการใช้ในประเทศเพื่อลดพึ่งพิงการส่งออก ศูนย์วิ...

เงินเฟ้อไทยต่ำจริงมั้ย แล้วดอกเบี้ยควรขึ้นเมื่อไหร่

ประเทศไทยใช้อัตราเงินเฟ้อในการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยมีกรอบเป้าหมายอยู่ในช่วง 1-4% แต่ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา อัตราเงินเฟ้อของไทยกลับเฉลี่ยไม่เกิน 1% ต่อปี ทำให้ ธปท. ยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับ 1.5% เป็นระดับที่เกือบต่ำสุดที่เคยมีมา...

อัตราดอกเบี้ยไทย ถึงเวลาต้องขึ้นหรือยัง

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics มองว่า ธปท.มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยได้ในปีนี้โดยจะเป็นการขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากอัตราดอกเบี้ยโลกที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง เพื่อลดพฤติกรรม Search for yield โดยผลกระทบต่อ...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB ... บาทแข็ง ค่าแรงเพิ่ม ธุรกิจไหนเจ็บ — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ประเมินเงินบาทแข็งค่าบวกค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้น กำไรหดเฉลี่ย 0.6...

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผยความเช... SME ความเชื่อมั่นด้านรายได้ฟื้น กังวลค่าแรงขั้นต่ำกระทบต้นทุนกิจการปีจอ — ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี เผยความเชื่อมั่น SME ด้านรายได้ในไตรมาส 4 เพิ่มข...

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) จัดงานสัมมนา Capital Market Outlook “เศรษฐกิจไทยขยับ เตรียมรับเทคโนโลยีเปลี่ยน”

สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) ขอเชิญผู้สนใจร่วมงานสัมมนา Capital Market Outlook "เศรษฐกิจไทยขยับ เตรียมรับเทคโนโลยีเปลี่ยน" โดยได้รับเกียรติจาก ดร. วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย...

ดอกเบี้ยไทยต่ำกว่าดอกเบี้ยเฟด ไม่เป็นไรจริงหรือ

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ยังคงมุมมองเดิมว่าธปท.จะคงดอกเบี้ยนโยบายตลอดปีนี้ แต่จะเริ่มมีแรงกดดันให้ต้องปรับขึ้น จากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยไทยและสหรัฐฯที่ลดลง ซึ่งจะทำให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า (Forward...

ทีเอ็มบี เผยดัชนีเชื่อมั่น SME ไตรมาส 3 ท... ความเชื่อมั่น SME ไตรมาส 3 ทรงตัว คาดเทศกาลปลายปีและภาพรวมเศรษฐกิจดีปีหน้า หนุนจ้างงาน ดันรายได้ SME ฟื้น — ทีเอ็มบี เผยดัชนีเชื่อมั่น SME ไตรมาส 3 ทรงตัว...