“ศูนย์วิทยาศาตร์ฮาลาลฯ ปัตตานี” จัดอบรมด้านการเชือดสัตว์ ตามแนวทางศาสนารับรองวิทยาศาสตร์รองรับ ป้อนสู่ตลาดแรงงานทั้งไทยและต่างประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (สำนักงานปัตตานี) จัดโครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาบุคลากรด้านการเชือดสัตว์และสถานประกอบการโรงเชือดสัตว์ให้มีความรู้ความเข้าใจด้านศาสนาอิสลามควบคู่ไปกับงานด้านอนามัยสัตว์ที่ถูกต้องเพื่อป้อนเข้าสู่สถานประกอบการผลิตอาหารฮาลาล" เพื่อผลิตพนักงานเชือดสัตว์ฮาลาลที่มีคุณภาพป้อนสู่ตลาดแรงงานไทยและต่างประเทศ ตามแนวทางศาสนารับรองวิทยาศาสตร์รองรับ
          ผศ.(พิเศษ) ดร.บรรจง ไวทยเมธา รองผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การเชือดสัตว์นับเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งทางด้านการผลิตผลิตภัณฑ์ฮาลาล เนื่องจากสัตว์บกและสัตว์ปีกที่อนุมัติในศาสนาอิสลามจำเป็นจะต้องผ่านกระบวนการเชือดอย่างถูกต้อง และถูกหลักอนามัย ดังนั้น ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้จัดการอบรมวิธีการเชือดสัตว์อย่างถูกต้องแก่นักวิชาการศาสนาอิสลาม สถานประกอบการฆ่าสัตว์ และมุสลิมที่สนใจ ขึ้นในภายใต้โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาบุคลากรด้านการเชือดสัตว์และสถานประกอบการโรงเชือดสัตว์ให้มีความรู้ความเข้าใจด้านศาสนาอิสลามควบคู่ไปกับงานด้านอนามัยสัตว์ที่ถูกต้องเพื่อป้อนเข้าสู่สถานประกอบการผลิตอาหารฮาลาล" เพื่อผลิตพนักงานเชือดสัตว์ฮาลาลที่มีคุณภาพเพื่อป้อนแก่ตลาดแรงงานทั้งในและต่างประเทศ ตามแนวทางศาสนารับรองวิทยาศาสตร์รองรับ
          โดยกิจกรรมนี้นอกจากจะสร้างประโยชน์ต่องานอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมฮาลาลในเขตพื้นที่แล้ว ยังเป็นการสร้างงานใหม่ให้กับมุสลิมในพื้นที่ เนื่องจากความต้องการพนักงานเชือดสัตว์ในอนาคตอันใกล้นี้มีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นมาก การเตรียมการดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่เหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับการพัฒนาพื้นที่ต่อไป
“ศูนย์วิทยาศาตร์ฮาลาลฯ ปัตตานี” จัดอบรมด้านการเชือดสัตว์ ตามแนวทางศาสนารับรองวิทยาศาสตร์รองรับ ป้อนสู่ตลาดแรงงานทั้งไทยและต่างประเทศ
 
“ศูนย์วิทยาศาตร์ฮาลาลฯ ปัตตานี” จัดอบรมด้านการเชือดสัตว์ ตามแนวทางศาสนารับรองวิทยาศาสตร์รองรับ ป้อนสู่ตลาดแรงงานทั้งไทยและต่างประเทศ
“ศูนย์วิทยาศาตร์ฮาลาลฯ ปัตตานี” จัดอบรมด้านการเชือดสัตว์ ตามแนวทางศาสนารับรองวิทยาศาสตร์รองรับ ป้อนสู่ตลาดแรงงานทั้งไทยและต่างประเทศ

ข่าวจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย+ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลวันนี้

แผนยุทธศาสตร์ชาติฉบับบูรณาการ: พลิกวิกฤตประชากรไทย สู่โอกาสแห่งอนาคต

บทความนี้เป็นบทความที่เกิดจากการตั้งคำถามเพื่อถาม Chula GENIE ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม Generative AI ที่พัฒนาขึ้นโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยร่วมมือกับ Google Cloud เกี่ยวกับวิกฤตประชากรไทย จากภาวะที่สังคมไทยอยู่ในสถานการณ์ ตายมากกว่าเกิดตั้งแต่พ.ศ. 2564 ซึ่งเป็นวิกฤตทางประชากรที่จะทำให้ประชากรไทยลดลงอย่างรวดเร็ว ตามคำถามที่จะได้ยกขึ้นถามจีนี่ต่อไปนี้ คำถาม มีการคาดประมาณประชากรไทยโดยใช้ โปรแกรม Spectrum 6 โดยมีประชากรฐานปี 2023 อยู่ 66.054 ล้านคน TFR เริ่มที่ 1.16 และลดลงเหลือ 0.5

นางสมบัติศิริ เชาวกุล (ที่ 2 จากขวา) กรรม... efin Group ผนึกจุฬาฯ เสริมทักษะฮาร์ดแวร์-ซอฟต์แวร์ ปั้นกำลังคนยุค AI — นางสมบัติศิริ เชาวกุล (ที่ 2 จากขวา) กรรมการ บริษัท ออนไลน์แอสเซ็ท จำกัด หรือ efin ...

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานจัด... จุฬาฯ ยกพื้นที่สยามสแควร์ให้เกษตรกรไทยขายสินค้าเกษตรคุณภาพ ส่งตรงจากฟาร์มไกลสู่ใจกลางเมือง — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงก...

โรงพยาบาลหัวเฉียว ร่วมกับ ชีวามิตร จัดการ... โรงพยาบาลหัวเฉียว จัดการบรรยายวิชาการ เรื่อง "Palliative care" — โรงพยาบาลหัวเฉียว ร่วมกับ ชีวามิตร จัดการบรรยายวิชาการ เรื่อง "Palliative Care" โดยได้รับ...