มูลนิธิสยามกัมมาจล
"สอนคนที่คุณค่า อย่าสอนที่มูลค่า ลูกหลานเมืองน่านจะเติบโตแบบไม่ไร้ราก และเข้าใจมรดกทางวัฒนธรรม ละอ่อนไทยจะไตร่ตรองได้ว่าเราเกิดเมืองน่าน ทุกแผ่นผืนดินแห่งนี้เราต้องรัก"….นี่คือ ความเชื่อของ "ครูสมเจตน์ วิมลเกษม" ปราชญ์ชุมชน ผู้รู้ประวัติศาสตร์น่านและขับเคลื่อนเรื่องเมืองเก่า กว่า 33 ปี ที่ได้ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมา ความรู้-ภูมิปัญญา และปริศนาธรรมการสร้างพระธาตุแช่แห้งให้กับสามเณรละอ่อนเมืองน่าน
วัดพระธาตุแช่แห้ง ถือว่าเป็นวัดพระอารามหลวงประจำจังหวัดน่านและมีองค์พระธาตุแช่แห้งซึ่งเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองน่านที่มีอายุยาวนานกว่า ๖๐๐ปี ซึ่งพระอารามหลวงแห่งนี้ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเข้ามากราบสักการบูชาองค์พระธาตุแช่แห้งและปูชนียสถานที่สำคัญในวัดพระธาตุแช่แห้งเป็นจำนวนมาก แต่ด้วยวัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวงแห่งนี้ยังไม่มีผู้ใดที่สามารถบรรยายประวัติความเป็นมาของวัดแก่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติได้ ทางกลุ่มสามเณรพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุแช่แห้ง จึงมีแนวคิดที่จัดทำโครงการสามเณรมัคคุเทศก์ขึ้นเพื่อเป็นผู้แนะนำเรื่องราวความเป็นมา และความเชื่อของคนโบราณรวมไปถึงสอดแทรกธรรมในแง่มุมต่างๆ ของพุทธสถานแห่งนี้ แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยือน
สามเณรที่ทำโครงการฯ ได้ศึกษาประวัติศาตร์ และปริศนาธรรม การก่อสร้างองค์พระธาตุแช่แห้ง ด้วยการสนับสนุนการเรียนรู้ของโคชจากมูลนิธิส่งเสริมการเรียนรู้ (วัดโป่งคำ) และมูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) มีโอกาสเข้ามาเรียนรู้ประวัติความเป็นมาจากปราชญ์ที่มีลีลาการเล่าเฉพาะตน และการเชื่อมโยงกับข้อธรรมะต่างๆ ที่แฝงอยู่ในภูมิปัญญาการก่อสร้าง เช่น สิงห์คาบนาง สิงห์คายนาง , ปณิธานการสร้างพระไสยยาสน์ เพื่อเกิดในยุคพระศรีอริยะเมตรไตร , ศิลปะการก่อสร้างพระวิหาร พระประธาน ศิลปะบัวคว่ำ บัวหงาย ยอดผักกูด ปลา 12 นักษัตรที่ฐานชุกชี และความหมายทางธรรมของคำว่า แช่-แห้ง**
โดยตลอด 4 เดือนที่ผ่านมาสามเณรได้ทำการรับสมัครอาสาสมัครผู้สนใจเรียนรู้ แบ่งบทบาทหน้าที่การศึกษาข้อมูลจากพงศาวดาร แบ่งจุดนำชม ซักซ้อมฝึกฝนความกล้าและมั่นใจในการพูด และหาลีลาเฉพาะตนเพื่อให้ตนเองมีฐานความรู้ ตามบทบาทมัคคุเทศน์ผู้นำชมก่อนนำไปเป็นข้อมูลเล่าต่อให้นักท่องเที่ยวมากมายได้เรียนรู้ไปพร้อมกับขณะที่เข้ามากราบพระธาตุ ทว่าไปคุณค่าที่มากกว่านั้นคือ ในฐานะลูกหลานเมืองน่าน พวกเขากำลังทำบทบาท สืบสานรากเหง้า และมรดกทางวัฒนธรรมของบรรพบุรุษเมืองน่านที่ทุกวันนี้คนรุ่นใหม่กำลังลืมเลือน
สามเณรธันวา นาชัย (เณรธัน)แกนนำโครงการฯ สะท้อนว่า "ภูมิใจที่ได้อนุรักษ์วัฒนธรรมน่านไม่ให้เสื่อมสลาย และจะได้เล่าให้ลูกหลานของตัวเองได้ อนาคตยิ่งเทคโนโลยีมันจะเข้ามาในวัดมากขึ้น วัฒนธรรมก็จะเสื่อมสลายไป"
สามเณรดีเปร้า ทาปามคร(เณรด้า) สมณะฑูตจากเมืองเนปาล ที่มาเรียนเมืองไทย แต่พูดไทยยังไม่ค่อยคล่อง สะท้อนว่า"ประทับใจตัวเองที่ได้เป็นมัคคุเทศน์ ได้พูดเรื่องประวัติศาสตร์พระธาตุแช่แห้งให้ญาติโยมได้ฟัง ที่มาที่ไปของเมืองน่าน มีที่มาที่ไปยังไง รู้สึกว่าตัวเองอยากเป็นคนเมืองน่าน เพราะเมืองน่านมีวัฒนธรรมที่ดี ประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน"
สามเณรศุภฤกษ์ กันทะกาลัง (เณรไมค์) เยาวชนแกนนำจากสามเณรมัคคุเทศก์วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง สะท้อนว่า "รู้สึกว่าตัวเองลึกซึ้งในประวัติศาสตร์และหลักปรัชญาธรรมพระวิหารเยอะที่สุด ทั้งโครงสร้าง ศิลปะ พระพุทธรูป ประวัติ ปริศนาธรรม ผมคิดว่าสิ่งที่เราไม่รู้ แล้วเรารู้ เราต่อยอดให้คนอื่นรู้ด้วย ทำให้เราคิดได้ว่า สิ่งนี้ควรอนุรักษ์ไว้ ผมอยากเอาความรู้ทักษะที่เรามีไปศึกษาค้นคว้า ศิลปะการก่อสร้างวัดที่อื่นๆ อยากเชื่อมโยงให้ได้ เช่น วัดภูมินทร์กับพระธาตุแช่แห้ง บ้านของเรากับพระธาตุแช่แห้ง ไปจนเมืองน่านกับสุโขทัยเชื่อมโยงกันอย่างไร"
สามเณรพระปริยัติธรรมวัดพระธาตุแช่แห้งกลุ่มนี้ ถือเป็นศาสนทายาทที่จะธำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาได้เล็งความสำคัญในการสืบทอดมรดกตรงนี้จึงได้ร่วมศึกษาหาข้อมูลพุทธสถานในวัดที่แฝงด้วยหลักธรรมทางพุทธศาสนาและจารีตประเพณีของเมืองน่านและเผยแพร่ให้กับสามเณรที่สนใจและชักชวนเยาวชนในพื้นที่เข้ามาร่วมทำกิจกรรมเป็นมัคคุเทศน์น้อยเชิงวัฒนธรรมและสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาด้านวัฒนธรรมเพื่อให้มรดกทางวัฒนธรรมนี้คงอยู่สืบไปชั่วลูกชั่วหลานเมืองน่าน
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (เนคเทค สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) พร้อมหน่วยงานพันธมิตร สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) จัดกิจกรรมปิดโครงการ "ต่อกล้าอาชีวะ" ประจำปี 2564 (Agritronics @ R-Cheewa) โดยคุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดพร้อมมอบโล่และเกียรติบัตรให้แก่ 15 ผลงาน ที่เข้าร่วมโครงการฯ ดร.ชัย วุฒิวิวัฒน์ชัย ผู้อำนวยการเนค
ติดอาวุธเด็ก Gen R ด้วยทักษะโรงงานอัจฉริยะ ในเวที IoT Hackathon 2022 พร้อมส่งต่ออุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC
—
5 เมษายน 2565 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิ...
เสวนาออนไลน์ : ล็อกดาวน์ ไม่ล็อกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3 บทเรียน "ครูสามเส้า" กรณีศึกษา เครือข่ายโรงเรียนนำร่องพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดสตูล
—
ก้าวผ่านโควิด-19...
เสวนาออนไลน์ "ล็อกดาวน์ ไม่ล็อกการเรียนรู้" EP#2 : "สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างทุกคนให้เป็นครูกล้าเรียนรู้ด้วยตัวเอง"`- Inclusive Education
—
เสวนาออนไลน...
ชุมชนการเรียนรู้ "ครูเพื่อศิษย์" PLC-Coaching ครูและศิษย์ต้องไม่ตกหลุมการเรียนรู้แบบผิวเผิน
—
ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ที่เอ่ยถึงการศึกษาไทยซึ่งว่ากันว...
ภาพข่าว: ไทยพาณิชย์ร่วมส่งความห่วงใยและความช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยสปป.ลาว ส่งมอบเงินบริจาคจากประชาชน 4.4 ล้านบาทและธนาคารร่วมบริจาคอีก 1 ล้านบาท
—
จากเหตุการณ...
“ปฏิรูปการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองไทย 4.0 โดยผ่านเรื่องราวชุมชนท้องถิ่น”
—
หากขณะนี้ประเทศไทยได้วางอนาคตให้กับเด็กรุ่นใหม่ คือ อยากเห็นเด็กและเยาวชนเป็นต้นแ...
UNC ปี 5 สะท้อน“นักศึกษา” ยังสนใจปัญหาสังคมใกล้ตัว มูลนิธิสยามกัมมาจล
—
UNC ปี 5 เดินเครื่อง 12 มหาวิทยาลัยผนึกกำลัง จัดกระบวนพานักศึกษาร่วมเรียนรู้โจทย์จ...