นักวิจัย วิทยาศาสตร์ฯ มธ.โชว์ 10 นวัตกรรมสำหรับผลไม้เพื่อการส่งออก สู่เป้าหมายเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ยกระดับรายได้เกษตรกร

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          · วิทยาศาสตร์ฯ มธ. เผยนวัตกรรม "บรรจุภัณฑ์แบบ Active and Smart Packing สำหรับลำไยไม่รมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เพื่อการส่งออก" คว้ารางวัลเหรียญทองเกียรติยศ เวทีการประกวดนวัตกรรมนานาชาติ ครั้งที่ 44 ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส
          นักวิจัย วิทยาศาสตร์ฯ มธ. โชว์ 10 นวัตกรรมสำหรับผลไม้เพื่อการส่งออก ได้แก่ นวัตกรรมActive Packaging สำหรับลำไย ไม่รมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เพื่อการส่งออก นวัตกรรม Active Packaging สำหรับทุเรียนสด พร้อมบริโภคเพื่อการส่งออก นวัตกรรมสภาพบรรยากาศและฟิล์มที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษามะพร้าวน้ำหอมควั่น ที่ผ่านกรรมวิธีBlanching เพื่อการส่งออก นวัตกรรมการผลิตมะพร้าวน้ำหอมติดผลดกทั้งปี นวัตกรรม Active Bagging สำหรับห่อชมพู่ทับทิมจันท์ เพื่อการส่งออก นวัตกรรมปอกมะพร้าวน้ำหอม เพื่อการส่งออก นวัตกรรมการชะลอการสุกการแตกของผลทุเรียนที่ส่งทางเรือ นวัตกรรมอินดิเคเตอร์บ่งบอกการหมดอายุของมะพร้าวน้ำหอมควั่น นวัตกรรม Active Packaging สำหรับลองกองสด เพื่อการส่งออกและนวัตกรรม Active Packaging เงาะสดเพื่อการส่งออก ทั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์ฯ มธ. ยังมุ่งพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าแก่สินค้าและยกระดับรายได้ของเกษตรกร รวมไปถึงเร่งผลักดันบุคลากรวิทยาศาสตร์สู่การเป็นผู้ประกอบอย่างชาญฉลาด ภายใต้แนวคิด "นักวิทย์คิดประกอบการ"
          ผู้สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต หมายเลขโทรศัพท์ 0-2564-4491หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.sci.tu.ac.th
          รองศาสตราจารย์ ปกรณ์ เสริมสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.)กล่าวว่า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ไม่ได้มีเพียงบทบาทในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในสังคมเท่านั้น แต่ยังเป็นศาสตร์ที่สามารถสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างมีนัยสำคัญคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมธ. จึงมีการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในมิติผสมผสานอย่างต่อเนื่อง ภายใต้แนวคิด "SCI+BUSINESS" หรือ "นักวิทย์คิดประกอบการ"โดยมุ่งสร้างบุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีความสามารถในการประกอบการอย่างชาญฉลาด เป็นบัณฑิตศตวรรษใหม่ที่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และผลักดันผลงานเข้าสู่วงการธุรกิจได้ ไม่ใช่นักวิจัยที่อยู่เพียงแต่ในห้องทดลองเท่านั้น ผ่านการผนวกรวมองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการบริหารธุรกิจเข้าด้วยกัน โดยที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถผลิตบัณฑิตวิทยาศาสตร์ได้เป็นจำนวนกว่า 8 พันคน
          ทั้งนี้ ที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีการพัฒนานวัตกรรมและต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์จำนวนมาก อาทิ"ปลาส้มอบแผ่นปรุงรสสำเร็จรูป" ผลิตภัณฑ์ขนมขบเคี้ยวจากปลาส้ม อุดมไปด้วยโปรตีนสูงแต่ไขมันต่ำ "วัสดุกักเก็บน้ำมัน นวัตกรรมจากน้ำยางพารา" เพื่อช่วยแก้ปัญหาเมื่อเกิดสถานการณ์น้ำมันรั่วไหลได้อย่างมีประสิทธิภาพ "ข้าวหอมมะลิธรรมศาสตร์" ข้าวสายพันธุ์ใหม่คุณภาพดี ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้น ทนแล้ง และต้านทานโรค รวมไปถึงงานวิจัยที่พร้อมพัฒนาเป็น Start Up อาทิ จมูกอิเล็กทรอนิกส์สำหรับควบคุมคุณภาพอาหาร เครื่องพยากรณ์โรคต้นข้าวในนาข้าว สารย่อยสลายเศษพืชและฟางข้าว ระบบเพาะเลี้ยงสาหร่ายขนาดเล็กเพื่อผลิตปุ๋ยชีวภาพ ฯลฯ
          รองศาสตราจารย์ วรภัทร ลัคนทินวงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์เพื่อการวิจัยขั้นสูง อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. กล่าวว่า ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญของผลไม้ไทย อาทิ ลำไย ทุเรียน มะพร้าว ชมพู่ฯลฯ อันถือเป็นพืชเศรษฐกิจหนึ่งที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศ โดยในปี 2559 นี้ มีการส่งออกผลไม้สดไทยเป็นมูลค่ารวมกว่า 3 หมื่นล้านบาท (ข้อมูลจาก กระทรวงพาณิชย์) โดยส่วนใหญ่ส่งออกไปยังตลาดเป้าหมายหลักอย่าง ประเทศจีน และรองลงมา ได้แก่ ประเทศฮ่องกง และเวียดนาม แต่ในขณะเดียวกัน เกษตรกรเจ้าของสวนผลไม้ไทย กลับสูญเสียเวลาและค่าใช้จ่ายไปกับการดูแลบำรุงดิน และปรับคุณภาพผลไม้ให้มีรสชาติอร่อยและสีผิวเรียบสวยทั้งนี้ เพื่อลดความสูญเสียของเวลาและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ตลอดจนสามารถส่งออกผลไม้แข่งขันเทียบกับตลาดต่างประเทศได้ ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. จึงได้คิดค้นและพัฒนานวัตกรรมต่างๆ ทั้งนวัตกรรมช่วยยืดอายุและเก็บรักษาความสดใหม่ของผลไม้ ฯลฯ เพื่อยกระดับรายได้แก่เกษตรกรไทยโดยการบูรณาการองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีการเกษตรมาปรับใช้ ก่อนต่อยอดสู่งานวิจัยและนวัตกรรมที่ใช้ได้จริงในหลากรูปแบบที่เอื้อประโยชน์ต่อภาคการเกษตรอย่างแท้จริง โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
          · นวัตกรรมกล่องเก็บลำไยสด ต่ออายุ Shelf life 120 วัน นวัตกรรม Active Packaging สำหรับลำไย ไม่รมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) เพื่อการส่งออก เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับลำไยสด ที่ใช้เทคโนโลยีการบรรจุแบบดัดแปลงบรรยากาศ (Modified Atmosphere Packaging: MAP) และเทคโนโลยี Active and Intelligent Packing ที่ออกแบบขึ้นจำเพาะสำหรับลำไยสด และไม่ต้องรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) แต่สามารถเก็บรักษาได้นานถึง 4 เดือน โดยได้รับการรับรองมาตรฐานGMP และ HACCPs ซึ่งปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ บรรจุภัณฑ์ชนิดนี้ ทางคณะวิจัยได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่บริษัทเอกชนอย่าง บริษัท สยามเมอริทพลัส จำกัด เป็นที่เรียบร้อยแล้วอย่างไรก็ดี นวัตกรรมดังกล่าวได้รับรางวัลประกาศเกียรติคุณ ด้านผลงานประดิษฐ์คิดค้นจากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ในเวทีงานวันนักประดิษฐ์ ประจำปี 2559 และล่าสุดกับรางวัลสูงสุด เหรียญทองเกียรติยศจากเวทีประกวดนวัตกรรมนานาชาติครั้งที่ 44 ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อเดือนเมษายน 2559 ที่ผ่านมา
          · นวัตกรรมแพคเกจทุเรียนเก็บกลิ่น 100% นวัตกรรม Active Packaging สำหรับทุเรียนสด พร้อมบริโภค เพื่อการส่งออก เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับเก็บรักษาคุณภาพทุเรียนปอกเปลือกพร้อมบริโภคสดผ่านการใช้เทคโนโลยี Active ที่สามารถดูดซับกลิ่นทุเรียนได้ 100% โดยที่ตัวดูดซับจะทำการดูดซับกลิ่นของทุเรียนตลอดเวลา โดยพัฒนาให้เป็น Active carbon ที่จะไม่ปล่อยกลิ่นทุเรียนออกมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิการเก็บรักษาและการจัดจำหน่าย พร้อมกันนี้ ยังมีเทคโนโลยีIntelligent ที่สามารถตอบโต้กับผู้บริโภคได้ผ่าน ฉลากบ่งชี้ความสด (Freshness Indicator) โดยได้พัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับทุเรียนแต่ละสายพันธุ์ ตามขนาดบรรจุ และฟิล์มที่เหมาะสมกับการเก็บรักษาและการจัดจำหน่าย ซึ่งสามารถเก็บรักษาความสดใหม่ของทุเรียนได้นานถึง 2 เดือน โดยได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP และ HACCPs ซึ่งปลอดภัยต่อผู้บริโภค ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าวได้รับรางวัลเหรียญทอง จากเวทีประกวดนวัตกรรมนานาชาติครั้งที่ 42 ณ กรุงเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เมื่อปี 2557 ที่ผ่านมา
          · นวัตกรรมสร้างผิวมะพร้าวหอมควั่นให้ขาวใสก่อนการส่งออก นวัตกรรม สภาพบรรยากาศและฟิล์มที่เหมาะสมต่อการเก็บรักษามะพร้าวน้ำหอมควั่น ที่ผ่านกรรมวิธี Blanching เพื่อการส่งออก เทคโนโลยีการเก็บรักษามะพร้าวน้ำหอมควั่นด้วยการนำไปลวกด้วยไอน้ำร้อน (Blanching)ก่อนนำไปแช่ด้วยสารละลายโซเดียม เมตาไบซัลไฟต์ (Sodium Metabisulfite : SMS) ในปริมาณความเข้มข้นเพียง 0.9% และบรรจุลงในถุงฟิล์มที่ออกแบบขึ้นเฉพาะสำหรับมะพร้าวน้ำหอมควั่น ซึ่งจะช่วยยืดอายุและคงคุณภาพมะพร้าวน้ำหอมควั่นได้นานถึง 60 วัน นอกจากนี้ ยังมีผิวที่ขาวสะอาดและสวยสดกว่ามะพร้าวที่หุ้มด้วยฟิล์ม PVC ที่สามารถเก็บรักษาและวางจำหน่ายได้เพียง 30-45 วัน
          · นวัตกรรมเพิ่มลูกดกให้มะพร้าวออกได้ออกดีตลอดทั้งปี เทคโนโลยีการเพิ่มผลิตผลของมะพร้าวให้ออกผลตลอดปี ด้วยเทคนิคการผสมเกสรสด เป็นการนำเกสรตัวผู้มาล้างน้ำเกลือและบดให้เมล็ดแตก ผสมกับน้ำ 10 ลิตร เพื่อให้ละอองเกสรลอยผสมกัน จากนั้นจึงใส่ตะแกรงกรองน้ำใส่ถังฉีดพ่นที่มีสารละลายเกสรมะพร้าวก่อนนำไปฉีดพ่นที่ช่อดอก โดยเลือกช่อดอกเกสรตัวเมียที่มีในอายุประมาณ 2 ปีเนื่องจากมีความสมบูรณ์และพร้อมแก่การผสมเกสรจากนั้นจึงทำการฉีดสารละลายเพื่อล้างทำความสะอาดช่อดอกก่อน 1 ครั้ง แล้วตามด้วยการฉีดสารละลายเกสรมะพร้าวที่ผสมเกสรที่ช่อเกสรตัวเมียบนต้นมะพร้าว เพียงเท่านี้มะพร้าวที่เคยติดผลเพียง 5-10% จะติดผลเพิ่มสูงขึ้นเป็น 80% โดยไม่ทิ้งสารตกค้าง และส่งผลกระทบต่อรสชาติหรือตัวลำต้น โดยที่ผ่านมา นวัตกรรมดังกล่าว ได้ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนำร่องใช้จริง ณ พื้นที่เกษตรในหลายจังหวัด อาทิ ราชบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม นครปฐม เพชรบุรี และสุราษฎร์ธานี ซึ่งช่วยเพิ่มผลผลิตจากเดิมหางละ 10 ลูกเป็น 15-17 ลูก
          · นวัตกรรมถุงห่อชมพู่ หวานแน่ กรอบนาน นวัตกรรม Active Baggingสำหรับห่อชมพู่ทับทิมจันท์ เพื่อการส่งออกโดยการใช้ถุงห่อกันร้อนสำหรับผลชมพู่ ที่จะช่วยเร่งสีชมพู่ให้สวยสดและหวานกรอบ ก่อนการส่งออกหรือวางขายในท้องตลาด ด้วยการนำฉนวนกันร้อนชนิดโฟมที่มีความหนา 2 มิลลิเมตร มาตัดเย็บเป็นถุงในขนาดที่สามารถห่อผลชมพู่ โดยที่ด้านบนเย็บผ้าตีนตุ๊กแก เพื่อให้สามารถพับติดได้ง่าย ส่วนก้นถุงใช้เชือกด้ายดิบร้อยไว้ด้านใน โดยปล่อยให้ปลายเชือกออกมาด้านนอกในความยาวด้านละ 5 นิ้ว เพื่อทำหน้าที่ดูดซับและระบายน้ำออกจากถุงซึ่งจากผลการทดลองพบว่า ชมพู่ที่ห่อด้วยถุงกันร้อน จะมีผิวมันวาว สีแดงสด และมีรสชาติหวานกรอบกว่าชมพู่ที่ห่อด้วยถุงปกติ อย่างไรก็ดีนวัตกรรมดังกล่าว ยังสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้นานถึง 10 ปี เพียงนำมาล้างและผึ่งให้แห้งหลังการใช้ ขณะเดียวกัน ก่อนนำไปใช้สามารถฉีดพ่นสารกันเชื้อราเคลือบด้านในถุง เพื่อล่นระยะเวลาของเกษตรกรในการฉีดพ่นยากันเชื้อรา เพลี้ยแป้ง และแมลงที่มาตอมผลชมพู่
          นอกจากนี้ ทางคณะวิจัยยังมีนวัตกรรมสำหรับผลไม้เพื่อการส่งออก ที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับผลผลิตของเกษตรกร ตลอดจนขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศได้ในอนาคต อาทิ นวัตกรรมปอกเปลือกมะพร้าว เครื่องปอกเปลือกมะพร้าวแบบเร็วด่วนถึง 5 ผลภายใน 1 นาที โดยไม่ต้องใช้แรงงานคน นวัตกรรมลดกลิ่นและลดการแตกของผลทุเรียน เทคนิคการเคลือบผลทุเรียนด้วยเส้นใยจากพืช ช่วยลดการแพร่กระจายกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์และป้องกันการแตกของผลได้ดี โดยที่คุณภาพของเนื้อทุเรียนยังคงความอร่อย นวัตกรรม Active Packaging สำหรับลองกองสด เทคโนโลยีการเก็บรักษาคุณภาพลองกองสดด้วย Active packaging ที่ช่วยยืดอายุได้นานถึง 30 วัน โดยที่ผลลองกองไม่หลุดออกจากขั้ว นวัตกรรม Active Packaging เงาะโรงเรียนสด เทคโนโลยีการเก็บรักษาคุณภาพเงาะสดด้วย Active packaging ที่ช่วยยืดอายุได้นานถึง 25 วัน โดยที่คุณภาพทั้งภายนอกและภายในยังเป็นที่พอใจของผู้บริโภค และ นวัตกรรมแถบบ่งชี้ความสดของมะพร้าวน้ำหอม เทคโนโลยีฉลาดที่ช่วยติดตามคุณภาพ ความสด และการเน่าเสียของมะพร้าวน้ำหอมควั่นได้โดยไม่ต้องเปิดผลก่อน รองศาสตราจารย์ วรภัทร กล่าว
          สำหรับเกษตรกร ชาวสวน และผู้ประกอบการที่สนใจ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ศูนย์รังสิต หมายเลขโทรศัพท์ 0-2564-4491หรือเข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.sci.tu.ac.th
นักวิจัย วิทยาศาสตร์ฯ มธ.โชว์ 10 นวัตกรรมสำหรับผลไม้เพื่อการส่งออก สู่เป้าหมายเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ยกระดับรายได้เกษตรกร
 
นักวิจัย วิทยาศาสตร์ฯ มธ.โชว์ 10 นวัตกรรมสำหรับผลไม้เพื่อการส่งออก สู่เป้าหมายเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ยกระดับรายได้เกษตรกร
นักวิจัย วิทยาศาสตร์ฯ มธ.โชว์ 10 นวัตกรรมสำหรับผลไม้เพื่อการส่งออก สู่เป้าหมายเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ยกระดับรายได้เกษตรกร
นักวิจัย วิทยาศาสตร์ฯ มธ.โชว์ 10 นวัตกรรมสำหรับผลไม้เพื่อการส่งออก สู่เป้าหมายเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ยกระดับรายได้เกษตรกร

ข่าวมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์+มหาวิทยาลัยธรรมศาสวันนี้

วว. จับมือพันธมิตรไทย-จีน เสริมสร้างความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

ดร.โศรดา วัลภา รองผู้ว่าการบริการอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาหัวข้อเรื่อง "The China-Thailand Forum on Innovation and Development in Environmental Science and Engineering" จัดโดย กลุ่มบริการอุตสาหกรรม วว. ร่วมกับ Kunming University of Science and Technology National Science Park.,Ltd. (ประเทศจีน) และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ภายใต้การดำเนิน

ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนัก... รวมใจ ให้โลหิต 1 พฤษภาคม วันแรงงานไทย May Day : Give Blood Save Lives — ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ร่วมกับ สมาคมนักศึกษาเก่าพาณิชยศาสตร์ และการบัญชีมหาวิทยา...

พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เ... สัญญาณเตือนระดับชาติ! มธ. ชี้ชัด "สังคมสูงวัยสมบูรณ์แบบ" ตัวเร่งวิกฤตเศรษฐกิจไทย — พ่วงผลกระทบสุขภาพจิต และโครงสร้างแรงงาน เผยตัวเลขผู้สูงวัยเตรียมพุ่งสูง...

นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ... AMR โชว์นวัตกรรมผลิตป้ายทะเบียนอัตโนมัติ พร้อมต้อนรับพาร์ทเนอร์ ขยายโอกาสสู่อาเซียน — นายณัฏฐชัย ศิริโก (ที่ 3 จากขวา) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอเอ...

ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสื... ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือฯ — ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ชวนร่วมงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 53 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติครั้งที่ 23 ณ...

อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเ... อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิจารณญาณ มากกว่าปลุกเร้าอารมณ์ร่วม — อาจารย์วารสารฯ มธ. แนะ "สื่อ" นำเสนอข่าวเซนซิทีฟต้องสร้างวิ...

ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุ... นัท วอล์คเกอร์ พาวอล์ค: เที่ยวชมเมืองเก่า สัมผัสเสน่ห์ยามเย็นริมถนนพระอาทิตย์ — ถนนพระอาทิตย์นั้นเริ่มตั้งแต่ถนนพระสุเมรุไปจนถึงมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอด...