โรคปอดอักเสบในเด็ก PNEUMONIA โรคปอดอักเสบในเด็ก(PNEUMONIA)

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          เป็นการอักเสบ/การติดเชื้อของเนื้อปอดชั้นใน นอกจากนี้ยังรวมถึงหลอดลมและถุงลมอีกด้วย โรคนี้เกิดได้กับคนทุกวัย ทำให้ความสามารถในการทำงานของการหายใจลดลง และทำให้เกิดความเจ็บป่วยที่รุนแรง บางครั้งอาจทำให้เกิดความพิการ หรือทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ป่วยระยะสุดท้าย
          สาเหตุของโรคเกิดได้จาก
          -การติดเชื้อไวรัส(ส่วนใหญ่) เช่น Respiratory Syncytial Virus (RSV), ไข้หวัดใหญ่
          -การติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น เชื้อนิวโมคอคคัส (Streptococcus Pneumonia) (พบมากที่สุด) เชื้อฮิบ (Hib)          
          -การติดเชื้อไวรัสและการติดเชื้อไวรัสร่วมกัน          
          -การติดเชื้อรา / พยาธิ(ส่วนน้อย)
          -การแพ้ / การระคายเคืองต่อสารที่สูดดมเข้าไป
          โรคปอดอักเสบในเด็ก มีลักษณะอาการอย่างไร
          อาการแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับเชื้อโรคที่เป็นสาเหตุ / อายุของผู้ป่วย / ความรุนแรงของโรค
          อาการที่สำคัญ
          -ไข้ ไอ หายใจหอบเหนื่อย          
          -บางรายอาจมีอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจง ได้แก่ ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ร้องกวนและงอแง บางรายจะมีหนาวสั่นได้
          -อาการในเด็กทารก ส่วนมากจะไม่มีลักษณะเฉพาะ อาจมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ อาจมีอาการซึม อาเจียน และไม่ยอมดูดนมหรือน้ำ
ผู้ป่วยเด็กที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคปอดอักเสบ
          -เด็กที่อายุน้อย
          -เด็กที่มีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย เด็กคลอดก่อนกำหนด
          -เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
          -เด็กที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคทางสมอง
          -เด็กที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรืออยู่ในชุมชนแออัด สุขาภิบาลไม่ดี
          -เด็กที่ได้รับควันบุหรี่จากบุคคลรอบข้าง
          -เด็กที่อยู่ในสถานรับเลี้ยงเด็กที่มีเด็กมาก ๆ 
          การวินิจฉัยโรคปอดอักเสบในเด็ก
          -การซักถามประวัติอาการ
          -การตรวจร่างกายและตรวจระบบทางเดินหายใจ
          -การตรวจทางห้องปฏิบัติการ          
          -การตรวจเสมหะ การเพาะเชื้อ
          -การตรวจน้ำเหลือง
          -การตรวจแอนติเจน เช่น การตรวจ Rapid test และ RT-PCR for RSV และ INFLUENZA          
          -การตรวจภาพรังสีทรวงอก (เอ็กซเรย์ปอด)
          -ส่องกล้องผ่านทางหลอดลม (เฉพาะผู้ป่วยบางราย)
          การรักษาโรคปอดอักเสบในเด็ก
          อาการไม่รุนแรง
          -ยาปฏิชีวนะรับประทาน (ในกรณีที่สงสัยว่าปอดอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย) และนัดผู้ป่วยมาดูเป็นระยะ ๆ ได้
          อาการหนักต้องรับไว้ในโรงพยาบาล
          -ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน
          -ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการหอบมาก ต้องการออกซิเจน
          -ผู้ป่วยเด็กที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน
          -ผู้ป่วยเด็กที่กินยาแล้วไม่ได้ผล
          -ผู้ป่วยเด็กที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
          -พ่อแม่ไม่แน่ใจว่าจะดูแลเด็กได้ดีพอหรือไม่
          การให้น้ำและอาหาร ช่วยลดความเหนียวของเสมหะ ขับเสมหะได้ง่ายขึ้น ลดการคั่งค้างของเสมหะที่อุดกั้นทางเดินหายใจในเด็ก ทดแทนการสูญเสียน้ำในร่างกายจากภาวะไข้สูง หายใจหอบเร็ว
การให้ออกซิเจน ให้ในผู้ป่วยเด็กที่มีอาการหอบมาก เขียว ซึม กระวนกระวาย ไม่ยอมกินนมและน้ำ หายใจเร็วมากกว่า 70 ครั้งต่อนาที
ยาปฏิชีวนะ การเลือกใช้ขึ้นอยู่กับ อายุของผู้ป่วยเด็ก ประวัติการสัมผัสติดเชื้อ โอกาสที่เชื้อจะดื้อยา รวมถึงข้อมูลจากการซักถามประวัติ อาการอื่น ๆ ประกอบ
          การรักษาอื่น ๆ ได้แก่ ยาลดไข้ การเคาะปอด เพื่อให้เสมหะออกได้ การให้ยาขยายหลอดลม
          ทำอย่างไรจึงจะปกป้องลูกน้อยจากโรคปอดอักเสบได้
          -การเลี้ยงดูเด็กให้มีสุขภาพแข็งแรง
          -สร้างสุขอนามัยที่ดี
          -กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ใสหน้ากากอนามัย
          -ควรเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปในที่ชุมชนและสถานที่แออัดเป็นเวลานาน ๆ 
          -หากบุตรหลานของท่านมีอาการไข้ ไอ หอบ ควรรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว
          -พิจารณาเสริมภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนสำหรับป้องกันโรค
          -วัคซีนป้องกันเชื้อฮิบ (Hib vaccine)
          -วัคซีนป้องกันโรคไอพีดี (Pneumococcal vaccine)
          -วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza vaccine)
          ด้วยความปรารถนาดี จาก รพ.วิภาวดี

โรคปอดอักเสบในเด็ก PNEUMONIA โรคปอดอักเสบในเด็ก(PNEUMONIA)

ข่าวผู้ป่วยระยะสุดท้าย+โรคปอดอักเสบวันนี้

ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ขอเชิญทุกท่านร่วมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง วัดพระบาทน้ำพุ

ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ขอเชิญทุกท่านร่วมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง วัดพระบาทน้ำพุ ในวันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 07.30 09.30 น. เพื่อนำไปช่วยเหลือเด็กกำพร้าติดเชื้อเอดส์ และผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่อยู่ในความดูแลของพระราชวิสุทธิประชานาถ (อลงกต ติกฺขปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ เพื่อเป็นศิริมงคล และสั่งสมบุญกุศลให้ชีวิตทุกท่าน พบเจอแต่สิ่งดีๆ การงานเจริญก้าวหน้า ทำมาค้าขายธุรกิจประสบความสำเร็จ ร่ำรวย มีแต่ความโชคดี ราบรื่น และมีความสุข สมหวังในสิ่งที่ท่านปรารถนาทุกประการ

นิตยสาร Howe และ Howe Club ร่วมด้วยสมาชิก... นิตยสาร Howe และ Howe Club จัดคอนเสิร์ตการกุศล เพื่อผู้ป่วยมะเร็งและผู้พิการทางสายตา — นิตยสาร Howe และ Howe Club ร่วมด้วยสมาชิก IMFAM และ IMNEG จัดคอนเสิ...

Policy Watch Thai PBS เปิดพื้นที่แลกเปลี่... Policy Watch Thai PBS ชวนถอดรหัส 1 ปี นโยบายสถานชีวาภิบาล จะตายทั้งที ขอ "ตายดี" ได้ไหม ? — Policy Watch Thai PBS เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองผ่าน Policy F...

บมจ.เอกชัยการแพทย์ (EKH) ได้ฤกษ์ดีเปิดตัว... EKH เปิดตัว "KOON Palliative Care Specialised Hospital"ระดับพีเมี่ยม รักษาแบบ Palliative Care แห่งแรกในไทย — บมจ.เอกชัยการแพทย์ (EKH) ได้ฤกษ์ดีเปิดตัว "โร...

นายแพทย์สอาด ตรีพงษ์กรุณา หัวหน้ากลุ่มงาน... แพทย์ เผย! โรคตับ ภัยเงียบแต่ร้ายถึงชีวิต แนะการปลูกถ่ายตับ ทางรอดผู้ป่วยระยะสุดท้าย — นายแพทย์สอาด ตรีพงษ์กรุณา หัวหน้ากลุ่มงานศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลราชวิถ...

นพ.เลิศฤทธิ์ วรรณะเอี่ยมพิกุล (ขวา) ผู้ช่... ภาพข่าว: รพ.หัวเฉียว จัดบรรยายวิชาการเรื่อง “Update in Palliative care” — นพ.เลิศฤทธิ์ วรรณะเอี่ยมพิกุล (ขวา) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ และแพทย์หัวหน...

ESMO เผยแพร่เอกสารแสดงจุดยืนว่าด้วยการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองและตามอาการ

สมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป (ESMO) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพชั้นนำในสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ได้เผยแพร่เอกสารแสดงจุดยืนว่าด้วยการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองและตามอาการ (Supportive and Palliative Care) [https:...