แพทย์ เผย! โรคตับ ภัยเงียบแต่ร้ายถึงชีวิต แนะการปลูกถ่ายตับ ทางรอดผู้ป่วยระยะสุดท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          นายแพทย์สอาด ตรีพงษ์กรุณา 
          หัวหน้ากลุ่มงานศัลยศาสตร์ 
          โรงพยาบาลราชวิถี

          "ตับ" เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ขจัดสารพิษออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันบางอย่างขึ้นมาต่อสู้โรคติดเชื้อ และกำจัดเชื้อโรคต่างๆออกจากเลือด นอกจากนี้ตับยังทำหน้าที่สร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบในการทำให้เลือดแข็งตัว และสร้างน้ำดี เป็นต้น นั่นเป็นเพียงหน้าที่ส่วนหนึ่งของตับเท่านั้น ซึ่งตับมีความสำคัญมากต่อร่างกาย ดังนั้นโรคเกี่ยวกับตับทำให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของคนเรา อย่างเช่นผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง เคยมีผู้ประเมินไว้ว่าโรคตับแข็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรโลก 25,000 คน ทุกปี จัดเป็นสาเหตุการตายที่เกิดจากโรคเป็นอันดับที่ 8 อีกด้วย
          ดังนั้นการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ จึงเป็นทางรอดเดียวของผู้ป่วยโรคตับแข็ง มะเร็งตับ และผู้ป่วยตับวายเฉียบพลัน ซึ่งหากไม่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายให้ทันถ่วงทีนั้น จะมีผลทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดโรคตับแข็ง เกิดจากไวรัสตับอักเสบเรื้อรัง ที่มีทั้งชนิด บี และซี ส่วนสาเหตุที่พบมากรองลงมาในประเทศไทย คือ การดื่มสุรา สำหรับสาเหตุของภาวะตับวายเฉียบพลันมักเกิดจากตับอักเสบเฉียบพลันที่รุนแรง นอกจากนั้นอาจเกิดจากการรับประทานยาสมุนไพรบางประเภท หรือการรับประทานยาที่มีพิษกับตับในปริมาณที่มากเกินไป เช่น ยาแก้ปวด (พาราเซตามอล)
ส่วนสำคัญที่สุดในการปลูกถ่ายตับนั้น คือการได้รับบริจาคอวัยวะจากผู้ที่เสียชีวิต ซึ่งหน่วยงานที่ดูแลเรื่องการรับบริจาคอวัยวะ ณ ขณะนี้คือศูนย์รับบริจาคอวัยวะสภากาชาดไทยซึ่งทำหน้าที่ เป็นตัวกลางในการรับบริจาคอวัยวะ โดย เป็นผู้ประสานไปยังศูนย์การปลูกถ่ายตับต่างๆ ทั่วประเทศ และ จัดลำดับคิวในการรับอวัยวะของแต่ละศูนย์ ยกเว้นกรณีฉุกเฉินที่มีผู้ป่วยตับวายเฉียบพลันซึ่งเข้าเกณฑ์ที่สภากาชาดกำหนด จะได้จัดลำดับพิเศษเป็นคิวแรก เนื่องจาก ภาวะดังกล่าวเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่จะทำให้คนไข้เสียชีวิตหากไม่ได้รับการปลูกถ่ายตับทันเวลา 
          เมื่อมีผู้บริจาคตับเข้ามาที่ศูนย์รับบริจาคอวัยวะ ทางศูนย์รับบริจาคอวัยวะจะตรวจสอบข้อมูลของผู้บริจาคและแจ้งไปยังศูนย์ปลูกถ่ายตับลำดับแรกที่มีผู้ป่วยที่เข้ากันได้กับผู้บริจาคตับ จากนั้นทางศูนย์ปลูกถ่ายตับที่ได้รับตับจะแบ่งทีมศัลยแพทย์ออกเป็น 2 ทีม และดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
          ทีมศัลยแพทย์ทีมแรกจะทำหน้าที่ผ่าตัดนำตับออกจากตัวของผู้บริจาค โดยจะตรวจดูความสมบูรณ์ของอวัยวะว่าสามารถนำมาปลูกถ่ายได้หรือไม่ ถ้าหากอวัยวะมีความสมบูรณ์สามารถนำมาปลูกถ่ายได้ก็จะต้องนำอวัยวะแช่ในน้ำหล่อเลี้ยง แล้ว แช่เย็นไว้ที่อุณหภูมิ ประมาณ 4 องศา เพื่อนำมาปลูกถ่ายให้กับผู้รอรับอวัยวะ ระยะเวลาระหว่างการนำอวัยวะออกจากร่างผู้บริจาค และนำอวัยวะมาปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยไม่ควรจะมากกว่า 16-17 ชั่วโมง เนื่องจากตับที่นำออกจากร่างกายของผู้บริจาคไม่สามารถมีชีวิตอยู่นานกว่า 24 ชั่วโมง 
          ขณะที่ทีมศัลยแพทย์ไปรับอวัยวะจากผู้บริจาค ทาง รพ. ก็จะทำการเรียกตัวผู้ป่วยที่รอรับการปลูกถ่ายอวัยวะ มาเตรียมตัวในการผ่าตัด เจาะเลือด เช็คเลือด เตรียมเลือดสำรอง สำหรับใช้ในการผ่าตัด และทำสิ่งที่จำเป็นสำหรับเตรียมการผ่าตัดเปลี่ยนตับ แล้วศัลยแพทย์อีกทีมจะเริ่มทำการผ่าตัดในผู้ที่จะรับอวัยวะโดยจะจัดเวลาให้พอดีกับเวลาที่ตับที่รับบริจาคจะเดินทางมาถึง ทั้งนี้เพื่อให้เวลาที่นำตับออกจากผู้บริจาคจนปลูกถ่ายเสร็จสิ้นทันในเวลา 16-17 ชั่วโมง
          เมื่อเสร็จสิ้นการผ่าตัดปลูกถ่ายตับผู้ป่วยจะต้องพักฟื้นอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และสังเกตการทำงานของตับที่ได้รับการปลูกถ่ายใหม่ ว่าสามารถทำงานได้ปกติหรือไม่ โดยต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลประมาณ 2-4 สัปดาห์ แพทย์จึงจะอนุญาตให้กลับบ้านได้ หลังจากกลับบ้านไปแล้วนั้นผู้ป่วยจะต้องดูแลสุขภาพตัวเองดังนี้ คือ...          
          ผู้ป่วยปลูกถ่ายตับต้องรับประทานยากดภูมิไปตลอดชีวิตโดยจะสามารถลดขนาดยาได้เมื่อเวลาผ่านไป เพื่อป้องกันร่างกายต่อต้านอวัยวะที่ได้รับการปลูกถ่าย ดังนั้นภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยจะต่ำกว่าคนทั่วไปจึงต้องระมัดระวังดูแลตัวเองให้ห่างจากการติดเชื้อ
          มาพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย ตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัดเพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อนต่างๆ 
          หลังจากปลูกถ่ายตับไปแล้ว ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ ทำงาน และออกกำลังกายได้... 
          โรงพยาบาลราชวิถีนับเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในสังกัดกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ที่สามารถผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะได้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 และยังเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกที่สามารถผ่าตัดปลูกถ่าย 2 อวัยวะพร้อมกัน คือ หัวใจและปอด สำเร็จเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในปี พ.ศ. 2532 และต่อมาเริ่มผ่าตัดปลูกถ่าย ตับ ไต รวมถึงเนื้อเยื่อกระจกตา จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะมากกว่า 400 ราย และปลูกถ่ายกระจกตามากกว่า 1,000 ราย และเป็น 1 ใน 4 ของโรงพยาบาลทั่วประเทศ ปัจจุบันเป็นโรงพยาบาลราชวิถีมีการผ่าตัดปลูกถ่ายตับให้กับผู้ป่วยไปแล้ว 36 ราย ตั้งแต่ปี 2539 โดยในแต่ละรายจะมีมีค่าใช้จ่ายในการปลูกถ่ายอยู่ที่ประมาณ 4-5 แสนบาท ยังไม่รวมค่ายากดภูมิ อีกเดือนละประมาณ 10,000 บาท ซึ่งคนไข้ส่วนใหญ่ที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลราชวิถี ไม่สามารถที่จะจ่ายค่ารักษาได้ จึงทำให้โรงพยาบาลต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยการสนับสนุนของมูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี แต่ด้วยงบประมาณที่มีอยู่จำกัดจึงไม่สามารถผ่าตัดปลูกถ่ายให้กับผู้ป่วยได้มากเท่าที่ควร
          จึงขอเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมสมทบทุนบริจาคซื้อเครื่องมือแพทย์กับโรงพยาบาลราชวิถี โดยสามารถร่วมบริจาคได้ที่ชื่อบัญชี "เงินบริจาคของโรงพยาบาลราชวิถี" หมายเลขบัญชี 051-276128-1 ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาโรงพยาบาลราชวิถี (ลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า) หรือ สอบถามโทร 02 – 3548108 -37 ต่อ 3032 หรือกรอกข้อมูลผ่าน http://www.rajavithi.go.th
แพทย์ เผย! โรคตับ ภัยเงียบแต่ร้ายถึงชีวิต แนะการปลูกถ่ายตับ ทางรอดผู้ป่วยระยะสุดท้าย
 
แพทย์ เผย! โรคตับ ภัยเงียบแต่ร้ายถึงชีวิต แนะการปลูกถ่ายตับ ทางรอดผู้ป่วยระยะสุดท้าย
 
 
 

ข่าวผู้ป่วยระยะสุดท้าย+สอาด ตรีพงษ์กรุณาวันนี้

ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ขอเชิญทุกท่านร่วมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง วัดพระบาทน้ำพุ

ศูนย์การค้า เดอะ พาลาเดียม เวิลด์ ช้อปปิ้ง ขอเชิญทุกท่านร่วมตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง วัดพระบาทน้ำพุ ในวันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 07.30 09.30 น. เพื่อนำไปช่วยเหลือเด็กกำพร้าติดเชื้อเอดส์ และผู้ป่วยระยะสุดท้าย ที่อยู่ในความดูแลของพระราชวิสุทธิประชานาถ (อลงกต ติกฺขปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดพระบาทน้ำพุ เพื่อเป็นศิริมงคล และสั่งสมบุญกุศลให้ชีวิตทุกท่าน พบเจอแต่สิ่งดีๆ การงานเจริญก้าวหน้า ทำมาค้าขายธุรกิจประสบความสำเร็จ ร่ำรวย มีแต่ความโชคดี ราบรื่น และมีความสุข สมหวังในสิ่งที่ท่านปรารถนาทุกประการ

นิตยสาร Howe และ Howe Club ร่วมด้วยสมาชิก... นิตยสาร Howe และ Howe Club จัดคอนเสิร์ตการกุศล เพื่อผู้ป่วยมะเร็งและผู้พิการทางสายตา — นิตยสาร Howe และ Howe Club ร่วมด้วยสมาชิก IMFAM และ IMNEG จัดคอนเสิ...

Policy Watch Thai PBS เปิดพื้นที่แลกเปลี่... Policy Watch Thai PBS ชวนถอดรหัส 1 ปี นโยบายสถานชีวาภิบาล จะตายทั้งที ขอ "ตายดี" ได้ไหม ? — Policy Watch Thai PBS เปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนมุมมองผ่าน Policy F...

บมจ.เอกชัยการแพทย์ (EKH) ได้ฤกษ์ดีเปิดตัว... EKH เปิดตัว "KOON Palliative Care Specialised Hospital"ระดับพีเมี่ยม รักษาแบบ Palliative Care แห่งแรกในไทย — บมจ.เอกชัยการแพทย์ (EKH) ได้ฤกษ์ดีเปิดตัว "โร...

นพ.เลิศฤทธิ์ วรรณะเอี่ยมพิกุล (ขวา) ผู้ช่... ภาพข่าว: รพ.หัวเฉียว จัดบรรยายวิชาการเรื่อง “Update in Palliative care” — นพ.เลิศฤทธิ์ วรรณะเอี่ยมพิกุล (ขวา) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ และแพทย์หัวหน...

ESMO เผยแพร่เอกสารแสดงจุดยืนว่าด้วยการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองและตามอาการ

สมาคมมะเร็งวิทยาแห่งยุโรป (ESMO) ซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพชั้นนำในสาขาอายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา ได้เผยแพร่เอกสารแสดงจุดยืนว่าด้วยการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองและตามอาการ (Supportive and Palliative Care) [https:...

นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดกา... ภาพข่าว: ดั๊บเบิ้ล เอ มอบเครื่องผลิตออกซิเจน ให้กับมูลนิธิพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอศรีมหาโพธิ — นายชาญวิทย์ จารุสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ดั๊บเบิ้ล เอ มอบ...