การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและสหภาพยุโรป ครั้งที่ ๒๑

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

          กระทรวงการต่างประเทศ นำโดย นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและ นายมีโรสลาฟไลชัก (Miroslav Laj?ák) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกิจการยุโรปสาธาณรัฐสโลวัก ในฐานะประธานสหภาพยุโรป เป็นประธานร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและสหภาพยุโรป (ASEAN – EU Ministerial Meeting - AEMM) ครั้งที่ ๒๑ ที่กรุงเทพฯ ภายใต้หัวข้อ "มุ่งสู่ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์"
          อาเซียนและสหภาพยุโรป (อียู) มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่การสถาปนาความสัมพันธ์ระหว่างกันในปี ๒๕๒๐ โดยการประชุมระดับอาเซียนและสหภาพยุโรปเป็นเวทีระหว่างภูมิภาคที่จัดขึ้นเป็นประจำทุก ๒ ปี โดยมีรัฐมนตรีต่างประเทศจากประเทศสมาชิกอาเซียนและอียู เลขาธิการอาเซียน และผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายต่างประทศและความมั่นคงของอียู และรองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป เข้าร่วม เพื่อหารือแนวทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์อาเซียน-อียู และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ ทั้งนี้ประเทศสมาชิกอาเซียนจะหมุนเวียนกันเป็นประเทศผู้ประสานความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับอียู ทุกๆ ๓ ปี โดยประเทศไทยได้รับตำแหน่งประเทศผู้ประสานงานฯตั้งแต่เดือนสิงหาคม ๒๕๕๘
          การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและสหภาพยุโรปครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างอาเซียน-อียูในทุกมิติ เพื่อปูทางไปสู่การยกระดับความสัมพันธ์ไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ ตลอดจนวางแนวทางความสัมพันธ์ระหว่างกันในอนาคต โดยรัฐมนตรีต่างประเทศ และผู้แทนระดับสูงด้านนโยบายต่างประเทศและความมั่นคงของอียู และรองประธานคณะกรรมาธิการยุโรป จะหารือกันในประเด็นระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศที่อยู่ในความสนใจร่วมกันไปด้วย
          อาเซียนและอียูเป็นหุ้นส่วนทางธรรมชาติ (natural partners) กล่าวคือ อาเซียนและอียูมีมูลค่าการค้าระหว่างกัน ๒๒๗ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ จำนวน ๑๙.๗ พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และในปี๒๕๕๗ มีนักท่องเที่ยวจากประเทศสมาชิกอียูเข้ามาในอาเซียนถึง ๙.๓ ล้านคน นอกจากนี้อียูเป็นคู่ค้าลำดับที่ ๓ ของอาเซียน เป็นผู้ลงทุนลำดับที่ ๑ และมีนักท่องเที่ยวเข้ามาในอาเซียนจำนวนมากที่สุดเป็นลำดับที่ ๒ ของอาเซียน ทั้งสองภูมิภาคมีความมุ่งมั่นร่วมกันที่จะดำเนินนโยบายที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางตลอดจนส่งเสริมธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชน และส่งเสริมการเคารพในความแตกต่าง ในฐานะที่เป็นองค์กรระดับภูมิภาคที่มีจุดแข็งอยู่ที่แตกต่างเช่นเดียวกัน
          ประเทศไทย ในฐานะประเทศที่มีความสัมพันธ์กับภูมิภาคยุโรปมาอย่างยาวนาน และเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับอียูในปัจจุบัน ให้ความสำคัญต่อการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและสหภาพยุโรปครั้งนี้เป็นอย่างมาก ตลอดจนให้ความสำคัญกับการสร้าง momentum ให้กับความร่วมมืออาเซียน-อียูเพื่อให้มุ่งไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์และเพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ ๔๐ ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-อียู ในปี ๒๕๖๐
          การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและสหภาพยุโรป ครั้งที่ ๒๑ มุ่งให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์สูงสุดจากการประชุมครั้งนี้ ซึ่งรวมถึงคนพิการ ด้วยเหตุนี้ จึงจะมีการแปลพิธีเปิดการประชุมฯ เป็นภาษามือทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ ยังได้มีการจัดทำเอกสารผลลัพธ์การประชุมในรูปแบบอักษรเบรลล์และรูปแบบอื่นๆที่เกี่ยวข้องด้วย
          โดย นายมิโรสลาฟไลชัก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกิจการยุโรปสาธาณรัฐสโลวักกล่าวถึงการประชุมครั้งนี้ว่า "ในขณะนี้อียูอยู่ในช่วงเวลาสำคัญ ทั้งเรื่องการถอนตัวออกจากอียูของประเทศอังกฤษ หรือเบร็กซิท รวมไปถึงความพยายามสร้างข้อตกลงความร่วมมือทางกลาโหมภายในอียู โดยหวังว่า ทั้งอาเซียนและอียู จะมีการรวมกันเป็นปึกแผ่นภายในแต่ละภูมิภาคมากขึ้นเพื่อให้มีข้อตกลงระหว่างภูมิภาคอาเซียนกับอียูในอนาคต
          นอกจากนี้ ทั้งสองภูมิภาคควรมีความร่วมมือกันมากขึ้นทั้งในด้านภาคธุรกิจ การท่องเที่ยว และด้านความมั่นคง เพื่อเชื่อมต่อพลเรือนระหว่างกันมากขึ้น นอกจากนี้ทั้งสองภูมิภาคควรส่งเสริมธรรมาภิบาล สิทธิมนุษยชน และส่งเสริมการเคารพในความแตกต่าง ในฐานะที่เป็นองค์กรระดับภูมิภาคที่มีจุดแข็งอยู่ที่ความแตกต่างเช่นเดียวกัน" นายมิโรสลาฟไลชัก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและกิจการยุโรปสาธาณรัฐสโลวัก กล่าวทิ้งท้าย
การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและสหภาพยุโรป ครั้งที่ ๒๑
 
การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและสหภาพยุโรป ครั้งที่ ๒๑
การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและสหภาพยุโรป ครั้งที่ ๒๑
การประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนและสหภาพยุโรป ครั้งที่ ๒๑

ข่าวกระทรวงการต่างประเทศแ+กระทรวงการต่างประเทศวันนี้

สสว.จับมือมูลนิธิเอเชียและพันธมิตร เปิดตัว "คู่มือปฏิบัติ ESG สำหรับ SMEs ไทย สู่โอกาสในตลาดโลกสีเขียว"

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) จับมือ มูลนิธิเอเชีย (The Asia Foundation: TAF) และ หอการค้าร่วมต่างประเทศในประเทศไทย (Joint Foreign Chambers of Commerce in Thailand: JFCCT) ร่วมกันจัดงานภายใต้ชื่อ "สัมมนาพัฒนาธุรกิจ SME สู่ความยั่งยืนในตลาดโลกด้วย ESG และการเปิดตัว ESG Toolkit สำหรับ SMEs" โดยงานสัมมนานี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ SMEs Go Global Go Green ที่ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงการต่างประเทศและการค้าของออสเตรเลีย (Department of Foreign Affairs and Trade: DFAT)

เดินทางมาถึงครึ่งทางแล้ว สำหรับการประกวดเ... ภาษาไทย-ภาษาถิ่น กับการเรียนรู้อ่านออกเขียนได้ ของเด็กนักเรียนกลุ่มชาติพันธุ์ — เดินทางมาถึงครึ่งทางแล้ว สำหรับการประกวดเรียงความหัวข้อ "ครูใหญ่ในใจเรา" ท...

กระทรวงโครงสร้างพื้นฐานแห่งหมู่เกาะคุกเลือกวูลเพิร์ตให้มารวบรวมข้อมูลภาพถ่ายภูมิประเทศบนบกและใต้ทะเลด้วยเทคโนโลยีไลดาร์

ข้อมูลการทำแผนที่และผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ จะช่วยให้ ICI ได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน ยกระดับความสามารถในการรับมือกับภัยพิบัติและปัญหาสภาพอากาศ รวมถึงปรับปรุงแผนที่เดินเรือให้ทันสมัย...

บริษัท Yiling Pharmaceutical สนับสนุนการต่อสู้โควิด-19 ด้วยยาสมุนไพร "Lianhua Qingwen"

บริษัท Shijiazhuang Yiling Pharmaceutical Co, Ltd. ประกาศเมื่อไม่นานมานี้ว่า กระทรวงการต่างประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ซื้อผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพร Lianhua Qingwen (เหลียนฮัว ชิงเวิน) จำนวน 700,000 กล่องและแจกจ่าย...

กระทรวงดิจิทัลฯ-กระทรวงการต่างประเทศและกา... กระทรวงดิจิทัลฯ-ออสเตรเลีย ลงนาม MOU ความร่วมมือไซเบอร์ซิเคียวริตี้และดิจิทัล — กระทรวงดิจิทัลฯ-กระทรวงการต่างประเทศและการค้าออสเตรเลีย จับมือลงนาม MOU คว...

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือโครงการทุนนักเรียนแลกเปลี่ยนไทยและสหรัฐอเมริกา ระหว่าง PAX EduDee และโรงเรียนชั้นนำในประเทศไทย

นายแบรดลีย์ สมิธ (Mr. Bradley Smith) ประธานและผู้อำนวยการ Program of Academic Exchange (PAX) ได้เดินทางมาที่ประเทศไทย เพื่อลงนาม ในข้อตกลง (Memorandum of...