สทนช. ขับเคลื่อนบทบาทไทยบนเวทีนานาชาติ ร่วมผลักดันการอนุรักษ์ธารน้ำแข็งและความมั่นคงด้านน้ำ

ข่าวประชาสัมพันธ์ »

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะผู้แทนรัฐบาลไทย นำคณะผู้แทนไทยจากกระทรวงการต่างประเทศและ สทนช. เข้าร่วมการประชุมนานาชาติระดับสูงว่าด้วยการอนุรักษ์ธารน้ำแข็ง (High-Level International Conference on Glacier Preservation) ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงดูชานเบ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน ระหว่างวันที่ 29-31 พฤษภาคม 2568

สทนช. ขับเคลื่อนบทบาทไทยบนเวทีนานาชาติ ร่วมผลักดันการอนุรักษ์ธารน้ำแข็งและความมั่นคงด้านน้ำ

การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นตามมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ที่ได้ประกาศให้ปี ค.ศ. 2025 เป็นปีสากลแห่งการอนุรักษ์ธารน้ำแข็ง และกำหนดให้วันที่ 21 มีนาคมของทุกปีเป็น "วันธารน้ำแข็งโลก" โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของธารน้ำแข็งต่อระบบนิเวศและสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศในการอนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน โดยมี ผู้แทนจากประเทศสมาชิกสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศ สถาบันการเงิน ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม เข้าร่วม จำนวนมากกว่า 80 ประเทศ สทนช. ขับเคลื่อนบทบาทไทยบนเวทีนานาชาติ ร่วมผลักดันการอนุรักษ์ธารน้ำแข็งและความมั่นคงด้านน้ำ

ในโอกาสนี้ เลขาธิการ สทนช. ได้กล่าวถ้อยแถลงในที่ประชุมใหญ่ (Plenary Session) โดยเน้นย้ำว่า แม้ประเทศไทยไม่มีธารน้ำแข็ง แต่ได้รับผลกระทบจากการละลายของธารน้ำแข็งผ่านภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น น้ำทะเลหนุนสูง และความไม่แน่นอนของระบบวัฏจักรน้ำ พร้อมย้ำถึงความมุ่งมั่นของไทยในการบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2608 ควบคู่กับการขับเคลื่อนแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ และแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG 6) ไทยยังให้ความสำคัญกับความร่วมมือพหุภาคี การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ด้านธารน้ำแข็ง ผ่านกิจกรรมรณรงค์ระดับชาติเนื่องใน "วันน้ำโลก" เมื่อวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา ภายใต้หัวข้อ "การอนุรักษ์ธารน้ำแข็ง" รวมถึงการสนับสนุน "ทศวรรษแห่งการขับเคลื่อนวิทยาศาสตร์ธารน้ำแข็ง" ระหว่างปี 2568-2577 พร้อมยืนยันความพร้อมของไทยในการร่วมมือกับประชาคมโลกเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ และธารน้ำแข็งของโลกอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ในช่วงการประชุมนานาชาติระดับสูงฯ คณะผู้แทนไทยยังได้เข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนาน "ความมั่นคงด้านน้ำและความสามารถในการตั้งรับปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ : รับมือความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมในประเทศสมาชิกการประชุมว่าด้วยปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในเอเชีย (Conference on Interaction and Confidence Building Measures in Asia: CICA)" โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางและประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการน้ำท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยผู้แทน สทนช. ได้ร่วมกล่าวสุนทรพจน์นำเสนอแนวทางการบริหารจัดการน้ำของไทยที่มุ่งเน้นความยืดหยุ่นและยั่งยืนผ่านการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ใน 22 ลุ่มน้ำหลัก และการส่งเสริมแนวทางการจัดการโดยอิงธรรมชาติ (Nature-based Solutions) ควบคู่กับการเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาค เพื่อยกระดับการปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างครอบคลุม

ในช่วงการประชุมฯ คณะผู้แทนไทยยังได้เข้าร่วมกิจกรรมคู่ขนาน ได้แก่

  • เวทีหารือระดับภูมิภาคเรื่องการเสริมสร้างความร่วมมือข้ามพรมแดนในลุ่มน้ำที่พึ่งพาธารน้ำแข็งในเอเชียกลาง (Forum 6: Enhancing Transboundary Cooperation for Water Sustainability and Climate Resilience in Glacier Dependent Basins of Central Asia) เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2568 ซึ่งเน้นบทบาทของธารน้ำแข็งต่อความมั่นคงด้านน้ำ อาหาร พลังงาน และระบบนิเวศในเอเชียกลาง
  • การประชุมรายสาขาเรื่องอันตรายจากธารน้ำแข็งและการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ (Thematic Session 3: Glacial-related Hazards and Disaster Risk Reduction) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2568 ซึ่งหารือความเสี่ยงจากภัยธรรมชาติ เช่น การละลายของทะเลสาบธารน้ำแข็ง และแนวทางพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้าโดยเฉพาะในพื้นที่เปราะบาง
  • การประชุมรายสาขาเรื่องการเงินด้านสภาพภูมิอากาศและการลงทุนเพื่อการอนุรักษ์ธารน้ำแข็ง (Thematic Session 11: Climate Finance and Investment for Glacier Preservation and Adaptation) เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2568 ซึ่งมุ่งส่งเสริมการลงทุนระยะยาวและกลไกทางการเงินเพื่อรองรับผลกระทบจากการสูญเสียธารน้ำแข็งที่เริ่มรุนแรงจนบางพื้นที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทัน ทั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนแนวทางความร่วมมือข้ามพรมแดน การจัดตั้งระบบเตือนภัย และการระดมทุนด้านสภาพภูมิอากาศในบริบทของธารน้ำแข็งอย่างรอบด้าน

นอกจากนี้ คณะผู้แทนไทยยังได้มีโอกาสพบปะหารือกับประธานคณะกรรมาธิการด้านกีฬาและเยาวชน (Chair of Committee on Sport and Youth) ซึ่งได้แสดงความสนใจที่จะพัฒนาความร่วมมือกับประเทศไทยในอนาคต โดยเฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนความเชี่ยวชาญด้านกีฬาและบทบาทของเยาวชน การส่งเสริมจิตสำนึก การศึกษา ตลอดจนกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมในกลุ่มเยาวชนอย่างยั่งยืน

การประชุมนานาชาติระดับสูงเรื่องการอนุรักษ์ธารน้ำแข็งยังได้เสนอ "ปฏิญญาดูชานเบว่าด้วยธารน้ำแข็ง" ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์สำคัญที่สะท้อนเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาคมโลกในการผลักดันมาตรการอนุรักษ์ธารน้ำแข็งในทุกระดับ เพื่อความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อมของโลกในระยะยาว

"การเข้าร่วมประชุมนานาชาติครั้งนี้ นับเป็นโอกาสสำคัญที่ไทยได้แสดงบทบาทเชิงรุกในเวทีโลกด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีร่วมกับนานาประเทศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานโยบายและเสริมสร้างศักยภาพของไทยในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน ตลอดจนสร้างเครือข่ายความร่วมมือในระดับภูมิภาคและนานาชาติที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น" เลขาธิการ สทนช. กล่าว


ข่าวสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ+กระทรวงการต่างประเทศแวันนี้

สทนช. ขับเคลื่อนความร่วมมือ ขยายวงหารือร่วมเมียนมาแก้ปัญหาน้ำกก จับมือ MRC เดินหน้าติดตามคุณภาพน้ำข้ามพรมแดน

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ร่วมกับ สำนักงานเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRCS) เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับภูมิภาค "การพัฒนาข้อเสนอการติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำร่วมกัน (Joint Water Quality Monitoring)" พร้อมการลงพื้นที่บริเวณแม่น้ำกก จังหวัดเชียงราย โดยมี ผู้แทนจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) และประเทศสมาชิก MRC ได้แก่ ประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2568 ในการประชุมครั้งนี้

ด้วยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ไ... ประกาศฉบับที่ 13/2568 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูง ช่วง 23-28 ก.ค.นี้ — ด้วยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ติดตามสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงบริเวณแม...

กรมอุตุนิยมวิทยา และ สถาบันสารสนเทศทรัพยา... เกาะติดข้อเท็จจริง การบริหารจัดการน้ำรับมือฤดูฝน ปี 2568 — กรมอุตุนิยมวิทยา และ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน. ได้มีการคาดการณ์ว่าปี 2...

สทนช. ติดตามมาตรการรับมือฝนลุ่มน้ำโขงอีสาน ประสาน MRCS ติดตามระดับน้ำแม่น้ำโขงล้นตลิ่ง ก.ค.-ส.ค.นี้

เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่สกลนคร-นครพนม ติดตามมาตรการรับมือฤดูฝน ปี 68 ในพื้นที่ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมประสาน MRCS ติดตามระดับน้ำแม่น้ำโขงล้นตลิ่งช่วง ก.ค.-ส.ค.นี้ กำชับหน่วยงานเร่งปรับ...

สทนช. ติดตามการขุดลอกแม่น้ำกก แม่น้ำสาย แม่น้ำรวก พร้อมรับมืออุทกภัยปีนี้

สทนช. บูรณาการหน่วยงานประชุมศูนย์บริหารจัดการน้ำส่วนหน้าชั่วคราวฯ ลุ่มน้ำโขงเหนือ เร่งติดตามความก้าวหน้าการขุดลอกแม่น้ำกก แม่น้ำสาย แม่น้ำรวก การก่อสร้างพนังกั้นน้ำ และการแก้ไขปัญหาคุณภาพน้ำ รับมืออุทกภัยปีนี้ พร้อมชู "จ....

เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ จ.พะเยา ติดตามค... สทนช. ติดตามการบริหารจัดการน้ำกว๊านพะเยา พร้อมรับมืออุทกภัยตลอดฤดูฝนปีนี้ — เลขาธิการ สทนช. ลงพื้นที่ จ.พะเยา ติดตามความก้าวหน้ามาตรการรับมือฤดูฝน ปี 68 แ...

เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2568 คณะผู้แทนไทย... ประเทศไทยแสดงบทบาทผู้นำด้านทรัพยากรน้ำ ในเวทีระดับสูงของยูเนสโก ณ กรุงปารีส — เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2568 คณะผู้แทนไทย นำโดย ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิก...